การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศในโรงเรียนเอกชน (Developing a model of educational management for excellence In the private school)

Authors

  • สุนิสา วิทยานุกรณ์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศในโรงเรียนเอกชนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวทางเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ พ.ศ.2550 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสร้างรูปแบบ ได้แก่ ผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านการบริหารจัดการศึกษาจำนวน 6 คน ซึ่งได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจงโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และการพัฒนารูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารการศึกษาจำนวน 8 คน ด้วยเทคนิคการสนทนากลุ่มกลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของรูปแบบ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนเอกชนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 242 คน จาก 6 ภูมิภาค

ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศในโรงเรียนเอกชน มี 7 ด้าน ประกอบด้วยที่สำคัญในแต่ละด้านดังนี้ 1. ด้านการนำองค์กร ได้แก่ ผู้นำเป็นแบบอย่างด้านการประพฤติที่ดี และผู้นำมีเมตตากรุณา ซื่อสัตย์ สุจริต และขยันหมั่นเพียร 2. ด้านการวางแผนกลยุทธ์ ได้แก่ ชี้แจงนโยบาย วัตถุประสงค์ และแนวทางปฏิบัติตามแผนให้ทุกฝ่ายเข้าใจชัดเจน และจัดโครงสร้างการบริหารที่ชัดเจนเพื่อให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์อันนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ 3. ด้านการมุ่งเน้นผู้เรียน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และตลาด ได้แก่ จัดสภาพแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสุข มีบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดี และกระตุ้นแนะนำให้ครูปฏิบัติหน้าที่ในการสอนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล

4. ด้านการวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ ได้แก่สนับสนุนให้นำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน และศึกษาและวิเคราะห์สภาพความต้องการ และความจำเป็นของโรงเรียน 5. ด้านการมุ่งเน้นผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ มุ่งเน้นการทำงานเป็นทีม และการสร้างความยุติธรรมในการทำงาน 6. ด้านการจัดการกระบวนการ ได้แก่ มีกระบวนการเน้นผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นบุคคลที่ดีงาม และมีระบบดูแลคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาชีพ และ 7. ด้านผลลัพธ์ ได้แก่ ด้านการนำองค์กร ผู้นำปรับปรุงคุณธรรมการจัดการศึกษาของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง และด้านการวางแผนกลยุทธ์ สถานศึกษามีแผนกลยุทธ์ระยะสั้น ระยะยาว และแผนปฏิบัติการประจำปี ด้านการมุ่งเน้นผู้เรียนมีส่วนได้ส่วนเสีย และตลาด ผู้เรียนมีความเป็นเลิศทางด้านวิชาการ ด้านการวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ มีสื่อนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้านมุ่งเน้นผู้ปฏิบัติงาน มีการบริหารติดตามการทำงานของบุคลากรอย่างเป็นระบบ ด้านการจัดการกระบวนการ สถานศึกษามีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการที่ดี ส่วนแนวคิดของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพบว่า ความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศในโรงเรียนเอกชนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพบว่า ความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศในโรงเรียนเอกชน ด้านการนำองค์การมีความเหมาะสมในระดับมาก ( = 4.49) ด้านการวางแผนกลยุทธ์ มีความเหมาะสมในระดับมาก ( = 4.44) ด้านการมุ่งเน้นผู้เรียน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และตลาด มีความเหมาะสมในระดับมาก ( = 4.24) ด้านการวัด วิเคราะห์ และการจัดการความรู้ มีความเหมาะสมในระดับมาก ( = 4.15) ด้านการมุ่งเน้นผู้ปฏิบัติงานมีความเหมาะสมในระดับมาก ( = 4.15) ด้านการมุ่งเน้นผู้ปฏิบัติงานมีความเหมาะสมในระดับมาก ( = 4.48) ด้านการจัดการกระบวนการมีความเหมาะสมในระดับมาก ( = 4.32) ด้านผลลัพธ์ มีความเหมาะสมในระดับมาก ( = 4.31)

 

Abstract

The purpose of sturdy was to develop the  management for excellence in the basic educational private school based on conceptual framework of Educational Criteria for Performance Excellence 2007. The sample used to construct the model included 6 educational management experts, derived by means of purposive sampling. They were in depth interviewed to response 10 the managerial question. The model was developed by 8 educational administration experts by using the focus group technique. The model of educational management for excellence was tested the appropriateness of the model by 242 basic educational private school administrators.

The results revealed that the model of educational management for excellence in the basic educational private school had 7 categories as follows : 1) leadership focused on role model of leader comprised of kindness, loyalty, and diligence. 2) strategic planning focused on clear policy, objective and action and organization structure should be supported strategic planning in order to reach the vision 3) student, stakeholder, and market focused on good environment and encouraged the teachers recognized individual differences characteristics of students. 4) measurement, analysis, and knowledge management focused on technology application for learning and teaching and analyses the demand and necessity condition for school. 5) workforce focused on teamwork and fairness in workplace. 6) process management focused on developing moral and students, ethics and monitoring the moral and. ethical process including code of ethics. 7) Results focused on continuous improvement of school, strategic planning in short-term, long-term, yearly action plan, academic excellence of students, continuous innovation, systematic monitoring, and effective management school. The model based on the opinions of the basic educational private school administrators showed that : the appropriate level of model of educational management for excellence leadership ( = 4.49), strategic planning ( = 4.44), student stakeholder and market focus ( = 4.24), measurement analysis and knowledge management ( = 4.15), workforce focus ( = 4.48), process management ( = 4.32) and result ( = 4.31) were at the high level respectively.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย