ตัวแปรที่ส่งผลต่อระดับความรับผิดชอบของผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพ VARIABLES AFFECTING A LEVEL OF RESPONSIBILITIES OF THE DIRECTORS OF INDUSTRIAL AND COMMUNITY EDUCATION COLLEGE

Main Article Content

ธีรกรณ์ พรเสนา
สำเริง บุญเรืองรัตน์
จำเริญรัตน์ จิตต์จิรจรรย์
สงวนพงศ์ ชวนชม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความรับผิดชอบของผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพ  ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2) ศึกษาตัวแปรที่ส่งผลต่อระดับความรับผิดชอบของผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  ศึกษากับกลุ่มตัวอย่างผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ปีการศึกษา 2557 จำนวน 60 คน วิเคราะห์ข้อมูล คำนวณค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ของความแปรผัน การวิเคราะห์อิทธิพลหรือการวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis)

              ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพมีความรับผิดชอบในระดับสูงลักษณะดังกล่าวนี้ของผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพแต่ละคนแตกต่างกันน้อย 2) ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อระดับความรับผิดชอบของผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพ ได้แก่ ระดับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพ (= 0.487) ระดับการปฏิบัติตนตามหลักศีลธรรมของศาสนาของผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพ (= 0.278) และระดับความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพ (= 0.288) สามตัวแปรนี้อธิบายความแปรปรวนของระดับความรับผิดชอบของผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพ ได้ร้อยละ 86.00 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ = 0.01   

The purposes of this research were to 1) study the level of responsibilities of  the directors of Industrial and Community Education College  2) study the variables affecting the level of responsibilities of the directors of Industrial and Community Education College under the Office of Vocational Education Commission. The Samples consisted  of 60 directors of Industrial andCommunityEducationCollegeunder the Office of Vocational Education Commission, Ministry of Education, in the academic year 2014. The statistical methods used to analyze the data were the mean score, standard deviation, coefficient of variation and path analysis.                      

            The finding revealed that 1) The responsibilities of the directors were in the high level. These characters were less different among those of the directors. 2) The variables affecting level of responsibilities of the director of Industrial and Community Education College were the director’s achievement motivation (= 0.487), the director’s being moral (= 0.278), the director’s academic leadership (= 0.288). These three variables were eighty-six percent explaining the variation of the director’s responsibilities  at the significant level of  0.01.  

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

ธีรกรณ์ พรเสนา, ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

ดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาการบริหารการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

สำเริง บุญเรืองรัตน์, ศาสตราจารย์ ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

ศาสตราจารย์ ประจำคณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

จำเริญรัตน์ จิตต์จิรจรรย์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำคณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

สงวนพงศ์ ชวนชม, อาจารย์ ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

อาจารย์ ประจำคณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล