การพัฒนารูปแบบการบริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (The Development Efficiency Model For The Offices of Educational Service Area Using The Royal Philosophy of Sufficiency Economy)

Authors

  • โกวิท เพลินจิตต์

Abstract

บทนำ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้มีประสิทธิภาพตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อประเมินรูปแบบการบริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้มีประสิทธิภาพตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการมีการดำเนินการ 6 ขั้นตอน และนำไปทดลองใช้ตามกระบวนการ PAOR ของ Kemmis & McTaggart 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การลงมือปฏิบัติงาน การสังเกตผลการปฏิบัติงานและการสะท้อนผลการปฏิบัติงาน จำนวน 2 วงรอบ พื้นที่วิจัยคือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานีเขต 3 มีการจัดเก็บข้อมูลโดย การวิเคราะห์สภาพองค์กร การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก

 

ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบการบริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้มีประสิทธิภาพตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการนำแนวคิดตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาจัดโครงสร้างองค์กรใหม่โดยกำหนดศูนย์จำนวน 4 ศูนย์ คือศูนย์อำนวยการและประสานงาน ศูนย์ส่งเสริมสนับสนุน ศูนย์ปฏิบัติการ และศูนย์นิเทศกำกับติดตามประเมินผล และมีทีมงาน 4 ทีม คือ ทีมอำนวยการและประสานงาน ทีมส่งเสริมสนับสนุน ทีมปฏิบัติการ และทีมนิเทศกำกับติดตามประเมินผล มีการกำหนดโครงการตามภารกิจการบริหารงาน 4 ด้าน 12 โครงการแล้วนำสู่การปฏิบัติตามกระบวนการ PAOR เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 3 ประการคือ ความสำเร็จของงาน ความพึงพอใจของบุคลากร และความยั่งยืน

2. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้มีประสิทธิภาพตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่ารูปแบบที่สร้างขึ้นมีส่วนช่วยให้การบริหารงานทั้ง 4 ด้าน ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผลการประเมินความพึงพอใจ พบว่า การดำเนินงานด้านการบริหารทั่วไปพอใจในระดับมากที่สุด ด้านการบริหารงานงบประมาณ ด้านการบริหารบุคคล และด้านการบริหารงานวิชาการพอใจระดับมาก และนอกจากนี้ยังพบว่า การดำเนินงานตามแผนงานโครงการ และกิจกรรม สร้างความพึงพอใจให้กับบุคลากรทุกกิจกรรม ผลการประเมินความยั่งยืน พบว่า มีแนวโน้มที่จะมีความยั่งยืน ทั้งนี้เนื่องจากมีการพัฒนาบุคลากรด้านเศรษฐกิจพอเพียง มีโครงสร้างที่ชัดเจน มีการสร้างเครือข่าย มีกลไกในการกำกับติดตาม และมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

 

ABSTRACT

This study aimed at developing and evaluating the efficiency of administration model by applying the philosophy of sufficiency economy in an officer of educational service area region               The action research consisting of six steps was implemented at Ubon Ratchathani Educational Service Area Office Region 3. The research framework used in this study was a two - circle Kemmis & Mc Taggart Process (PAOR-i.e. Plan, Act, Observe, Reflect). Research methods for data collection were observation, interviews, focus group interviews, in-depth interviews, and organization analysis. The research findings were as follows:

1 The administration model by applying the philosophy of sufficiency economy m Ubon Ratchathani Educational Service Area Region 3 organized 4 centers in forms of committee : (1) board of committee, (2) support committee, (3) operation committee , and (4) supervision and evaluation committee. 12 projects were conducted by  4 administrative departments using PAOR process to achieve efficiency in goals : Achievement, staff Satisfactory and Sustainability

2. The results indicated that the model promoted the efficiency of administration in four dimensions. General administration were satisfied in the highest level whereas administration, human resource administration, and academic administration were satisfied in a high level Moreover, staffs were most satisfied with general administration, and they were satisfied with a project plan and activities. All of the results indicated the tendency of sustainability because the staff were obtained knowledge guiding by the philosophy of sufficient economy. In addition, there were a clear structure of organization, the development of networking, devices for supervision and evaluation, and continual practice.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย