การพัฒนาสุขภาวะชุมชนเพื่อความอยู่ดีมีสุขจังหวัดร้อยเอ็ดและมหาสารคาม

Main Article Content

ฉลาด จันทรสมบัติ
ทานตะวัน สิงห์แก้ว

Abstract

บทคัดย่อ

สุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญา ถือเป็นแผนที่การพัฒนา คนแบบบูรณาการที่พึงปรารถนา และหากมีการเชื่อมโยงของคนในชุมชนเข้าด้วยกันให้เกิดความ รักเอื้ออาทรต่อกันถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและส่งผล ให้ชุมชนมีความอยู่ดีมีสุข วัตถุประสงค์ในการวิจัย 1) เพื่อค้นหาแกนนำสุขภาวะชุมชนในระดับ หมู่บ้านและตำบลในการขับเคลื่อนจัดเก็บข้อมูลสุขภาวะ 6 มิติ 2) เพื่อให้เกิดทีมนักวิจัยสุขภาวะ มีการพัฒนาตัวชี้วัดสุขภาวะ จัดทำแผนที่สุขภาวะชุมชน 6 มิติ และการผลิตสื่อสาธารณะสุข ภาวะชุมชน หน่วยพื้นที่ดำเนินการวิจัย คือ จังหวัดร้อยเอ็ดและมหาสารคาม กลุ่มเป้าหมายใน การวิจัยเป็นตำบลได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) ครอบคลุมตำบลขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก รวมจำนวน 6 ตำบล รวมชุมชนทั้งหมด 79 ชุมชน แยกเป็นพื้นที่ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 4 ตำบล คือ ตำบลหนองแวง ตำบลเหล่าหลวง ตำบล สิงห์โคก และตำบลน้ำอ้อม จำนวน 52 ชุมชน และในพื้นที่อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 2 ตำบล คือ ตำบลนาข่า และตำบลประชาพัฒนา จำนวน 27 ชุมชน ระยะเวลาในการ วิจัย พฤศจิกายน 2551- มิถุนายน 2552 กลุ่มผู้ร่วมวิจัย คือ 1) ผู้วิจัยหลัก ทำหน้าที่อำนวย ความสะดวกและส่งเสริมให้ทีมวิจัยเกิดการเรียนรู้ 2) ผู้วิจัยร่วมเป็นนักพัฒนาทำหน้าที่ประสาน งานกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ 3) นักวิจัยสุขภาวะผู้ปฏิบัติงานจริงแกนนำสุขภาวะชุมชนระดับตำบล ตำบลละ 15 คน จำนวน 90 คน 4) ตัวแทนองค์การบริหารส่วนตำบลเป้าหมายเป็นผู้เอื้ออำนวย ดำเนินงานในพื้นที่ตำบล 6 ตำบล ตำบลละ 5 คน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสำรวจข้อมูลทั่วไปของชุมชน การสัมภาษณ์ ทั้งการสัมภาษณ์แบบมี โครงสร้างและการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง สมุดจดบันทึก และบันทึกการประชุม บันทึก หลังการปฏิบัติ แบบรายงานกิจกรรม คู่มือประกอบการจัดกิจกรรม กล้องถ่ายภาพ กล้องถ่าย วิดีโอ ระเบียบวิธีการวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดย ประยุกต์ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) การวิเคราะห์ ข้อมูลโดยการสังเคราะห์ออกมาเป็นแผนภาพกระบวนการเรียนรู้สู่การพัฒนาสุขภาวะชุมชน ตามความมุ่งหมาย และประเด็นที่ศึกษา สถิติในการวิเคราะห์ใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐานในส่วนของเชิงปริมาณ และตรวจสอบถามเที่ยงตรงของข้อมูลโดยใช้เทคนิคการ ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าในเชิงคุณภาพ และนำเสนอผลการวิจัยโดยวิธีการพรรณาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) ผลการวิจัย พบว่า

1. การค้นหาแกนนำนักวิจัยสุขภาวะในระดับตำบล ได้เริ่มจากเวทีประชุมชี้แจงความ เข้าใจการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาและวิจัยสุขภาวะชุมชนเพื่อความอยู่ดีมีสุข หมู่บ้านละ 6 คน แล้วคัดเลือกให้มีตัวแทนของนักวิจัยหมู่บ้านละ 1 คนไปทำงานระดับตำบล ซึ่งนักวิจัยสุข ภาวะชมุ ชนทั้งสองระดับยังเป็นเครือขา่ ยในการทำงาน มีการแลกเปลี่ยนเรยี นรู้ไดร้ ่วมกนั วิเคราะห์ ปัญหา สาเหตุ แนวทางในการแก้ปัญหา การกำหนดความต้องการ แผนการดำเนินงานร่วมกันใน ระดับตำบล แล้วมีการตั้งคำถามต่อว่าเราจะมาทำงานอะไรร่วมกันก่อนหลัง จะเกิดผลประโยชน์ ต่อส่วนร่วมและส่วนตนอย่างไร การเรียนรู้เกิดจากประสบการณ์จะเชื่อมโยงการทำงานของคนใน ท้องถิ่นและมีความรักสามัคคีเอื้ออาทรต่อกัน และการบริการจัดการทุนทรัพยากรในระดับตำบล ผลสุดท้ายได้นักวิจัยสุขภาวะทีมีศักยภาพทั้งสมรรถนะหลักและสมรรถนะรอง มองเห็นคุณค่า ของความเป็นมนุษย์ สามารถปรับตัวอยู่ในสังคมที่เปลี่ยนไป เกิดแกนนำนักวิจัยสุขภาวะชุมชน ในระดับตำบลเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่องตำบล ๆ ละ 15 คน และนอกจากนั้นยังเกิดกลไก ทำงานเชื่อมโยงเพิ่มขึ้น 2 ระดับ คือ 1) ระดับอำเภอ ได้แก่ ท้องถิ่นอำเภอ สาธารณสุขอำเภอ และ 2) ระดับตำบล ได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบาย และ แผนเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสุขภาพ และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน เป็นผู้ประสานงานและหนุนเสริมใน เวทีต่าง ๆ

2. การสำรวจสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการ เพื่อนำมากำหนดเป็นตัวชี้วัดสุข ภาวะชุมชนเพื่อความอยู่ดีมีสุข ได้ประชุมชี้แจงวิทยากร เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น แบบสอบถามทั้งปลายเปิดและปลายปิด การกรอกข้อมูล การซักถามตรวจสอบทำให้เกิดจากการ สำรวจใหม่ให้เป็นปัจจุบันจากทีมนักวิจัยสุขภาวะได้ครอบคลุมถึงร้อยละ 80 ของหมู่บ้าน แล้วมา สรุปเป็นภาพรวมรวมของตำบลที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งตัวชี้วัดสุขภาวะชุมชนต้องนำไปสู่การ ทบทวนอีกครั้งก่อนจัดทำเข้าสู่แผนงาน และโครงการขององค์การบริหารส่วนตำบลในระยะต่อไป จำแนกตามประเด็นในการพัฒนาได้ดังนี้

2.1 การสำรวจสุขภาวะชุมชน 6 มิติ ในระดับหมู่บ้านและระดับตำบลใช้วิธีการ ประชุมชี้แจงและวิธีฝึกปฏิบัติจริงจำนวน 2 ช่วง คือ 1) การสำรวจแผนที่ผู้นำที่เป็นทางการและ ไม่เป็นทางการที่ตั้งกลุ่มอาชีพแล้วนำเสนอตรวจสอบความสมบูรณ์ 2) การสำรวจแผนที่สุขภาวะ ชุมชน 4 มิติ คือ กาย จิตใจ สังคม และสติปัญญา โดยให้จัดทำในระดับหมู่บ้านก่อนแล้วสรุป เป็นแผนที่ฉบับร่วมของหมู่บ้าน และในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับตำบลในการจัดทำแผนที่สุข ภาวะในระดับตำบล 6 มิติ และในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับข้ามตำบลให้มีการทบทวนและจัด ทำเนียบผู้นำสุขภาวะเพิ่มอีกครั้ง เป็นการทำซ้ำให้เกิดการตรวจสอบความเที่ยงตรงของข้อมูล

2.2 การวางแผนผลิตสื่อสาธารณะสุขภาวะชุมชนในระดับตำบลได้จัดทำเป็น 2 ช่วง คือ 1) ช่วงทดลองนำร่องในตำบลที่สนใจและมีศักยภาพก่อน คือ ตำบลมีเครือข่ายใน ระดับอำเภอเกษตรวิสัย เพื่อใช้เป็นต้นแบบสื่อสาธารณะให้ตำบลเครือข่ายได้เรียนรู้ คือ ตำบล เหล่าหลวงและตำบลน้ำอ้อม ในระยะเริ่มต้นการเรียนรู้ พบว่า ตำบลเหล่าหลวงมีการผลิตสื่อสาร ธารณะ 5 รายการบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ ได้แก่ รายการวิทยุชุมชน “คนรักสุขภาพ” หมอลำ ซิ่งเพื่อสุขภาพ แต่งกลอนผญาพาสร้างเสริมสุขภาพ หอกระจายข่าว และแผ่นพับวารสารรายเดือน ส่วนตำบลน้ำอ้อมมีการผลิตสื่อสาธารณะ 5 รายการเช่นกัน ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์แผ่นพับรายเดือน สื่อหอกระจ่ายข่าวประจำหมู่บ้าน ป้ายประวัติหมู่บ้าน คำขวัญ เพลงแนะนำหมู่บ้าน และวิดิทัศน์ ตำบล 2) ทุกตำบลที่เข้าร่วมโครงการได้จัดทำแผนที่ภาพรวมตำบลที่มีเนื้อหาสรุปสุขภาวะชุมชน 6 มิติ เป็นป้ายผ้าไวท์นิล หรือรูปแบบต่างๆ ตามความต้องการ เนื้อหาสรุปสุขภาวะชุมชนในมิติ ต่างๆ ไม่เกินมิติละ 5 รายการ และแต่ละตำบลมีแผนปฏิบัติการในการผลิตสื่อสาธารณะที่เป็น รูปธรรม

2.3 ตัวชี้วัดความสำเร็จในการดำเนินงานสุขภาวะชุมชนเพื่อความอยู่ดีมีสุข ที่นักวิจัยสุขภาวะพัฒนาขึ้น แบ่งออกเป็น ประเด็นหลัก 6- 7 ด้าน ตามประเด็นปัญหาและ ความต้องการแก้ไข ได้แก่ ด้านร่างกาย จิตใจ สังคม สิติปัญญา สิ่งแวดล้อม เครือข่าย และ ความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน ซึ่งใช้ในส่วนของตำบลเป้าหมาย 5 ตำบล คือ ตำบลหนองแวง สิงห์ โคก น้ำอ้อม นาข่า และประชาพัฒนา ส่วนตัวชี้วัดสุขภาวะของตำบลเหล่าหลวงที่จะทดลอง ใช้ตัวชี้วัดจากนักวิชาการพัฒนาขึ้นเป็นตัวชี้วัดกลาง ได้มีการทดลองใช้ตัวชี้วัดดังกล่าวที่ ตำบลหนองแวงปรากฏว่าผู้ประเมินและผู้ปฏิบัติสามารถอ่านและนำไปใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม

3. การดำเนินงานสุขภาวะชุมชนในระดับตำบลเพื่อความอยู่ดีมีสุขที่พัฒนาขึ้น โดย ประยุกต์ใช้การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 5 ขั้นตอน กับการดำเนินงานตามกิจกรรมย่อยใน การดำเนินงาน 16 กิจกรรมได้จริงมีความเหมาะสม มีความสอดคล้องและมีความเป็นไปได้ ใน ลักษณะการเรียนรู้จากการปฏิบัติของนักวิจัยสุขภาวะชุมชนทั้ง 6 ตำบล โดยใช้การวิจัยและพัฒนาในการสร้างองค์ความรู้ใหม่จากชุมชนเป็นฐาน จากการประเมินผลจากบันทึกหลังการปฏิบัติ พบ ว่า นักวิจัยสุขภาวะทุกคนมีความรู้ ความเข้าใจเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการสำรวจข้อมูลสุขภาวะ 6 มิติ การจัดทำแผนที่สุขภาวะ 6 มิติของตำบล มีความสามารถในการพัฒนาตัวชี้วัดสุขภาวะให้เหมาะ สมกับตำบลตนเอง และมีความสามารถในการจัดทำสื่อสาธารณะสุขภาวะด้วยตนเองได้เหมาะ สม

การพัฒนาสุขภาวะชุมชนเพื่อความอยู่ดีมีสุขที่พัฒนาขึ้นเป็นรูปแบบที่มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้จากการปฏิบัติจริง และมีความสอดคล้องระหว่างการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วน ร่วมตามขั้นตอนที่กำหนดกับการดำเนินงานตามแผนงานกิจกรรมย่อยซึ่งทำไปปรับปรุงไป ทำให้ ให้เกิดความยืดหยุ่นเป็นกระบวนการที่พอเหมาะ และมีผลลัพธ์ทำให้เกิดกลไกการทำงานร่วมกัน ได้อย่างเหมาะสมกับบริบทและสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น อยู่ในระดับดี ซึ่งเป็นผลจากประเมิน สรุปผล สะท้อนผล การบันทึกหลังการปฏิบัติแต่ละครั้ง และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนักวิจัย สุขภาวะตำบล ได้มองเห็นการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานและเรียนรู้จากการปฏิบัติในระยะแรก มีความสำคัญยิ่ง ซึ่งเป็นการก่อตัวของทีมนักวิจัยสุขภาวะระดับตำบล โดยการหนุนเสริมจากภาคี ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกตำบล บ่งบอกถึงการมีส่วนร่วมในการรวมกลุ่มตั้งแต่เริ่ม ต้นจนเสร็จสิ้นช่วงเวลาที่กำหนด ถือเป็นฐานข้อมูลสำคัญในการพัฒนางานครั้งต่อไป

คำสำคัญ : สุขภาวะชุมชน, อยู่ดีมีสุข

 

Abstract

Sound health in physical, mental, social and intellectual aspects is regarded as a map of developing desirable integrated people. If there is connection of community people together to generate love and help with each other, it will be regarded as a very important basic factor leading to sustainable development and causing the community to become well-being. The purposes of this study were: 1) to seek community health condition core leaders at the village and tambon levels in driving 6-dimensional health condition data storage, 2) to generate health condition team of researchers with development of health condition indicators, to draw maps of 6-dimensional community health conditions, and production of community public health condition media. The area units of conducting this study were Roi Et and Maha Sarakham provinces. The focused group in the study consisted of 6 tambon obtained using the cluster sampling technique, covering large-sized, medium-sized and small-sized tambon with totally 79 communities. There were these 4 tambon: Tambon Nong Waeng, Tambon Lao Luang, Tambon Sing Khok and Tambon Nan Om with 52 communities in Amphoe Kaset Wisai, Roi Et province; and these 2 tambon: Tambon Na Kha and Tambon Pracha Phatthana with 27 communities in Amphoe Wapi Pathum, Maha Sarakham province. The study was conducted from November 2008 to June 2009. Research participants comprised: 1) major researcher who facilitated and promoted the team of researchers to generate learning, 2) research participants who were developers performing their duties in coordinating with the focused group in the study area 3) health condition researchers, actual practitioners, core leaders of community health conditions at the tambon level, 15 people each, with a total of 90 people; and 4) representatives of focused group tambon administrative organizations who facilitated operation in all 6 tambon areas, 5 representatives each, with a total of 30 ones. The instruments used for collecting data were a survey of community general data, structured- and unstructured interview forms, note-taking forms on meetings and performance, a report form on activities, a handbook in supplement to organizing activities, a camera, and a video camera. The methodology used was research and development by applying participatory action research. The data were analyzed by synthesizing to be charts of the learning process leading to community health condition development according to the purposes and issues of the study. The statistics used for analyzing the quantitative data were percentage, mean, and standard deviation. Data validities were checked using the triangulation technique. The study results were presented by means of a descriptive analysis. The results of the study were as follows:

1. Seeking cove leaders of health condition researchers at the tambon level began from the meeting forum for explaining the understanding of operation according to the project for development and research on community health conditions for well-being with 6 people from each village. Then 1 representative from each village was selected to be the researcher to work at the tambon level. The community health condition researchers at both levels still were networks. They had learning sharing, cooperatively analyzed problems, causes and guidelines for problem-solving, and determining needs and plans for cooperative operation at the tambon level. Next questions to ask were: Which work should we do together first and later? What benefit will occur to the pubic and to each people? And how? Learning originated from experience would link work of local people to love, unity and help with each other and management of resource capital at the tambon level. Finally health condition researchers with potentials in major competency and minor competencies were obtained. They realized the values of humanity and could adapt themselves to the changing society. There occurred cove headers of community health condition researchers at the tambon level participating in activities in continuity, 15 core leaders from each tambon. In addition, there occurred work mechanisms of connection at 2 more levels: 1) amphoe level comprising local amphoe and amphoe public health; and tambon level comprising tambon administrative organization presidents, policy and plan analysts, health promotion officials, and community development officers who were coordinators and supporters on different stages forums.

2. For surveying current conditions, problems and needs for determining indicators of community health conditions for well-being, the researcher held meetings to provide explanations by resource persons. The instruments used for collecting data were open-ended and closed-ended questionnaires. Filling in data, questioning and checking data could cause resurvey to update data from the team of health condition researchers which covered 80 percent of the villages. Then they summarized the data about the villages as a whole which were different. Indicators of the community health conditions had to be reviewed before leading to plans and making projects of tambon administrative organizations in the following phases. They could be classified according to the following issues of development:

2.1 For surveying 6-dimensional community health conditions at village and tambon levels, the techniques used were holding the meeting for explaining and actual practice in 2 phases: 1) surveying maps which formal and informal leaders formed occupational groups, and then the maps were presented for checking completeness, and 2) surveying maps of 4-dimensional community health conditions: physical, mental, social and intellectual dimensions by making maps at the village level first and then summarized to joint maps of the villages, and on the forum of learning sharing at the tambon level in making maps of 6-dimensional community health conditions, and on the forum of, learning sharing at the cross-tambon level to have revision and making a directory of additional health condition leaders. This was the repletion to originate revision of validities of data.

2.2 Planning for production of community public health condition media at the tambon level was in 2 phases: 1) in the pilot experimenting phase in interested tambon with potential first of all in tambon with network at the amphoe level of Amphoe Kaset Wisai to be used as the model of public media for network tambon to learn including Tambon Lao Luang and Tambon Nam Om. At the beginning of the learning phase, it was found that Tambon Lao Luang produced 5 items of public media which achieved the established requirements. These items were: a community radio program on “People Who Love Health”, Molam Sing for Health, Writing Phaya Verses to Create Health, News Spreading Tower and Monthly Brochures. Tambon Nam Om also produced 5 items of public media including: printed matter media of monthly brochure, village news spreading tower; signs of the village history and slogan, songs introducing the village, and a video on tambon. 2) Every tambon participating in the project made maps as a whole of tambon with summarized contents of 6-dimensional community health conditions. They used white- nin cloths or other different forms as needed. The brief community health conditions in different dimensions did not exceed 5 items/dimension. Each tambon had concrete action plans for producing public media.

2.3 The developed indicators of success in operating community health conditions for well-being could be divided into these 6-7 major issues based on the issues of problems and needs for solving: physical, mental, social, social, intellectual, environmental, network, and connecting relationship aspects. These aspects were used for the 5 target tambon: Tambon Nong Waeng, Tambon Sing Khok, Tambon Nam Om, Tambon Na Kha, and Tambon Pracha Phatthana. As for the indicators of health conditions of Tambon Lao Luang which would be tried out using the academic-developed indicators as neutral indicators, the indicators mentioned were tried out with Tambon Nong Waeng. It was found that the assessors and the practitioners could concretely read and implement these indicators.

3. For the operation of community health conditions at the tambon level for wellbeing by applying the developed 5-stage participatory action research to the operation according to 16 subactivities, it was found that it could be actually operated appropriately with congruence and feasibility in the type of learning from action of community health condition researchers in all the 6 tambon by using research and development for creating the community-based new body of knowledge. From an evaluation of after action note-taking, it was found that every health condition researcher increased his/her knowledge and understanding of 6-dimensional health condition data survey, making maps of 6-dimensional health conditions of each tambon, ability to develop indicators of health conditions to be appropriate to their own tambon, and ability to make appropriate public health condition media by themselves.

In conclusion, the developed model of community health condition development for well-being was appropriately feasible, actually practical, and congruent between the participatory action research according to the required stages and the operation according to activity subplans which were operated and improved at the same time. It could generate flexibility, was an appropriate process; and the results could generate suitable mechanisms of working together with the local context and environment at a good level. These results were obtained from evaluation, summarization, feedback, note-taking after each action, and forum for learning sharing of tambon health condition researchers. They realized that participation in operation and learning from action in the first phase was very important. It was formation of the team of tambon-level health condition researchers by supporting from involved parties both inside and outside the tambon. It also indicated participation in group formation from the beginning to the end of the fixed duration which could be regarded as important database to develop further work.

KeyWords : Community Health, Conditions for Well-being

Article Details

Section
บทความวิจัย