การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิชา ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสังกัดเทศบาลเมือง มหาสารคาม

Main Article Content

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์
สมบัติท้าย เรือคำ
รังสรรค์ โฉมยา
จรรยา อาจหาญ

Abstract

บทคัดย่อ

การอ่านเชิงวิเคราะห์ช่วยให้นักเรียนคิดอย่างมีเหตุผล รู้จักวิเคราะห์ สังเคราะห์เรื่องราว ต่าง ๆ รวมทั้งรู้จักตัดสินใจได้ด้วยตนเอง แต่สภาพการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่4 ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรดังนั้น การวิจัยครั้งนี้จึงมีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษา ความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสังกัดเทศบาล เมืองมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม จำนวน 212 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการเรียนรู้ด้านการคิดเชิงวิเคราะห์ วิชาภาษา ไทย จำนวน 10 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการคิดเชิงวิเคราะห์ มีลักษณะเป็นแบบ ปรนัย เลือกตอบ ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ โดยมีค่าความยาก(P) ตั้งแต่ .25 ถึง .76 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (r) ตั้งแต่ .30 ถึง .84 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .78 สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐาน และ t-test (Dependent Sample)

ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสังกัดเทศบาลเมือง มหาสารคาม มีความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

โดยสรุปการใช้แบบฝึกทักษะประกอบการคิดวิเคราะห์ช่วยให้นักเรียนมีความสามารถด้าน การคิดเชิงวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ครูผู้สอนจึงควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ การฝึกทักษะเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเกิดทักษะด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ให้มีประสิทธิภาพต่อไป

คำสำคัญ : การอ่านเชิงวิเคราะห์

 

Abstract

Analytical reading can help students think logically, know how to analyze and synthesize. different matters and know how to make decisions by themselves. However, the analytical reading condition of Prathomsuksa 4 students has not yet been so successful as it should be. Thus this study aimed to compare analytical reading abilities in the Thai learning strand of Prathomsuksa 4 students between before and after learning mean scores. The sample consisted of 212 Prathomsuksa 4 students attending Mahasarakham municipal Schools in the first semester of the academic year 2008, obtained by using the purposive sampling technique. The instruments used for collecting data were 10 lesson plans for learning in Thai analytical reading and a 40-item 4-choice test of analytical reading ability with difficulties (p) ranging .25-.76, discriminating powers(r) ranging .30-.84 and a reliability of .78. The statistics use for analyzing the collected data were mean, standard deviation, and t-test (Dependent Samples).

The result of the study revealed that Prathomsuksa 4 students had higher analytical reading ability after learning than before learning at the .05 level of statistical significance.

In conclusion, the uses of skill practices in supplement to analytical thinking could help the students have higher analytical reading ability after leaning than before learning. Therefore teachers of Thai should organize learning- teaching activities by using skill practices for promoting students to generate analytical reading skill to be more efficient in the future.

Keyword : Analytical reading

Article Details

Section
บทความวิจัย