การพัฒนากลยุทธ์ความเป็นหุ้นส่วนของผู้ปกครองในการเสริมสร้างวินัยในตนเองของนักเรียนประถมศึกษา เขตภาคใต้ฝั่งอันดามัน THE DEVELOPMENT OF PARENT PARTNERSHIP STRATEGIES ON ENHANCING SELF-DISCIPLINE OF PRIMARY STUDENT IN THE SOUTHERN ANDAMAN COAST

Main Article Content

ลัดดาวัลย์ ปริวัตรพันธ์
สริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ ราชบัณฑิต
ไพศาล หวังพานิช
สงวนพงศ์ ชวนชม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากลยุทธ์ความเป็นหุ้นส่วนของผู้ปกครองในการเสริมสร้างวินัย  ในตนเองของนักเรียนประถมศึกษา เขตภาคใต้ฝั่งอันดามัน และ ประเมินความเป็นไปได้ และ ความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์ความเป็นหุ้นส่วนของผู้ปกครองในการเสริมสร้าง วินัยในตนเองของนักเรียนประถมศึกษา เขตภาคใต้ฝั่งอันดามัน โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ  ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาและประมวลข้อมูลสภาพความเป็นหุ้นส่วนของผู้ปกครองในการเสริมสร้างวินัยในตนเอง ของนักเรียนประถมศึกษา เขตภาคใต้ฝั่งอันดามัน โดยการศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์ความเป็นหุ้นส่วนของผู้ปกครองในการเสริมสร้างวินัยในตนเองของนักเรียน  ศึกษาสถานศึกษาที่มีแนวปฏิบัติที่ดี จำนวน 5 โรงเรียน และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10  คน   ขั้นตอนที่ 2  การกำหนดกลยุทธ์ความเป็นหุ้นส่วนของผู้ปกครองในการเสริมสร้างวินัยในตนเองของนักเรียนประถมศึกษา โดยนำข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1 มาจัดทำร่างกลยุทธ์ และการจัดประชุมกลุ่มสนทนา (Focus Group) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 คนเพื่อพิจารณาร่างกลยุทธ์และประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ ฯ  ขั้นตอนที่ 3 ประเมินความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์ความเป็นหุ้นส่วนของผู้ปกครอง ในการเสริมสร้างวินัยในตนเองของนักเรียนประถมศึกษา เขตภาคใต้ฝั่งอันดามัน  โดยการนำแบบสอบถามความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ ไปสอบถามจากกลุ่มผู้ปฏิบัติที่เป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 132 คน และครูผู้รับผิดชอบงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำนวน 135 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 267 คน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วย คอมพิวตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อหาค่าเฉลี่ยและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานของความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ต่อไป

ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

1. กลยุทธ์ความเป็นหุ้นส่วนของผู้ปกครองในการเสริมสร้างวินัยในตนเองของนักเรียนประถมศึกษา    เขตภาคใต้ฝั่งอันดามัน ประกอบด้วย  6 กลยุทธ์หลัก  22 กลยุทธ์ขับเคลื่อน 22 เป้าหมาย 78 มาตรการ  และ   62 ตัวชี้วัด ดังนี้  1) กลยุทธ์หลักที่ 1 พัฒนาและส่งเสริมการทำหน้าที่ผู้ปกครอง  ประกอบด้วย         

3 กลยุทธ์ขับเคลื่อน 3 เป้าหมาย 11 มาตรการ 10 ตัวชี้วัด  2) กลยุทธ์หลักที่ 2 การพัฒนาการติดต่อสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ขับเคลื่อน  3 เป้าหมาย 10 มาตรการ 8 ตัวชี้วัด  3) กลยุทธ์หลักที่ 3พัฒนาและส่งเสริมบทบาทของผู้ปกครองอาสาสมัคร  ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ขับเคลื่อน 4 เป้าหมาย 15 มาตรการ 11 ตัวชี้วัด 4) กลยุทธ์หลักที่ 4 ส่งเสริมและสนับสนุนการเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้และสภาพแวดล้อมที่บ้าน  ประกอบด้วยกลยุทธ์ขับเคลื่อน 5 กลยุทธ์ขับเคลื่อน 5 เป้าหมาย 18 มาตรการ 13 ตัวชี้วัด 5) กลยุทธ์หลักที่ 5 ส่งเสริมและสนับสนุนผู้ปกครองมีส่วนร่วมตัดสินใจ ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ขับเคลื่อน  4 เป้าหมาย 12 มาตรการ 9 ตัวชี้วัด และ 6) กลยุทธ์หลักที่ 6 ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมกับชุมชน ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ขับเคลื่อน 3 เป้าหมาย 12 มาตรการ 11 ตัวชี้วัด 

2. การประเมินความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์ความเป็นหุ้นส่วนของผู้ปกครองในการเสริมสร้างวินัยในตนเองของนักเรียนประถมศึกษา เขตภาคใต้ฝั่งอันดามัน พบว่ามีความเป็นไปได้ และมีความเป็นประโยชน์ ในการนำไปปฏิบัติ อยู่ในระดับมากทุกรายการ         

The  purpose  of  this  research  were  to  develop of  parent  partnership  strategies on enhancing self- discipline of  the primary students in the Southern Andaman Coast and to evaluate    the propriety, feasibility, and utility of those strategies. The  research procedures were divided into 3 steps. Step 1 : Studying and information processing conditions about strategic  setting, strategic development, and studying all data, concepts, theories, and researches which related with parents partnership on enhancing  self- discipline of  students by reviewing the related literatures. To study about the environment and ways to develop parent  partnership on enhancing self- discipline from the good practice of 5 schools, and interviewing the 10 experts.  Step 2 : Setting of  parents  partnership strategies in strengthening the self- discipline of  the primary students in the Southern Andaman Coast and set up a group discussion of 15 experts that considered  the draft strategy and evaluated  propriety and feasibility of  parents  partnership strategies in strengthening the self- discipline of  the primary students in the Southern Andaman  by 10 experts. Step 3 The evaluation  feasibility and utility of those strategies by  the 132  administrators and 135 teachers from the primary schools in the  Southern Andaman Coast. The data was analyzed by the computer program of the feasibility and utility of those strategies .

The results were as follows:

1. The development of parent partnership strategies  on enhancing self-discipline of primary students in the Southern Andaman Coast consists of 6 core strategies 22 sub-Strategies 22 targets 78 measures and 62 Indicators. The first core strategy to develop and promote the parenting consists of 3 sub-strategies  3 targets  11 measures and  10 indicators. The second core strategy to improve the effective communication between school and parents consists of 3 sub-strategies 3 targets 10 measures and 8 indicators. The third core strategy to develop and promote the role of parent volunteers consists of    4 sub-strategies 4 targets 15 measures and 11 Indicators. The fourth core strategy to promote and support to enhance the learning experience and the home environment consists of 5 sub-strategies 5 targets 18 measures and 13 Indicators. The fifth core strategy to encourage and support parent participation decision making consists of four 4 sub-strategies 4 targets  12  measures and 9 indicators. The sixth core strategy to promote and support the collaborating with the community consists of  3  sub-strategies, 3 targets 12 measures and   11 indicators.

2. The parent  partnership  strategies on  enhancing self-discipline of  the primary students in the  Southern Andaman Coast were evaluated the practical feasibility and utility . The findings revealed at  the high level of these strategies.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

ลัดดาวัลย์ ปริวัตรพันธ์, ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงศ์ชวลิตกุล

ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงศ์ชวลิตกุล

สริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ ราชบัณฑิต, ศาสตราจารย์ ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงศ์ชวลิตกุล

ศาสตราจารย์ ประจำคณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยวงศ์ชวลิตกุล

ไพศาล หวังพานิช, รองศาสตราจารย์ ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงศ์ชวลิตกุล

รองศาสตราจารย์  ประจำคณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยวงศ์ชวลิตกุล

สงวนพงศ์ ชวนชม, อาจารย์ประจำ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงศ์ชวลิตกุล

อาจารย์ประจำ คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยวงศ์ชวลิตกุล