Submissions
Submission Preparation Checklist
As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.
- The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
- The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, or RTF document file format.
- Where available, URLs for the references have been provided.
- The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
- The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.
Author Guidelines
คำแนะนำ
สำหรับผู้เขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร มจร พุทธโสธรปริทรรศน์
กองบรรณาธิการได้กำหนดระเบียบการส่งต้นฉบับไว้ให้ผู้เขียนยึดเป็นแนวทางในการส่งต้นฉบับสำหรับการตีพิมพ์ลงวารสาร มจร พุทธโสธรปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์พุทธโสธร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และกองบรรณาธิการสามารถตรวจสอบต้นฉบับก่อนการตีพิมพ์ เพื่อให้วารสารมีคุณภาพสามารถนำไปใช้อ้างอิงได้
การส่งในระบบ (Online Submission) สามารถส่งเข้าระบบออนไลน์ได้เว็บไซต์ ของวารสาร ได้ที่ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JMBR_sothorn/index
- การเตรียมต้นฉบับ มีรายละเอียดดังนี้
1) ต้นฉบับบทความต้องเป็นไฟล์เวิร์ด (Microsoft word) เท่านั้น
2) ต้นฉบับบทความต้องมีความยาว 10 - 15 หน้ากระดาษ A4 (รวมเอกสารอ้างอิง) พิมพ์บนกระดาษหน้าเดียว ภาษาไทยใช้ตัวอักษรแบบ TH SarabunPSK
3) ตั้งค่าหน้ากระดาษโดยเว้นขอบกระดาษ ขอบบน - ล่าง ขอบขวา - ซ้าย เท่ากันทุกด้าน ด้านละ 1 นิ้ว หรือ 2.54 cm กำหนดระยะห่างระหว่างบรรทัดเท่ากับ 1 และย่อหน้า 7 ตัวอักษร โดยเริ่มพิมพ์อักษรตัวที่ 8
4) การนำเสนอรูปภาพและตาราง ต้องนำเสนอรูปภาพและตารางที่มีความคมชัดพร้อมระบุหมายเลขและชื่อกำกับใต้รูปภาพไว้ด้านล่าง พิมพ์เป็นตัวหนา เช่น ตาราง 1 หรือ Table 1 และ รูป 1 หรือ Figure 1 โมเดล 1 หรือ Model 1 รูปภาพที่นำเสนอต้องมีรายละเอียดของข้อมูลครบถ้วนและเข้าใจได้โดยไม่จำเป็นต้องกลับไปอ่านที่เนื้อความอีก ระบุลำดับของรูปภาพทุกรูปให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่อยู่ในต้นฉบับ โดยคำอธิบายต้องกระชับและสอดคล้องกับรูปภาพที่นำเสนอ
5) ชื่อเรื่องต้องมีภาษาไทย (20 pt.) และภาษาอังกฤษ (18 pt.) ตรงกลางหน้ากระดาษ
6) ชื่อผู้เขียน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ระบุวุฒิการศึกษาสูงสุด พร้อมระบุตำแหน่งทางวิชาการ พิมพ์ด้วยตัวอักษรปกติอยู่ใต้ชื่อเรื่องโดยเยื้องมาทางด้านขวา และให้ตัวเลขเป็นตัวยกท้ายชื่อผู้เขียนเพื่อแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่งทางวิชาการและชื่อหน่วยงาน
7) มีบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 300 คำต่อบทคัดย่อ
8) กำหนดคำสำคัญ (Keywords) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (3 - 5 คำ)
9) การเรียงหัวข้อ หัวข้อใหญ่สุด ให้พิมพ์ชิดขอบด้านซ้าย หัวข้อย่อยเว้นห่างจาก หัวข้อใหญ่ 3-5 ตัวอักษร พิมพ์ตัวที่ 6 และหัวข้อย่อยขนาดเดียวกัน ต้องพิมพ์ให้ตรงกัน เมื่อขึ้นหัวข้อใหญ่ ควรเว้นระยะพิมพ์ เพิ่มอีก 0.5 ช่วงบรรทัด
10) การใช้ตัวเลขคำย่อ และวงเล็บ ควรใช้ตัวเลขอารบิกทั้งหมด ใช้คำย่อที่เป็นสากลเท่านั้น (ระบุคำเต็มไว้ในครั้งแรก) การวงเล็บภาษาอังกฤษ ควรใช้ดังนี้ (Student centred learning)
- รูปแบบบทความวิจัย
1) ชื่อเรื่องภาษาไทย (20 pt.) ภาษาอังกฤษ (18 pt.)
2) ชื่อผู้เขียนและผู้ร่วมเขียนบทความ (ภาษาไทย 16 pt.)
*ผู้เขียนรวมทั้งผู้ร่วมเขียนไม่เกิน 4 ท่าน
3) ชื่อผู้เขียนและผู้ร่วมเขียน (ภาษาอังกฤษ 16 pt.)
4) คณะ, สถาบัน (ภาษาไทย 14 pt.) ไม่ต้องหนา
5) Corresponding Author’s Email (อีเมลผู้ติดต่อประสานบทความ 16 pt.)
6) บทคัดย่อ (หัวเรื่อง 18 pt., เนื้อความ 16 pt., 300 คำ, เสนอวัตถุประสงค์ของการวิจัย วิธีการวิจัยและผลการวิจัยโดยสรุปมีความกะทัดรัด และสั้น
7) คำสำคัญ (16 pt.) ควรเขียน 3-5 คำ สอดคล้องกับงานวิจัย
8) Abstract (18 pt., เนื้อความ 16 pt.) (แปลรักษารูปคำและประโยคให้ตรงกับภาษาไทย ไม่แปลสรุปย่อ ไม่แปลจับประเด็น ไม่แปลขยายความ)
9) keywords (16 pt.)
10) บทนำ (18 pt., เนื้อความ 16 pt.)
10.1 ความเป็นมา บริบท สภาพปัญหาของประเด็น (อ้างอิง)
10.2 กรณีที่ศึกษา/กรณีพื้นที่ (อ้างอิง)
10.3 หลักการ แนวคิด ทฤษฎี เชิงวิชาการ แนวทางปฏิบัติ มาตรฐานการแก้ไขปัญหาหรือการส่งเสริมพัฒนา (อ้างอิง)
10.4 แรงจูงใจที่อยากจะศึกษา (ต้องสะท้อนเชื่อมโยงกับประเด็นที่กล่าวมาข้างต้น และระบุเกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์) เหตุผลความคาดหวัง คุณค่า ประโยชน์ ที่หวังได้จากการศึกษา
11) วัตถุประสงค์ของการวิจัย (18 pt., เนื้อความ 16 pt.)
- เพื่อ................................................................................................
- เพื่อ................................................................................................
- เพื่อ................................................................................................
12) การทบทวนวรรณกรรม (Review Literature) (18 pt., เนื้อความ 16 pt.)
เป็นการค้นคว้าเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการศึกษา และ/หรือ โจทย์วิจัยที่กำหนด เพื่อให้นักวิจัยมีความรอบรู้ในเรื่องนั้นมากขึ้น จน สามารถทำการศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าวได้อย่างมีคุณภาพ สถานการณ์ ช่องว่าง ความรู้
13) วิธีดำเนินการวิจัย (18 pt., เนื้อความ 16 pt.)
ระบุแบบแผนการวิจัยการได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างและการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล
14) ผลการวิจัย (18 pt., เนื้อความ 16 pt.)
วัตถุประสงค์ที่ 1 ผลการวิจัยพบว่า.....................................................
วัตถุประสงค์ที่ 2 ผลการวิจัยพบว่า.....................................................
วัตถุประสงค์ที่ 3 ผลการวิจัยพบว่า.....................................................
15) องค์ความรู้ใหม่ (18 pt., เนื้อความ 16 pt.)
องค์ความรู้ใหม่ คือ การสังเคราะห์ชุดองค์ความรู้ออกมาในรูปแบบของแผนภูมิ แผนภาพ ผังมโนทัศน์ หรือโมเดล พร้อมทั้งการอธิบายเชิงกระบวนการ วิธีการขั้นตอน คุณค่าประโยชน์ รูปแบบแนวทางการนำไปใช้ประโยชน์ที่ก่อให้เกิดแนวทางขั้นตอนการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการส่งเสริม/การพัฒนา/การเปลี่ยนแปลงของบุคคล สังคม และองค์กร (อธิบายให้กระชับรัดกุม เข้าใจได้ง่าย)
16) อภิปรายผลการวิจัย (18 pt., เนื้อความ 16 pt.)
เสนอเป็นความเรียง ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยง ความสอดคล้อง ความเหมือน ความแตกต่างกับกรอบแนวคิดทฤษฎี งานวิจัยอื่นๆในอดีตที่ผ่านมาอย่างไร
ผลจากการวิจัยวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า...........................ทั้งนี้เป็นเพราะ..................สอดคล้องกับแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยของ.....................................................................
ผลจากการวิจัยวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า...........................ทั้งนี้เป็นเพราะ..................สอดคล้องกับแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยของ.....................................................................
ผลจากการวิจัยวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 พบว่า...........................ทั้งนี้เป็นเพราะ..................สอดคล้องกับแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยของ.....................................................................
18) ข้อเสนอแนะ (18 pt., เนื้อความ 16 pt.)
จากผลการวิจัย ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
- ข้อเสนอแนะจากการวิจัย (เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ ใคร หน่วยงานใด อย่างไร)
ผลจากการวิจัยวัตถุประสงค์ที่ 1 พบว่า ............................................................ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำไปใช้ดำเนินการ ดังนี้..........................................................................
ผลจากการวิจัยวัตถุประสงค์ที่ 2 พบว่า ..............................................................ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำไปใช้ดำเนินการ ดังนี้..........................................................................
ผลจากการวิจัยวัตถุประสงค์ที่ 3 พบว่า ..............................................................ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำไปใช้ดำเนินการ ดังนี้..........................................................................
- ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป (ต้องเกี่ยวเนื่องต่อยอดจากบทความนี้)
สำหรับประเด็นในการวิจัยครั้งต่อไปควรทำวิจัยในประเด็นเกี่ยวกับ
2.1. ............................................................................................................................
2.2. ............................................................................................................................
2.3. ............................................................................................................................
19) เอกสารอ้างอิง (Reference) (18 pt., เนื้อความ 16 pt.)
แหล่งข้อมูลอ้างอิง ที่ปรากฏในเนื้อหาบทความทั้งหมด จะต้องนำมาเขียนเป็นรายการอ้างอิงใน References ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ ตามรูปแบบอ้างอิงของวารสาร และเรียงลำดับตามตัวอักษร (ห้ามอ้างอิง References ที่ไม่ปรากฏในเนื้อหาบทความ)
บทความพิเศษ บทความวิชาการ บทความปริทรรศน์ ปกิณกะ บทความวิจารณ์หนังสือ ให้เรียงลำดับสาระ ดังนี้
- บทความวิชาการ
บทความวิชาการมีองค์ประกอบหัวข้อ ดังนี้
1) บทคัดย่อ (Abstract)
2) บทนำ (Introduction)
3) เนื้อเรื่อง (Content) แสดงสาระสำคัญที่ต้องการนำเสนอตามลำดับ
4) สรุป (Conclusion)
5) ข้อเสนอแนะ (Suggestion)
6) เอกสารอ้างอิง (Reference)
- ระบบการอ้างอิง
เอกสารที่นำมาอ้างอิงควรได้มาจากแหล่งที่มีการตีพิมพ์ชัดเจน อาจเป็นวารสาร หนังสือหรือข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตก็ได้ ทั้งนี้ผู้เขียนบทความต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของเอกสารอ้างอิงทั้งหมด ก่อนส่งต้นฉบับผู้เขียนบทความควรตรวจสอบถึงความถูกต้องของการอ้างอิงเอกสาร เพื่อป้องกันความล่าช้าในการตีพิมพ์บทความ เนื่องจากบทความที่การอ้างอิงไม่ถูกต้องจะไม่ได้รับการส่งต่อเพื่อพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจนกว่าการอ้างอิงเอกสารจะได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง สำหรับการอ้างอิงเอกสารในบทความนั้น ใช้ระบบ APA ให้ใช้ระบบตัวอักษรโดยใช้วงเล็บ เปิด-ปิด แล้วระบุชื่อ-นามสกุล ของผู้เขียนและเลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิง กำกับท้ายเนื้อความที่ได้อ้างอิง เอกสารที่อ้างอิงในบทความจะต้องปรากฏในเอกสารอ้างอิงท้ายบทความทุกรายการ และเจ้าของบทความต้องรับผิดชอบถึงความถูกต้องของเอกสารที่นำมาอ้างอิงทั้งหมด โดยรูปแบบของการอ้างอิงเอกสาร มีดังนี้
4.1 รูปแบบการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา มี 3 รูปแบบ ดังนี้
- (ผู้แต่ง, ปีพิมพ์, เลขหน้า) ไว้ท้ายข้อความที่อ้างอิง
(สุนีย์ มัลลิกะมาลย์, 2549, น. 200-205)
(McCartney & Phillips, 2006, pp. 498-499)
(Murphy, 1999, p. 85)
กรณีที่ไม่ปรากฏเลขหน้าให้ลงแค่ชื่อผู้แต่งกับปีพิมพ์ไว้ในวงเล็บเดียวกัน
(สุนีย์ มัลลิกะมาลย์, 2549)
- ผู้แต่ง (ปีพิมพ์, เลขหน้า) กรณีมีการระบุชื่อผู้แต่งในเนื้อหาแล้ว ไม่ต้องระบุไว้ในวงเล็บท้ายข้อความที่อ้างอีก
ลดาพร บุญฤทธิ์ (2539, น. 49) ได้ศึกษาถึง................................
Kanokon Boonsarngsuk (2002, p. 14) studied………………………………….
กรณีที่ไม่ปรากฏเลขหน้าให้ลงแค่ชื่อผู้แต่งกับปีพิมพ์โดยลงปีพิมพ์ไว้ในวงเล็บ
ลดาพร บุญฤทธิ์ (2539)
- ปีพิมพ์ ผู้แต่ง (เลขหน้า) กรณีมีการระบุปีพิมพ์และผู้แต่งในเนื้อหาแล้ว (ปีพิมพ์และผู้แต่งสามารถสลับที่กันได้) ให้ระบุเฉพาะเลขหน้าที่อ้างถึงในวงเล็บเท่านั้น
ในปี 2542 เสรี วงษ์มณฑา ได้ให้ความหมายว่า “การประชาสัมพันธ์เป็นการกระทำทั้งหลายทั้งปวง ที่เกิดจากการวางแผนล่วงหน้าในการที่จะสร้างความเข้าใจกับสาธารณชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดี ภาพพจน์ที่ดี อันนาไปสู่สัมพันธภาพที่ดีระหว่างหน่วยงานและสาธารณชนที่เกี่ยวข้อง ก่อให้เกิดการสนับสนุนและความร่วมมือเป็นอย่างดี” (น. 9)
In 1996, According to Kaplan and Norton, “the implementation of the Balanced Scorecard allows the organization to be managed successfully. It support the deployment of business strategies, meeting customer needs, and the visibility of process problem” (p. 9).
4.2 อ้างอิงจากเอกสารภาษาไทย
1) พระไตรปิฎก และอรรถกถา ให้อ้างชื่อคัมภีร์ เล่มที่ ข้อ เครื่องหมายทวิภาค (:) และเลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิง เช่น (พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่ม 15 ข้อ 16: 282-283), (พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล เล่ม 16: 256-320)
2) ผู้แต่งหนึ่งรายให้อ้างชื่อผู้แต่ง เครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยปีที่พิมพ์ (,) เลขหน้า เช่น (พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, 2554, น. 20)
3) ผู้แต่ง 1 -3 รายให้อ้างชื่อของผู้แต่งสองราย เครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยปีที่พิมพ์ (,) เลขหน้า เช่น (พระมหาสุทิตย์ อาภากโร และ เขมณัฏฐ์ อินทรสุวรรณ, 2553, น. 45) หากมีเอกสารที่นำมาอ้างอิงมากกว่า 1 รายการให้ใช้เครื่องหมายอัฒภาค (;) คั่นระหว่างรายการอ้างอิง เช่น (สมภาร พรมทา, 2548; ธนิต อยู่โพธิ์, 2550)
4) ถ้ามีผู้แต่งมากกว่า 3 รายให้อ้างชื่อของผู้แต่งรายแรก เว้นวรรคหนึ่งครั้ง เพิ่มคำว่า และคณะ เช่น (สนิท ศรีดำแดง และคณะ, 2548, น. 15-18)
5) ให้เรียงลำดับการอ้างอิงตามลำดับพยัญชนะตัวแรกของชื่อผู้แต่ง เช่นเดียวกับลำดับการอ้างอิงในส่วนเอกสารอ้างอิง
4.3 อ้างอิงจากเอกสารภาษาอังกฤษ
1) ถ้ามีผู้แต่งหนึ่งรายให้อ้างนามสกุลของผู้แต่ง เครื่องหมายจุลภาค ปีที่พิมพ์ และหน้าที่นำมาอ้างอิง เช่น (Keown, 2003, p. 80)
2) ถ้ามีผู้แต่งสองรายให้อ้างนามสกุลของผู้แต่งสองราย เครื่องหมายจุลภาค ปีที่พิมพ์ และหน้าที่นำมาอ้างอิง เช่น (Hersey & Blanchard, 2000, pp. 35-37) และให้ใช้เครื่องหมายอัฒภาค (;) คั่นกลางระหว่างเอกสารที่นำมาอ้างอิงมากกว่า 1 เอกสาร เช่น (Keown, 2003; Hersey & Blanchard, 2000)
3) ถ้ามีผู้แต่งมากกว่า 2 รายให้อ้างนามสกุลของผู้แต่งรายแรก ตามด้วย et al., ปีที่พิมพ์ และหน้าที่นำมาอ้างอิง (Kaiser et al., 2008, p. 59)
4) ให้เรียงลำดับการอ้างอิงชื่อผู้แต่ง
4.4 หลักเกณฑ์ทั่วไปในการพิมพ์
รายการสำนักพิมพ์/โรงพิมพ์ กรณีเป็นสำนักพิมพ์หรือบริษัทให้คงไว้เฉพาะชื่อ ดังตัวอย่าง
1) บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด ใช้ 21 เซ็นจูรี่
2) สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใช้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3) กรณีที่เป็นโรงพิมพ์ให้ใช้รูปแบบเต็ม เช่น โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
4.5 เอกสารอ้างอิง
(1) พระไตรปิฎก อรรถกถา
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
(2) หนังสือ
ผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ./(ครั้งที่พิมพ์).//สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์.
ตัวอย่าง:
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. (2554). พุทธสันติวิธี: การบูรณาการหลักการและเครื่องมือจัดการความขัดแย้ง. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.
(3) บทความในหนังสือ
ผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์).//ชื่อบทความ./ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ).//ชื่อเรื่อง,/(เลขหน้าที่อ้าง).//สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์.
ตัวอย่าง:
พระสมชาย ปโยโค (ดำเนิน). (2554). การประยุกต์ใช้สัมมาวาจาเพื่อการบริหารงานของผู้นำ. ใน พระมหา
หรรษา ธมฺมหาโส (บรรณาธิการ). พุทธธรรมกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ. (หน้า 10-12). กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.
(4) บทความจากวารสาร
ผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์).//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสาร,/ปีที่/(ฉบับที่),/เลขหน้าแรกที่ตีพิมพ์-เลขหน้าสุดท้ายที่ตีพิมพ์.
ตัวอย่าง :
กัญญาวีร์ มหาสนิท. (2562). การเปรียบเทียบส่วนประสมทางการตลาดเพื่อตัดสินใจเข้าศึกษาในโรงเรียน เอกชน ระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน (สช.). วารสารสห วิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(3), 1-10.
Mogkaew, P. (2019). Construction of Dhammanamai Principles in Treatment of Thai Traditional Medicine of Prongmadaue Community, Muang District, Nakhonpathom Province. Journal of Multidisciplinary in Humanities and Social Sciences, 2(3), 45- 58.
(5) บทความในสารานุกรม
ผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์).//ชื่อบทความ./ใน ชื่อสารานุกรม,/(เล่มที่อ้าง, หน้าเลขหน้าที่อ้าง).//สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์.
ตัวอย่าง :
สนม ครุฑเมือง. (2530). หม้อคอควาย. ใน สารานุกรมของใช้พื้นบ้านไทยในอดีตเขตหัวเมืองฝ่ายเหนือ, (หน้า 274-275). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง.
McNeil, D. W. et al., (1994). Anxiety and fear. In Encyclopedia of human behavior. (Vol.1, pp. 151-163). San Diego: Academic Press.
(6) หนังสือพิมพ์
ผู้แต่ง.//(วันที่ เดือน ปีที่พิมพ์).//ชื่อบทความ./ชื่อหนังสือพิมพ์,/เลขหน้า.
ตัวอย่าง :
ทวี มีเงิน. (26 สิงหาคม 2556). โกงแวต 4 พันล้าน. ข่าวสด, 8.
(7) วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง รายงานผลการวิจัย
ชื่อผู้เขียน./(ปีพิมพ์).//ชื่อวิทยานิพนธ์/(ระดับวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์/การค้นคว้าแบบอิสระ/หรือรายงานผลการวิจัย).//สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.
ตัวอย่าง:
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส (นิธิบุณยากร). (2548). รูปแบบการจัดการความขัดแย้งโดยพุทธสันติวิธีศึกษา วิเคราะห์กรณีลุ่มน้ำแม่ตาช้าง จ.เชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). อยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
(8) สัมภาษณ์ ชื่อผู้ที่ได้รับการสัมภาษณ์./(ปี)./ตำแหน่ง./สัมภาษณ์, วัน เดือน. ตัวอย่าง :
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), ศ.ดร. (2558). อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. สัมภาษณ์, 18 เมษายน.
(9) สื่อออนไลน์
ผู้แต่ง.//(วันที่ เดือน ปีที่เผยแพร่).//ชื่อบทความ.//สืบค้นเมื่อ วันที่ เดือน ปี,/จาก แหล่งที่อยู่ไฟล์ (URL)
ตัวอย่าง:
พระศรีคัมภีรญาณ (สมจินต์ สมฺมาปญโญ). (1 พฤษภาคม 2555). การจัดการศาสนาและวัฒนธรรมในอุษา อาคเนย์เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2556, จาก https://www.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc. php?Article_id=1304 & articlegroup id=274.
Doyle, M. W. (22 June 2004). Liberal Internationalism: Peace, War and Democracy. Retrieved September 2, 2013, from https://www.Nobelprize.org/nobel_prizes/ themes/peace/doyle/index.html
(10) ตัวอย่างเอกสารอ้างอิง
กัญญาวีร์ มหาสนิท. (2562). การเปรียบเทียบส่วนประสมทางการตลาดเพื่อตัดสินใจเข้าศึกษาในโรงเรียน เอกชน ระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน (สช.). วารสารสห วิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(3), 1-10.
ธนิต อยู่โพธิ์. (2550). อานุภาพพระปริตต์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2551). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ คำวัด. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2548). อานุภาพพระปริตร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2525). พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด 91เล่ม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏ ราชวิทยาลัย.
วศิน อินทสระ. (2553). สวดมนต์เพื่อสันติและปัญญา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ธรรมดา.
Mogkaew, P. (2019). Construction of Dhammanamai Principles in Treatment of Thai Traditional Medicine of Prongmadaue Community, Muang District, Nakhonpathom Province. Journal of Multidisciplinary in Humanities and Social Sciences, 2(3), 45- 58.
- ประเภทของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร
วารสาร มจร พุทธโสธรปริทรรศน์ ตีพิมพ์บทความประเภทต่าง ๆ ดังนี้
- บทความพิเศษ บทความทางวิชาการพิเศษ ที่เสนอเนื้อหาความรู้วิชาการอย่างเข้มข้นและผ่านการอ่านและพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้นๆมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักวิชาการในวงการวิชาการ/วิชาชีพ
- บทความทางวิชาการ ที่เสนอเนื้อหาความรู้ วิชาการไม่เข้มข้นนัก เน้นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นประชาชนทั่วไป
- บทความวิจัย (Research article) ได้แก่ รายงานผลงานวิจัยใหม่ที่เป็นประโยชน์ ซึ่งไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ มาก่อน
- บทความปริทรรศน์ (Review article) เป็นบทความที่รวบรวมความรู้จากตำรา หนังสือและวารสารใหม่ หรือจากผลงานและประสบการณ์ของผู้เขียนมาเรียบเรียงขึ้น โดยมีการวิเคราะห์วิจารณ์เปรียบเทียบกัน
- ปกิณณกะ (Miscellany) ได้แก่ บทความทบทวนความรู้ เรื่องแปล ย่อความจากวารสารต่างประเทศ การแสดงความคิดเห็น วิจารณ์ แนะนำเครื่องมือใหม่ ตำราหรือหนังสือใหม่ที่น่าสนใจหรือข่าวการประชุมทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ
- การส่งต้นฉบับ
ผู้เขียนส่งต้นฉบับที่พิมพ์ตามข้อกำหนดของรูปแบบวารสาร มจร พุทธโสธรปริทรรศน์ จำนวน 2 ชุด พร้อมแผ่นดิสก์ ส่งด้วยตนเอง หรือทางไปรษณีย์ลงทะเบียนมาที่กองบรรณาธิการวารสาร มจร พุทธโสธรปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์พุทธโสธร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 158 ถนนศรีโสธร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา 24000
กรณีที่บทความได้รับการพิจารณาให้ตีพิมพ์ บรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้เขียนส่งบทความต้นฉบับที่แก้ไขครั้งสุดท้าย พร้อมซีดีรอม (CD ROM) ที่บรรจุเนื้อหาและข้อมูลที่มีอยู่ในบทความทั้งหมดที่ได้แก้ไขแล้ว ทั้งนี้ผู้เขียนต้องมีสำเนาเก็บไว้ด้วยเพื่อการอ้างอิง
- การตรวจสอบบทความและพิสูจน์อักษร
ผู้เขียนควรตระหนักถึงความสำคัญในการเตรียมบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบของบทความที่วารสารกำหนดตลอดจนตรวจสอบความถูกต้องแน่นอนพร้อมทั้งพิสูจน์อักษรก่อนที่จะส่งบทความนี้ให้กับบรรณาธิการ การเตรียมบทความให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสารจะทำให้การพิจารณาตีพิมพ์มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และทางกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่พิจารณาบทความจนกว่าจะได้แก้ไขให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสาร
- การอ่านประเมินต้นฉบับ
ต้นฉบับจะได้รับการอ่านประเมิน โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) จากภายนอกและภายในมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชานั้น ๆ จำนวน 2 ท่าน ต่อเรื่อง และส่งผลการอ่านประเมินคืน ผู้เขียนให้เพิ่มเติม แก้ไข หรือพิมพ์ต้นฉบับใหม่แล้วแต่กรณี
- ลิขสิทธิ์
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร พุทธโสธรปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์พุทธโสธร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของวิทยาลัยสงฆ์พุทธโสธร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสีย แต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร และเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้เขียนทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์ บทความให้แก่วารสาร พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร พุทธโสธรปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น
- ความรับผิดชอบ
เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสาร มจร พุทธโสธรปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์พุทธโสธร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
Copyright Notice
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร พุทธโสธรปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์พุทธโสธร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของวิทยาลัยสงฆ์พุทธโสธร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสีย แต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร และเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้เขียนทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์ บทความให้แก่วารสาร พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร พุทธโสธรปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น