การพัฒนาความร่วมมือแก้ไขปัญหาความยากจน พัฒนาสังคมและสุข ภาวะจังหวัดมหาสารคาม ระยะที่ 1 (ปี 2554)

Main Article Content

ฉลาด จันทรสมบัติ
พิสิฏฐ์ บุญไชย
ศักดิ์เจริญ ภวภูตานนท์
สุรเชต น้อยฤทธิ์
ประจักษ์ อาษาธง
ทานตะวัน สิงห์แก้ว

Abstract

บทคัดย่อ

โครงการพัฒนาความร่วมมือแก้ไขปัญหาความยากจน พัฒนาสังคมและสุขภาวะจังหวัด มหาสารคามระยะที่ 1 (ปี 2554) ได้ดำเนินการตั้งแต่เดือนมีนาคม 2554 สิ้นสุดโครงการเดือน กุมภาพันธ์2555 หน่วยงานหลักประกอบด้วย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) หน่วยวิจัยและพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนและการจัดการความรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม องค์การบรหารส่วนตำบลนาข่า อำเภอวาปีปทุม องค์การบริหารส่วน ตำบลพระธาตุ อำเภอนาดูน องค์การบรหารส่วนตำบลหนองโพธิ้ อำเภอนาเชือก องค์การบริหารส่วนตำบลเลิงแฝก อำเภอกุดรัง องค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าดอกไม้ อำเภอชื่นชม องค์การ บริหารส่วนตำบลเขวาใหญ่ อำเภอกันทรวิชัย และคณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายแก้ไขปัญหา ความยากจนของจังหวัดมหาสารคาม ความมุ่งหมายของการวิจัย 1) เพื่อสร้างกลไกภาคีความร่วมมือพัฒนาแก้ปัญหาความยากจนพัฒนาสังคมและสุขภาวะที่เหมาะสมกับท้องถิ่น 2) เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลจากฐานชุมชนสู่การกำหนดเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาระดับต่าง ๆ 3) เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ จัดการองค์ความรู้ของชุมชนสู่การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาวะ และ 4) เพื่อส่งเสริมสนับสนุนภาคีในการแก้ไขปัญหาความยากจนตามความต้องการของชุมชน พื้นที่ดำเนินการวิจัยใน6 อำเภอ 6 ตำบล 12หมู่บ้าน ในจังหวัดมหาสารคาม กลุ่มเป้าหมาย คือ ครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 202 ครอบครัว โดยใช้กระบวนการดำเนินงานการวิจัยและพัฒนาโดย ประยุกต์ใช้การวิจัยเชิงปฏิบติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) ขั้นตอนดำเนินงาน 1) การสำรวจข้อมูล สภาพปัจจุบันปัญหา 2) การวิเคราะห์ข้อมูล 3) การจัดทำแผนแบบมืส่วนร่วม 4) ปฏิบัติตามแผน และปรับปรุง 5) ติดตามประเมินผล 6) พัฒนาศักยภาพยกระดับองค์ความรู้และ 7) สรุปบทเรียน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครื่องมือมี 2 ชนิด คือ 1) เครื่องมือในการพัฒนาเพื่อให้เกิดนวัตกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ได้แก่ สมุดบันทึกบัญชีครัวเรือน แผนพัฒนาคุณภาพชีวิต คู่มือการปฏิบัติ งานคู่มือแผนชุมชนและคู่มือการจัดทำข้อมูลสุขภาวะชุมชน 2)เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินตัวชี้วัดความสำเร็จการดำเนินงานผลการดำเนินงานปรากฏผลดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดประเด็นและวางแผนแบบมีส่วนร่วม ระหว่างเดือนมีนาคม ถึงเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2554 การดำเนินงานประกอบด้วย การจัดเตรียมกลไกการทำงานโครงการ การพัฒนาตัวชี้วัดกำหนดเกณฑ์การประเมิน การจัดทำเอกสารและคู่มือการปฏิบัติงาน ผลปรากฏว่า มีภาคีความร่วมมือร่วมเป็นกลไกการดำเนินงานระดับจังหวัดอำเภอตำบล และหมู่บ้านสามารถพัฒนาตัวชี้วัดเพื่อประกอบการประเมินผลการดำเนินงานการจัดทำเอกสารคู่มือในการดำเนินงาน ประกอบด้วย คู่มือบัญชีรายรับ-รายจ่าย คู่มือแผนพัฒนาคุณภาพชีวิต คู่มือแผนแม่บทชุมชนคู่มือ แผนสุขภาวะ แผ่นผับ และแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ

ขั้นตอนที่2การปฏิบัติให้เป็นจริง ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน 2554 ได้ ผลการดำเนินงานได้ประชุมชี้แจงระดับจังหวัด 1 ครั้ง ได้จัดให้มีการลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) อบรมวิทยากรกระบวนการฝึกปฏิบัติการทำบัญชีครัวเรือน แผนพัฒนาคุณภาพชีวิต แผนชุมชน และแผนที่สุขภาวะ ส่วนใหญ่มีความรู้ความสามารถในการใช้คู่มืออย่างถูกต้องมีฐานข้อมูลรายรับ รายจ่ายบัญชีครัวเรือน

ขั้นตอนที่ 3 การสรุปสะท้อนผล ระหว่างเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2554 ผลการดำเนินงานมีการวิเคราะห์บัญชีรายรับ-รายจ่ายระดับครัวเรือนต้นแบบสามารถบันทึกบัญชีรายรับรายจ่ายทุกวันเป็นกิจวัตรประจำวัน มีการวิเคราะห์วางแผนชีวิตตนเองได้มีแผนพัฒนาอาชีพตนเองมีการบรรจุเข้าในแผนพัฒนา 3 ปี (พ.ศ. 2555-2557) ขององค์กรส่วนท้องถิ่นเป้าหมายงบประมาณ 450,000 บาท และมีการแสวงหาความรู้ศึกษาดูงาน มีการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิต แผนแม่บทชุมชนสู่การปฏิบัติ

ขั้นตอนที่ 4 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนกุมภาพันธุ 2555 ได้ สนับสนุนงบประมาณให้ดำเนินงานโครงการนำร่อง โครงการละ 20,000 บาท ดำเนินการ ประซาสัมพันธ์โครงการ ผ่านทาง website และมีโครงการที่เด่น ๆ ได้แก่ โครงการ 2 ไร่ไม่ยาก ไม่จน โครงการผลิตเมล็ดพันธุข้าว ส.รวัง โครงการรวมชื้อรวมขายบ้านดงน้อย โครงการจัดสร้าง ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้าน ส.รวังมีตัวชี้วัดความสำเร็จตามตัวบังชี้ในภาพรวมหลังดำเนินการสูงกว่าก่อนดำเนินการ

ปัจจัยแห่งความสำเร็จจากการดำเนินงานได้แก่ การแสวงหารูปแบบกลไกภาคีความร่วมมือ ในระดับพื้นที่ในการสนับสนุนการพัฒนา และบูรณาการแผนพัฒนาขององค์กรภาคีสู่การปฏิบัติที่สอดรับกับแผนของชุมชน นำวิธีคิดวิธีปฏิบัติและการให้คุณค่า ซึ่งเป็นผลจากการปฏิบัติจรงของ ครอบครัวต้นแบบสู่การปรับปรุงพัฒนางานขององค์กรได้

ปัจจัยแห่งความล้มเหลวได้แก่การขาดการประสานงานที่ดืในการทำงาน ขาดจิตสำนึกที่ดื การเสียสละ และจิตอาสาเพื่อพัฒนาชุมชน

แนวทางการดำเนินงานในระยะต่อไป ควรครอบครัวต้นแบบนำแผนชีวิตลงสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม ทุกแผนงานกิจกรรมให้มีการเวทีติดตามความก้าวหน้าต่อเนื่อง ควรขยายจำนวนครอบครัวเข้าร่วมโครงการดำเนินการเพิ่มขึ้นเชื่อมประเด็นการแก้หนี้สินของเกษตรกรพัฒนาสถาบันการเงินชุมชน ควรใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมดำเนินการต่อไป

คำสำคัญ : การพัฒนาความร่วมมือแก้ไขปัญหาความยากจน, การพัฒนาสังคม, สุขภาวะ, ครอบครัวต้นแบบ

 

Abstract

For project of collaboration for solving problem of poverty, social development and happiness condition, Maha Sarakam Province, Phase 1 (2011), it was implemented from March 2011 to February 2012. The major work units consisted of: 1) the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperative (ธ. A.c.), 2) the Research and Development of Community strength and Knowledge Management, Faculty of Education, Maha Sarakam University, 3) Na-ka Sub-district Administrative Organization, Wapeepatoom District, 3) Pratat Sub-district Administrative Organization, Nadoon District, 4) Nongpo Sub-district Administrative Organization, Nacheuk District, 5) Loengfag Sub-district, Goodrang District, 6) Lao-dogmai Sub-district Administrative Organization, Cheunchom District, 7) Kwawyai Sub-district Administrative Organization, Kantarawichai District, and the working group for moving the policy in solving problem of poverty in Maha Sarakam Province. The objectives of this research were: 1) to construct association mechanism of collaboration and development for solving the problem of poverty, developing society, and happiness condition appropriate with locality, 2) to develop data baser system from community into policy determination for development in various levels, 3) to construct learning process, manage body of knowledge in community into solving problem of economic, social, and happiness condition, and 4) to enhance and support the association for solving problem of poverty based on community’s need. The implemented areas were in 6 districts, 6 sub-districts, and 12 villages in Maha Sarakam Province. The target group consisted of modeled households for 202 families. Research and Development Process was administered by applying Participatory Action Research (PAR). There were 6 phases of implementation including: 1) the survey information of current situation and problem, 2) data analysis, 3) establishment of plan as participatory, 4) action based on planning and improving, 5) following up and evaluation, 6) potential development for elevating body of knowledge, and 7) conclusion of lesson, and sharing. There were 2 kinds of instrument:

the instrument for development for developing the Participatory Learning Innovation including: the household account record, quality of life developmental plan, work practice handbook, community plan handbook, and handbook for organizing information of community happiness condition, and 2) the instrument for collecting data included the evaluation form of success indicator. The findings of implementation were as follows:

Phase 1: Determination of issues, and participatory planning was implemented from March to May 2011. The implementation included: 1) the preparation of working mechanism for project of the indicator development for determining the evaluation criterion, and 2) the establishment of document and handbook for work practice. The findings were: there were shared associations as mechanism for work implementation in provincial level, district level, sub-district level, and village level. The indicators for evaluating the findings of implementation, were able to be developed. The establishment of handbook for implementation consisted of: 1) the handbook of revenue-expenditure, 2) the handbook of quality of life developmental plan, 3) the handbook of model scheme, 4) the handbook of happiness condition plan, 5) the leaflet, and 6) the advertising board of project.

Phase 2: the practice for being practical was implemented from June to September 2011. There were : 1) the findings of implementation, 2) the conference for informing the provincial level, once, 3) the signing for Memorandum of Understanding (MOU), 4) the training for scholars in practice training process in organizing the household account, 5) the quality of life developmental plan, and 6) the community plan and happiness condition map. Most of them had knowledge and competency in using the handbook correctly. There were data bases of revenue-expenditure for household account.

Phase 3: the conclusions of reflection, was implemented from October to December 2011. For findings of implementation, there were: 1) the analysis of revenue-expenditure account in modeled household level, 2) they were able to record daily revenue-expenditure account as a routine work, 3) they had their life plan analysis and occupational development plan, 4) they were included in 3 years Developmental Plan (2012-2014) of Local Administrative Organization, 5) the target budget was 450,000 baths, 6) there were knowledge search and field trip study, 7) the establishment of quality of life developmental plan, and 6) the community model scheme into real practice.

Phase 4: sharing of knowledge was implemented from January to February 2012. There were supported budget for pilot study implementation, 20,000 baths/project. The public relation was implemented through website. There were prominent projects including: 1) the 2 rais for not being poor or difficult project, 2) the project of ร.3 Wang rice seed production, 3) the project in collecting to buy and sell from Ban-gong-noi, 4) the project for constructing the community learning center of Ban ร.3 Wang, and 5) the success indicator based on indicators in overall after implementation, was higher than before implementation.

Factors of success from implementation were: 1) the searching for mechanism model of association for collaboration in area level in the supporting and development, and 2) the integration for developmental plan of association organization into real practice relevant to community plan. The thinking and practicing techniques as well as valuing as the results from real practice of modeled family, were brought for improving and developing the organizational work.

For factors of failures, they were: 1) the lack of good collaboration in working, 2) the lack of good awareness, dedication, and contemplative mind for community development.

For guidelines in next phase implementation, they were: 1) the modeled family brought the life plan into concrete practice, 2) there should be stage for following up the progress continuously in every activity work plan, 3) the number of family participating in implemented project, should be increased, 4) the issues of farmers’ debt should be associated, and 5) for financial institute development of community, Participatory Action Research should be administered for future implementation.

Keyword : Collaboration for Solving Problem of Poverty, Social Development, Happiness Condition, Household Level

Article Details

Section
บทความวิจัย