การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เวลา ความสามารถในการคิด วิเคราะห์และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญาและการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ

Main Article Content

วรรณภา นันทะแสง
พิศมัย ศรีอำไพ
นิภาพร ชุติมันต์

Abstract

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนรู้โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญาในรายวิชาคณิตศาสตร์ ช่วยเสริมสร้างความสามารถทางการคิดของผู้เรียนและเห็นว่าเป็นวิธีการจัดการเรียนที่เหมาะกับ การพัฒนาการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ให้สูงขึ้น ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญาและแผนการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง เวลา ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุ ปัญญาและแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เวลา ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนระหว่าง ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญาและ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เวลา ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระหว่างการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญาและแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2553 โรงเรียนหนองบัววิทยายน จำนวน 60 คน จาก 2 ห้องเรียน ซึ่งได้มาโดยการสุ่ม แบบกลุ่ม และจับสลากเพื่อกำหนดเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ ใช้ในการวิจัย มี 4 ชนิด ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ แบบละ 12 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนคณิตศาสตร์ จำนวน 30 ข้อ ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (B) มีค่าตั้งแต่ .20 ถึง .70 ค่าความ เชื่อมั่นทั้งฉบับ (rcc) เท่ากับ 0.91 แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ จำนวน 10 ข้อ มีค่าความยาก (P) ตั้งแต่ .31 ถึง .42 และค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ .58 ถึง .69 ค่าความเชื่อ มั่นทั้งฉบับ (KR-20) เท่ากับ 0.96 แบบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 10 ข้อ มีค่าอำนาจ จำแนกรายข้อ (rxy) ตั้งแต่ .43 ถึง .69 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (KR-20) เท่ากับ 0.57 สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐาน โดยใช้สถิติ t – test (Dependent Samples) และ Hotelling -T2

ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญาและ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติเรื่องเวลา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.61/84.89 และ 80.90/79.78 ตามลำดับ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้

2. ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญาและแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ มีค่าเท่ากับ 0.6715 และ 0.5845 ซึ่งหมายความว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียน คิดเป็นร้อยละ 67.15 และ 58.45 ตามลำดับ

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเวลา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียน โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญาและที่เรียนโดยการจัดกิจกรรม แบบปกติหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดย การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญาและที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมแบบ ปกติหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5. เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญาและที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมแบบปกติ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

6. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเวลา ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติ ต่อวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียน รู้ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญาสูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

โดยสรุป การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาเรื่องเวลาช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนการคิดวิเคราะห์และเจตคติตอ่ วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนสูงกว่าการจัดการเรียนรู้ แบบปกติ ฉะนั้นครูจึงควรศึกษาและนำการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ทฤษฏีพหุปัญญา ไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยเฉพาะเรื่องเวลาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 2 เพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น

คำสำคัญ : ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การคิดวิเคราะห์, เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์, การจัด กิจกรรมการเรียนรู้โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา, การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ

Abstract

Applied the Theory of Multiple Intelligences to enhance a learning-teaching Mathematics efficiently and it is an appropriate method of teaching to develop an Analytical Thinking and Attitude toward Mathematics. This research aimed to develop the lesson plans of Applied the Theory of Multiple Intelligences and the Conventional Instruction Entitled “Time” with a required efficiency of 75/75, to find out the effectiveness index of the lesson plans of Applied the Theory of Multiple Intelligences and the Conventional Instruction, to compare learning achievement entitled “Time”, analytical thinking and attitude toward mathematics of Prathomsuksa 2 students between before and after learning used Applied the Theory of Multiple Intelligences and the Conventional Instruction, to compare learning achievement entitled “Time”, analytical thinking and attitude toward mathematics of students between learned by using Applied the Theory of Multiple Intelligences and the Conventional Instruction. The sample used in this study consisted of 60 students of Prathomsuksa 2 attending Nong Bua Wittayayon School in the second semester of the academic year 2010, obtained by using the Cluster Sampling technique. The students were divided into an experimental group and a control group, each of 30 students. The research instruments were: mathematics lesson plans for students learned using Applied the Theory of Multiple Intelligences and the Conventional Instruction, each of 12 plans; a 30-item achievement test with discriminating powers (B) ranging .20 to .70, and a reliability (rcc) of 0.91; a 10-item analytical thinking test with difficulties (P) ranging .31 to .42, discriminating powers ( r ) ranging .58 to .69, and a reliability (KR-20) of .96; and a 10-item attitude toward mathemetics test with discriminating powers (rxy) ranging .43 to .69, and a reliability ( KR-20) of .57. The statistics using for analyzing the collected data were percentage, mean and standard deviation; t–test (Dependent Samples) and Hotelling T2 were employed for testing hypotheses.

The results of the study were as follows:

1. The developed the lesson plans of Applied the Theory of Multiple Intelligences and the Conventional Instruction Entitled “Time” had an effectiveness of 85.61/84.89 and 80.90/79.78, respectively. which passed the standard criteria.

2. An effectiveness index of the lesson plans of Applied the Theory of Multiple Intelligences and the Conventional Instruction was 0.6715 and 0.5845 showing that the students progressed their learning at 67.15 percent and 58.45 percent, respectively.

3. Learning Achievement Entitled “Time” of prathomsuksa 2 students who learned by using Applied the Theory of Multiple Intelligences and the Conventional Instruction after learning higher than before learning at the .05 level of significance.

4. Analytical thinking abilities of prathomsuksa 2 students who learned by using Applied the Theory of Multiple Intelligences and the Conventional Instruction after learning higher than before learning at the .05 level of significance.

5. Attitude toward matermatics of prathomsuksa 2 students who learned by using Applied the Theory of Multiple Intelligences and the Conventional Instruction after learning higher than before learning at the .05 level of significance.

6. Learning Achievement Entitled “Time”, analytical thinking and attitude toward mathematics of mathayomsuksa 2 students who learned by using Applied the Theory ofMultiple Intelligences showed higher than those learned by using the Conventional Instruction at the .05 level of significance.

In conclusion, To Organize learning activities by using the Applied the Theory of Multiple Intelligences on the topic of “TIME” had learning achievement, analytical thinking and attitude toward mathematics higher than learning by using the Conventional Instruction. Therefore, the mathematics teachers should be encouraged and supported the Applied the Theory of Multiple Intelligences to develop learning-teaching Mathematics on the topic of “TIME” of mathayomsuksa 2 students to increase

Keywords : learning achievement, Analytical Thinking, Attitude toward Mathematics, Applied the Theory of Multiple Intelligences, The Conventional Instruction

 

 

Article Details

Section
บทความวิจัย