การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำการให้บริการสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง A MODEL DEVELOPMENT OF SERVANT LEADERSHIP FOR EDUCATIONAL INSTITUTION ADMINISTRATORS OF THE LOWER NORTHEASTERN REGION

Main Article Content

พิชญ์สิชา พงษ์พันแพงพงา
วิชัย วงษ์ใหญ่

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างรูปแบบภาวะผู้นำการให้บริการสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และ(2) ตรวจสอบประสิทธิภาพรูปแบบภาวะผู้นำการให้บริการสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการวิจัยดังนี้ การสังเคราะห์เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้แนวคิดนำมาจัดทำเป็นกรอบการวิจัย นำมาสร้างแบบสัมภาษณ์แล้วนำไปสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อนำมาสร้างหรือร่างเป็นรูปแบบภาวะผู้นำการให้บริการสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา และนำร่างที่สร้างขึ้นนั้นมาจัดกลุ่มสนทนาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมีการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ หลังจากนั้นจึงสร้างแบบสอบถามประกอบกับรูปแบบ นำแบบสอบถามไปหาคุณภาพ และทดลองใช้หลังจากนั้นนำไปสอบถามความเป็นไปได้ในการปฏิบัติกับกลุ่มตัวอย่าง 351 คน แล้วจึงนำผลของความเป็นไปได้ในการปฏิบัติมาตรวจสอบยืนยันโดยผู้ทรงคุณวุฒิอีกครั้งจึงได้รูปแบบภาวะการให้บริการสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 

ผลการวิจัยพบว่า

รูปแบบภาวะผู้นำการให้บริการสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบด้วยสาระสำคัญ 7 ด้าน คือ ด้านการมีบุคลิกภาพการให้บริการ ด้านการให้บริการผู้อื่นเป็นสำคัญ ด้านทักษะในการสื่อสาร ด้านการเป็นผู้ประสานประโยชน์อย่างเอื้ออาทร ด้านการเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ ด้านการคิดอย่างเป็นระบบ และด้านการเป็นผู้นำที่มีอำนาจบารมี จริยธรรม

 รูปแบบภาวะผู้นำการให้บริการสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดคือ ด้านการมีบุคลิกภาพการให้บริการ ส่วนด้านอื่นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับ ได้แก่ ด้านการให้บริการผู้อื่นเป็นสำคัญ ด้านทักษะในการสื่อสาร ด้านการเป็นผู้

ประสานประโยชน์อย่างเอื้ออาทร ด้านการวิสัยทัศน์ ด้านการมีความคิดอย่างเป็นระบบ และด้านการเป็นผู้นำที่มีอำนาจบารมี จริยธรรม

รูปแบบภาวะผู้นำการให้บริการสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา มีระดับความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ โดยภาพรวมมีระดับความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับดังนี้ ด้านการเป็นผู้นำที่มีอำนาจบารมี จริยธรรม ด้านบุคลิกภาพการให้บริการ ด้านการให้บริการผู้อื่นเป็นสำคัญ ด้านการเป็นผู้ประสานประโยชน์อย่างเอื้ออาทร ด้านการมีวิสัยทัศน์ ด้านการคิดอย่างเป็นระบบ และด้านทักษะในการสื่อสาร

 The research aimed (1) to study a servant leadership model for educational institution administrators in the educational service area of the lower northeaster region and (2) to examine the efficiency of a servant leadership model for educational institution administrators in the educational service area of the lower northeastern region. Research procedures consisted of the synthesis of related documents as well as researches which led to the formation of research framework. Then, the researcher created an interview questionnaire to collect data from experts in order to draft a servant leadership model for educational institution administrators. The model was then improved based on the suggestions offered by the experts during focus group discussions on the appropriateness of the draft. A questionnaire was created in accompany with the model and after trying out, it was used with 351 samples to inquire about the model practicality. The results were affirmed by the experts before it became the servant leadership model for educational institution administrators in the educational service area of the lower northeastern region. Research findings :

 

            The servant leadership model for educational institution administrators in the educational service area of the lower northeastern region consisted of seven essential characteristics: having service personality, giving priority to serving others, being skilled communicators, being compassionate collaborators, using foresight, being systems thinkers and exercising moral authority.

             The appropriateness of the servant leadership model for educational institution administrators was generally in high level. The characteristic with the appropriateness in the highest level was having service personality. The appropriateness of the other characteristics was all in a high level ranging from the most to the least: giving priority to serving others, being skilled communicators, being compassionate collaborators, using foresight, being systems thinkers and exercising moral authority.

        The practicality of the servant leadership model for educational institution administrators was generally in a high level. When considered in each particular characteristic, each individual one was in a high level as well ranging from the most to the least: exercising moral authority, having service personality, giving priority to serving others, being compassionate collaborators, using foresight, being systems thinkers and being skilled communicators.

            The servant leadership model for educational institution administrators had been 100 percent affirmed by the experts during the focus group discussions and became the servant leadership model for educational institution administrators in the educational service area of the lower northeastern region.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

พิชญ์สิชา พงษ์พันแพงพงา, ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

วิชัย วงษ์ใหญ่, ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล