การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ THE DEVELOPMENT OF INSTRUCTIONAL LEADERSHIP MODEL FOR SECONDARY SCHOOLS ADMINISTRATORS IN THE NORTHEAST

Main Article Content

กรรณิกา นาคคำ
สมคิด สร้อยน้ำ
พิชญ์ ฉายายนต์
แน่งน้อย ย่านวารี

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ                             โดยการสังเคราะห์เอกสาร ตำรา แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวกับลักษณะพฤติกรรมและบทบาทภาวะผู้นำทางวิชาการ ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา              ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้เทคนิคเดลฟายกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 19 คน  ระยะที่ 3 การตรวจสอบรูปแบบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยวิธีวิจัย                  เชิงสำรวจกับผู้บริหาร โรงเรียนมัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 300 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น และระยะที่ 4 การประเมินรูปแบบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา                  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง                  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยสรุปผลได้ดังนี้       

1.  รูปแบบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ                                พบว่า มี 8  องค์ประกอบ  คือ  1) การกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมายและพันธกิจการเรียนรู้  2) การบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ 3) การส่งเสริมพัฒนาวิชาชีพครู 4) การส่งเสริมพัฒนานักเรียน                          5) การบริหารจัดการสถานศึกษา 6) การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ 7) การบริหารตนเอง ทีมงานและชุมชน และ 8) การจัดโปรแกรมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ และประกอบด้วย 57 ตัวบ่งชี้

2.  การประเมินรูปแบบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา                               ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า รูปแบบมีความเป็นประโยชน์  มีความเป็นไปได้ มีความเหมาะสม                        และมีความสอดคล้อง ทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด

The purpose of  research was  to develop  instructional  leadership model  for secondary  school administrators. The investigation has been split into 4 phases:  Phase 1: the study of existing material related to the topic was performed, therefore textbooks, articles and other researcher’s papers were examined, Phase 2: an instructional leadership model was developed by using the Delphi Technique and involving 19 professional, Phase 3: consisted in testing the model for developed, research samples were 300 secondary school administrators from the Northeastern province of Thailand. Sample selection was made using the stratified random sampling and interviewed by a questionnaire, and Phase 4: comprised the assessment of the Instructional Leadership Model by the means of the Expert Group Meeting technique consequently 10 academic leaders were interviewed. The collected results were described by a statistical analysis with the computation of the mean, the percentage and the standard deviation.  

The findings of the research were summarized as follow:

1. The Instructional Leadership Model was presented in 8 separated items:  1) describes            the vision, goals and the activities requested to a leader in order to achieve the objective, 2) deals with the curriculum management and the learning activities, 3) suggests ideas to help teachers in developing their potentials, 4) suggests to students how to perform better, 5) illustrate examples of effective management, 6) advises over methods to make the educational environment suitable for the learning experience, 7) counsel over the individual management as a starting point for the establishment                   of a cooperative learning, and 8) treats the issue of suitable programs for students with physical                                  or psychological impairments
            2.  The assessment of the Instructional Leadership Model hereby developed was measured statistically suitable, useful and possible to a high quality grade.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

กรรณิกา นาคคำ, ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

ดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

สมคิด สร้อยน้ำ, รองศาสตราจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

รองศาสตราจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

พิชญ์ ฉายายนต์, รองศาสตราจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

รองศาสตราจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

แน่งน้อย ย่านวารี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี