การศึกษาความต้องการด้านการจัดการเรียนการสอนของนิสิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

พิกุลศิลป์ งามสูงเนิน
เพ็ญ วังหน้า

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความต้องการด้านการจัดการเรียนการสอน และเพื่อให้ทราบข้อเสนอแนะของนิสิตต่อการจัดการเรียนการสอนของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษาในและนอกเวลาราชการ จำนวน 353 คนได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายของ ทาโร ยามาเน่ เครื่องมือที่ใชในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความต้องการด้านการจัดการเรียนการสอนของนิสิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจ จำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.38 ถึง 0.82 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และ t-test (Independent Samples)

ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้

1. นิสิตคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีความต้องการด้านการจัดการเรียน การสอนโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีความต้องการ ด้านการจัดการ เรียนการสอนอยู่ในระดับมากทุกด้าน คือ ด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมด้านอุปกรณ์และสื่อ ทางการสอน และด้านผู้สอน

2. การเปรียบเทียบความต้องการของนิสิตระดับปริญญาตรีและนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาที่ ศึกษาระบบในเวลาราชการกับระบบนอกเวลาราชการคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พบว่ามีความต้องการด้านการจัดการเรียนการสอน ทั้งโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

3. นิสิตระดับปริญญาตรีและนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัย มหาสารคาม มีความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการจัดการเรียนการสอนได้แก่ ด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม ควรจัดบรรยากาศในห้องเรียนให้เหมาะสมกับการเรียนการสอน ควรมีแสงสว่างที่เพียงพอภายในห้องเรียน ควรมีสถานที่ให้นั่งพักเพื่อรอรับเอกสารและโต๊ะสำหรับการกรอกแบบฟอร์มต่างๆ เพื่อให้การติดต่อมีความสะดวกยิ่งขึ้น ด้านอุปกรณ์และสื่อทางการสอน ควรมีสื่อ สิ่งพิมพ์และอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับให้บริการในการค้นคว้าข้อมูลอย่างเพียงพอ ควรมี โต๊ะ เก้าอี้อำนวยความสะดวกอย่างเพียงพอในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และเพียงพอต่อการทำงานของนิสิต ด้านผู้สอน อาจารย์ผู้สอนควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการจัดการเรียนการสอน มีเทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่น่าสนใจ ควรศึกษาค้นคว้าความรู้ใหม่ ๆ มีเทคนิคหรือนวัตกรรมใหม่ๆที่ทันสมัยมาเป็นสื่อการเรียนการสอนถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และนำมาใช้ประโยชน์รวมถึงให้ผู้เรียนได้แสดงออก มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านอื่นๆ เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ต่างๆ ควรให้บริการการติดต่อประสานงานต่างๆ ให้กับนิสิตได้ด้วย แบบฟอร์มต่างๆ ควรมีการปรับปรุงแบบฟอร์มให้มีความครบถ้วน เป็นปัจจุบันและไม่เปลี่ยนแบบฟอร์มบ่อย เพราะจะทำให้นิสิตปรับตัวไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลง ควรมีการพัฒนาบุคลากรให้มีมนุษยสัมพันธ์มากยิ่งขึ้น ให้มีความรู้ความเข้าใจขั้นตอนการดำเนินงานอย่างแม่นยำ พร้อมที่จะทำงานแทนกันได้ทุกขั้นตอน ควรมีการขยายเครีอข่ายการประชาสัมพันธ์ให้มีความครอบคลุมและกว้างขวางมาก ยิ่งขึ้น และมีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง การกำหนดเวลาตามตารางเรียนควรตรวจสอบการ กำหนดตารางเวลาเรียนให้มีความถูกต้องตลอดเวลา ควรมีสถานที่สำหรับการส่งงานให้อาจารย์ตรวจ และควรมีการกำหนดเวลารับส่งงานที่ชัดเจนแน่นอน

คำสำคัญ : ความต้องการ และการเรียนการสอน

 

ABSTRACT

The purposes of this study were to examine and compare students’ needs for learning-teaching organization, and to find out students’ recommendations for learning- teaching organization of Faculty of Education, Mahasarakham University. The sample used in this study consisted of 353 undergraduate and graduate students in the in-official-time system and out-of official-time system, obtained using the simple random Taro Yamame. The instruments used for collecting data were a 30-item 5-rating-scale questionnaire on the needs for learning-teaching organization of Faculty of Education student at Mahasarakham University with discrimination ranging 0.38-0.82 and a reliability of 0.95. The statistictics used for analyzing the collected data were percentage, mean, standard deviation, and t-test (independent samples).

The results of the study were as follows:

1. The Faculty of Education students at Mahasarakham University showed their needs for learning-teaching organization as a whole at a high level. When each aspect was considered, it was found that they showed their needs for learning-teaching organization at a high level in every of all these aspects: buildings and space and the environment, materials and instructional media, and instructors.

2. In comparing the needs of undergraduate students and graduate students studying in the in-official-time system and out-of official-time system under Faculty of Education of Mahasarakham University, it was found that these students’ needs or learning-teaching organization both as a whole and in each aspect were not different.

3. The undergraduate students and graduate students under faculty of Education of Mahasarakham University provided the following opinions and recommendations for learning-teaching organization. เท the aspect of buildings and space and the environment, the classroom climate should be arranged to suit learning and teaching; there should be sufficient light in the classroom; there should be sitting places to wait for receiving documents, and tables for filling out different forms in order for communication to be more convenient. เท the aspect of materials and instructional media, there should be printed media, and adequate computer equipment for providing services in searching information and facilitating organization of learning-teaching activities and to be adequate for working of the students. เท the aspect of instructors, each instructor should be a good example in learning-teaching organization, should have interesting techniques of organization of learning-teaching activities; should study new knowledge about new techniques or modern innovations and use them as instructional media to transfer knowledge for learners to learn and utilize as well as having learners express themselves and participate in organization of learning-leaching activities. เท other aspects, regular officials at different centers should be able to provide services, communicate and coordinate in different matters for students. Different forms should be improved to have completeness, to be updated, but should not be changed too often because it will make students unable to follow the changes. There should be personnel development to have more human relationships by giving them knowledge and understanding of accurate stages of work operation, to be ready to work in substitution for other officials at every stage, There should be extension of public relations network to have mare coverage and to be wider, and there should be public relations in continuity. Determination of time according to the time-table should be checked for correctness all the time. There should be specific places for submitting assignments to the instructors to check them. Also, there should be determination of definite and clear time for reception and submission of assignments.

Keyword : Needs and strategies

Article Details

Section
บทความวิจัย