การพัฒนาหมู่บ้านนวัตกรรมเพื่อการพึ่งตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนวังจาน ตำบลนาข่า อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

ฉลาด จันทรสมบัติ
ทานตะวัน สิงห์แก้ว
ประจักษ์ อาษาธง
รุ่งทิพย์ สิงพร

Abstract

บทคัดย่อ

การพัฒนาในรอบ 40 ปีที่ผ่าน คือ สูญเสียความสามารถในการจัดการ ชาวบ้านจัดการ ชีวิตตนเองไม่ได้ ปล่อยให้คนอื่นมาจัดการให้ ทำอย่างไรพวกเขาจะมีความเชื่อมั่นกลับคืนมา เอา ครอบครัว ชุมชน สุขภาวะชุมชนกลับคืนมา ความมุ่งหมายการวิจัย เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการ ดำเนินงานของกลุ่มเครือข่ายองค์กรชุมชนเพื่อการพึ่งตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 2) พัฒนายกระดับกระบวนการดำเนินงานของกลุ่มองค์กรชุมชนสู่หมู่บ้านนวัตกรรมเพื่อการพึ่ง ตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 3) ถอดบทเรียนการดำเนินงานหมู่บ้านนวัตกรรมเพื่อการ พึ่งตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มผู้ร่วมวิจัยเป็นผู้นำชุมชน จำนวน 32 คน ครูในเขต พื้นที่บริการหมู่บ้าน 3 คน เจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล 3 คน และเจ้าหน้าที่วิจัยภาค สนาม 1 คน ระเบียบวิธีวิจัยใช้การวิจัยและพัฒนา โดยประยุกต์ใช้การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วน ร่วม เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ คู่มือการดำเนินหมู่บ้านนวัตกรรมเพื่อการพึ่งตนเองตามแนวทาง เศรษฐกิจพอเพียง ตัวชี้วัดความสำเร็จในการดำเนินงาน และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย ปรากฏผลดังนี้

1. การศึกษาบริบทชุมชน บัญชีรายรับรายจ่าย แผนที่สุขภาวะชุมชน นำไปใช้ทบทวน วิสัยทัศน์ ยุทธ์ศาสตร์ และกิจกรรมการดำเนินงานแผนแม่บทชุมชนของบ้านวังจาน หมู่ 4 บ้าน วังใหม่ หมู่ 13 และบ้านวังเหนือ หมู่ 16 ให้ทันกับสภาพที่เปลี่ยนไป สามารถดำเนินงานตามขั้นตอนจนบังเกิดผลสำเร็จ เกิดบุคคลแห่งการเรียนรู้ และทีมแห่งการเรียนรู้ มีการพบปะกันอย่าง น้อยเดือนละ 1 ครั้ง เกิดกลไกในการทำงานขับเคลื่อนในระดับชุมชน

2. การพัฒนายกระดับองค์ความรู้ของทีมผู้ร่วมวิจัย ทั้งการศึกษาดูงานศูนย์การเรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งกำหนดไว้ 3 ครั้ง และเวทีพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครอบครัวต้นแบบ กับศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงแก้จน เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ทำให้ผู้ร่วมวิจัยหลังพัฒนา ตนเองแล้วมีความรู้ ความเข้าและทักษะในการปฏิบัติทั้งการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ การปลูกผักหวาน ป่า การเสียบกิ่งต้นไม้ ซึ่งสามารถจัดระดับตามความสามารถ 3 ระดับ คือ 1) กลุ่มที่พัฒนาเป็น ปราชญ์ชาวบ้าน มี 7 คน อยู่ในเกรด A 2) กลุ่มครูผู้นำเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 9 คน อยู่ใน เกรด B+ และกลุ่มผู้นำที่สนใจ จำนวน 16 คนอยู่ในเกรด B ซึ่งเป็นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ในระดับครัวเรือนและการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้

3. เกิดนวัตกรรมระดับครอบครัวต้นแบบที่อาสาสมัครเข้าร่วมกิจกรรมแก้ไขปัญหาหาความ ยากจน ให้สำเร็จมีจำนวน 32 ครอบครัวภายใน 3 ปี และมีต้นแบบศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอ เพียงและความร่วมมือแก้ไขปัญหาความยากจน พัฒนาสังคม และสุขภาวะชุมชน จำนวน 4 ศูนย์ 1) ศูนย์เกษตรแบบผสมผสานขนาด 17 ไร่ ของนายวิทยา วังหนองเสียว 2) ศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ ข้าวหอมมะลิ และขยายพันธ์พืช ขนาด 7 ไร่ ของนายสง่า วังสอง และศูนย์เกษตรผสมผสาน และเลี้ยงปลา ขนาด 6ไร่ ของนางยม หัตถี ซึ่งนำไปสู่เศรษฐกิจพอเพียง และความร่วมมือแก้ไข ปัญหาความยากจน พัฒนาสังคม และสุขภาวะชุมชน และ 4) มีศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบที่เป็น นวัตกรรมเพื่อพึ่งพาตนเองและการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ ขนาด 2 ไร่ไม่ยาก ไม่จน ของนายหนา สุดพันธ์ ที่สามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีชาวบ้านได้เป็นอย่างดี

4. ตัวชี้วัดความสำเร็จในการดำเนินงานหมู่บ้านวัตกรรมเพื่อการพึ่งตนเองตามแนวทาง เศรษฐกิจพอเพียง จากการประเมินผลการปฏิบัติตามแบบประเมินรายการที่ผู้วิจัยกับผู้ร่วมวิจัย ได้พัฒนาขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การปฏิบัติตามตัวชี้วัดหลัก และระดับที่ส่งผลให้เกิดความ สามารถที่ได้รับจากโครงการ ดังนี้

4.1 การปฏิบัติตามตัวชี้วัดหลัก 1) ด้านเศรษฐกิจพอเพียงโดยรวมสามารถปฏิบัติได้คิด เป็นร้อยละ98 และเมื่อพิจารณาตามตัวชี้วัดหลักสามารถปฏิบัติเป็นรายข้อเรียงตามร้อยละ (1) ครัวเรือนสามารถพึ่งตนเองได้คิดเป็นร้อยละ 97 (2) เงินทุนคิดเป็นร้อยละ 92 (3) ส่งเสริมอาชีพ ที่ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนคิดเป็นร้อยละ 89 (4) การตลาดคิดเป็นร้อยละ 86 (5) การส่งเสริมอาชีพให้เติบโตและยั่งยืนคิดเป็นร้อยละ 85 ตามลำดับ 2) ด้านการจัดการทรัพยากร โดยรวมสามารถปฏิบัติการได้คิดเป็นร้อยละ 94 และเมื่อพิจารณาตามตัวชีวัดหลักสามารถปฏิบัติ เป็นรายข้อเรียงตามร้อยละ (1) ผู้นำมีคุณภาพคิดเป็นร้อยละ 96 (2) การระดมทุนคิดเป็นร้อยละ 87 (3) ทรัพยากรทางธรรมชาติพัฒนาคุณภาพดินคิดเป็นร้อยละ 85. 3 ) ด้านสุขภาพอนามัยในชุมชนโดยรวมปฏิบัติคิดเป็นร้อยละ 89 และเมื่อพิจารณาตามตัวชี้วัดหลักเป็นรายข้อเรียงตามร้อยละ (1)มีโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสุขภาพของประชาชนคิดเป็นร้อยละ 87 .(2) มีอาหารที่ เพียงพอคิดเป็นร้อยละ 90 (3) ความสะอาดน่าอยู่ของชุมชนปลอดโรคร้ายแรงคิดเป็นร้อยละ 86 4) ด้านศาสนา วัฒนธรรมประเพณีโดยรวมมีการปฏิบัติคิดเป็นร้อยละ 97 และเมื่อพิจาณาตัวชี้ วัดหลักเป็นรายข้อเรียงตามร้อยละ (1) ศาสนาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ คิดเป็นร้อยละ 95 (2) วิถี ชีวิตที่อบอุ่นคิดเป็นร้อยละ 92 (3) วัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม คิดเป็นร้อยละ 87 5) ด้านความรู้ การเรียนรู้ชุมชนโดยรวมสามารถปฏิบัติคิดเป็นร้อยละ 96 เมื่อพิจารณาตามตัวชีวัดหลักเป็นรายข้อ เรียงตามร้อยละ (1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นคิดเป็นร้อยละ89 (2) การเรียนรู้ของชุมชนคิดเป็น ร้อยละ 87.6) การบริหารชุมชนโดยรวมสามารถปฏิบัติได้คิดเป็นร้อยละ 92 เมื่อพิจารณาตาม ตัวชีวัดหลักในข้อการบริหารชุมชน/แผนชุมชนคิดเป็นร้อยละ 90.7) ด้านกลุ่มองค์กรชุมชนโดย รวมสามารถปฏิบัติคิดเป็นร้อยละ 94 เมื่อพิจารณาตามตัวชีวัดหลักในข้อกลุ่ม องค์กรชุมชน/กลุ่ม อาชีพสามารถปฏิบัติได้คิดเป็นร้อยละ 91 8) ด้านความรู้ความสามารถของผู้นำโดยรวมสามารถ ปฏิบัติได้คิดเป็นร้อยละ 93 เมื่อพิจารณาตามตัวชีวัดหลักในข้อความสามารถปฏิบัติคิดเป็นร้อยละ 96.9) ด้านความรู้เด่นในชุมชนโดยรวมสามารถปฏิบัติได้คิดเป็นร้อยละ 87 เมื่อพิจารณาตามตัวชี้ วัดหลักในข้อความรู้เด่นสามารถปฏิบัติได้คิดเป็นร้อยละ 92.10) ด้านนวัตกรรมโดยรวมสามารถ ปฏิบัติได้คิดเป็นร้อยละ 89 เมื่อพิจารณาตามตัวชีวัดหลักในข้อผลผลิตเทคโนโลยีสามารถปฏิบัติ ได้คิดเป็นร้อยละ 86 และ 11) ด้านเครือข่ายโดยรวมสามารถปฏิบัติได้คิดเป็นร้อยละ 92 เมื่อ พิจารณาตามตัวชี้วัดหลักในข้อความร่วมมือสามารถปฏิบัติได้คิดเป็น ร้อยละ 96

4.2 ระดับที่ส่งผลให้เกิดความสามารถที่ได้รับจากโครงการ 1) ด้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยรวมอยู่ในระดับมาก.2) ) ด้านการจัดการทรัพยากรโดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ด้านสุขภาพ อนามัยในชุมชนโดยรวมอยู่ในระดับมาก 4) ด้านศาสนา วัฒนธรรมประเพณีโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด

5) ด้านความรู้การเรียนรู้ชุมชนโดยรวมอยู่ในระดับมาก 6) การบริหารชุมชนโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง 7) ด้านกลุ่มองค์กรชุมชนโดยรวมอยู่ในระดับมาก 8) ด้านความรู้ความ สามารถของผู้นำโดยรวมอยู่ในระดับมาก 9) ด้านความรู้เด่นในชุมชนโดยรวมอยู่ในระดับมาก 10) ด้านนวัตกรรมโดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 11) ด้านเครือข่ายโดยรวมอยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ : หมู่บ้านนวัตกรรม, การพึ่งพาตนเอง, เศรษฐกิจพอเพียง

 

Abstract

Development in the past 40 years, the competency in management was lost. Villagers couldn’t be able to manage their lives. So, they let the other people manage their lives. How could they get their confidence back by bringing their families, communities, community health ? The objectives of this research were: 1) to study the process of implementation by community organization network for being self-reliant based on Sufficiency Economy Philosophy, 2) to develop for increasing level the process of implementation by community organization group for being self-reliant based on Sufficiency Economy Philosophy, and 3) to decipher the lesson in implementation of innovation community organization group for Sufficiency Economy Philosophy network for being self-reliant based on Sufficiency Economy Philosophy. The research team were 32 community leaders, 3 teachers in service area, 3 officers of Sub-district Administrative Organization, and 1 field study officer person. For research design, was Research and Development by applying the Participatory Action Research. The instruments using in this study were: 1) the Handbook for Implementation of Innovation Village for being Self-Reliant based on Sufficiency Economy Philosophy, 2) the indicator of success, and 3) the Questionnaire. The statistic using in this study included the Frequency, Percentage, and Standard Deviation.

The research findings were as follows:

1. For the study of community context, the revenue-expenditure account, the map of community health, were used for reviewing the vision, strategy, and activity in implementation of model scheme of Banwangjan Moo 4, Banwangmai Moo 13, and Banwangneu Moo 16, in order to keep pace with the changed situation, be able to implement based on steps until being successful, develop the learning persons as well as learning team, hold a conference at least once a month, create mechanism of working to move in community level.

2. Development the improvement in body of knowledge of the research team, was performed including the field trip study at learning center in Sufficiency Economy Philosophy, determined for 3 times, and stage for sharing between the pilot family and learning center of Sufficiency Economy Philosophy for solving problem of poverty which was the same as specified plan. As a result, after development, the research participants obtained knowledge, comprehension, and skill in practice regarding to the production in organic fertilizer, growing the Meliantha sauvis, the branch sticking. There were 3 levels of competency: 1) the group developed as 3 village scholars, classified in Grade A, 2) the group of 13 leader teachers of Sufficiency Economy Philosophy, classified in Grade B+ , and the group of 16 leaders who were interested in, classified in Grade B which was learning by real practicing.

3. There was an innovation in pilot family level volunteering to participate in solving problem of poverty to be successful, including 32 families in 3 years, pilot learning center of Sufficiency Economy Philosophy, and solving the poverty problem, social development, and community health, for 4 centers: 1) Mixed Agricultural Center for 17 rais belonged to Mr. Wittaya Wnagnongseau, 2) the center of Jasmine Rice Seed, and crop developing for 7 rais belonged to Mr. Sa-nga Wangsong, 3) mixed agricultural center and fish raising for 6 rais belonged to Mrs. Yom Hattee which led to Sufficiency Economy Philosophy, and collaboration in solving the poverty problem, social development, and community health and 4) There was a pilot learning center as an integrated innovation for being self-reliant as well as solving the poverty problem for 2 rais, not to be difficult or poor, belonged to Mr. Na Soodpan being able to transfer village technology very well.

4. The indicator of success in implementing for innovation village for being selfreliant based on Sufficiency Economy Philosophy, according to evaluation of the practice based on the Checklist collaboratively developed with the research participants, classifying into 2 parts as the practice according to indicator, and level affecting competency obtaining from the project as follows:

4.1 The practice according to major indicator: 1) in Sufficiency Economy Philosophy, in Overall, could practice for 98%. Considering major indicator, could be practice in each item according to percentage: (1) the household could be selfreliant for 97%, (2) the capital for 92%, (3) the support for occupation serving to the community need, for 89%, (4) the marketing for 86%, (5) the support for occupation to be grown and sustainable for 85% respectively, 2) the resource management, in overall, the practice could be performed for 94%. Considering major indicator, could be practiced in each item ranking by percentage as: (1) the quality leader for 96%, (2) the collection of capital for 87%, (3) the natural resource developing soil, for 85%, (3) the health and hygiene in community, in overall, the practice was 89%. Considering major indicator ranking by percentage as: (1) the infrastructure for people’s health, for 87%, (2) the sufficient food, for 90%, (3) the cleanliness and lively place of community freeing from harmful diseases, for 86%, 4) the aspect of religion, culture, and tradition, in overall, the practice was 97%. Considering major indicator ranking by percentage as: (1) the religious was the focus of mind, for 95%, (2) the learning of community, for 87%, 6) the management of community with competency, in overall, the practice was 92%. Considering major indicator in the item of community management/community plan, for 90%,7) the aspect of community organization group, in overall, the practice was 94%. Considering major indicator in the item of group, community organization/ occupational group, the practice was 91%. 8) the aspect of leaders’ knowledge and competency, in overall, the practice was 93%. Considering major indicator in the item, the practice was 96%, 9) the aspect of prominent knowledge in community, the practice was 87%. Considering major indicator in the item of prominent knowledge, the practice was 92%, 10) the aspect of innovation, in overall, the practice was 89%. Considering major indicator in the item of technology product, the practice was 86%, and 11) the aspect of network, in overall, the practice was 92%. Considering major indicator in the item of collaboration, the practice was 96%.

1.1. The level affecting competency obtaining from the project: 1) the Sufficiency Economy Philosophy, in overall, was in “High” level, 2) the resource providing, the overall was in “High” level, 3) the health and hygiene in community, the overall was in “High” level, 4) the religion, cultural, and traditional aspect, the overall was in “High” level, 5) the community knowledge and learning aspect, the overall was in “High” level, 6) the community management aspect, the overall was in “Moderate” level, 7) the community organizational group aspect, the overall was in “High” level, 8) the leaders’ knowledge and competency aspect, the overall was in “High” level, 9) the prominent knowledge in community aspect, the overall was in “High” level, 10) the innovation aspect, the overall was in “High” level, 11) the network aspect, the overall was in “High” level.

Keywords : Innovation Village, Self-Reliant, Sufficiency Economy

Article Details

Section
บทความวิจัย