ข้อเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต เป็นมหาวิทยาลัยคุณภาพ ชั้นนำประจำภาคกลาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พ.ศ. 2558-2567 PROPOSED STRATEGY FOR DEVELOPINT SAVANNAKHET UNIVERSITY TOWARDS A LEADING QUALITY UNIVERSITY OF THE CENTRAL REGION OF LA

Main Article Content

สุลิยง ไชโกสี
ไชยา ภาวะบุตร
วัฒนา สุวรรณไกรย์
บุญปง แก้วโรดม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความคาดหวังในการ

พัฒนามหาวิทยาลัยสะหวันนะเขตเป็นมหาวิทยาลัยคุณภาพชั้นนำประจำภาคกลาง 2) จัดทำ และพัฒนาข้อเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสะหวันนะเขตเป็นมหาวิทยาลัยคุณภาพชั้นนำประจำภาคกลาง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงนโยบายประกอบด้วย 3 ระยะ คือ ระยะแรกเป็นการศึกษาบริบทเพื่อจัดทำร่างข้อเสนอยุทธศาสตร์ จากการ ศึกษาวิเคราะห์เอกสาร การสนทนากลุ่มเป้าหมาย การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัย และการศึกษาพหุกรณีการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยทั้งภายในและต่างประเทศ ระยะที่สองเป็นการยกร่างและตรวจสอบข้อเสนอยุทธศาสตร์ถึงความเหมาะสม ความเป็นประโยชน์ ความสอดคล้อง ความเป็นไปได้จากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ และจัดสัมมนาประชาพิจารณ์ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย จากผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 108 คน และระยะที่สามเป็นการพัฒนาร่างข้อเสนอยุทธศาสตร์โดยนำเอาคำเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาปรับปรุงและพัฒนายุทธศาสตร์ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นและกำหนดมาตรการปฏิบัติสู่ความสำเร็จโดยผู้วิจัยได้นำเอาแนวทางปฏิบัติในแต่ละด้านมาสังเคราะห์หาความสอคล้องกับแผนปฏิบัติประจำปี แผน 5 ปี แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ และแนวทางปฏิบัติการปฏิรูประบบการศึกษาแห่งชาติ

ผลการวิจัยพบว่า

ประเด็นยุทธศาสตร์ และแนวทางปฏิบัติยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสะหวันนะเขตประกอบมี  7 ประเด็นยุทธศาสตร์ แต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ประกอบมีแนวทางปฏิบัติคือ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1) ด้านการวิจัยและสร้างองค์ความรู้ที่ตอบสนองความต้องการของสังคม ประกอบมี 10 แนวทางปฏิบัติ สรุปได้สาระสำคัญคือการส่งเสริมให้บุคลากร

ทำการวิจัยเพื่อนำเอาผลการวิจัยมาปรับปรุงการเรียน การสอน สนับสนุนให้ทำการวิจัยร่วมกับชุมชนในภาคการผลิตและการบริการตามโครงการสามสร้างของรัฐบาล   ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2) ด้านการบริหารจัดการเชิงคุณภาพ ประกอบมี 13 แนวทางปฏิบัติเห็นว่ามีเนื้อหาที่สำคัญคือ สนับสนุนให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพโดยเน้นการบริหารตามหลักการรวมศูนย์ประชาธิปไตย พัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีประสิทธิภาพเพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานของมหาวิทยาลัย ประเด็นยุทธศาสตร์ที่  3) ด้านการจัดการวิชาการเชิงคุณภาพประกอบมี 11 แนวทางปฏิบัติโดยมีประเด็นสำคัญคือ พัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่องให้ทันสมัยฝึกปฏิบัติและฝึกประสบการณ์จริงสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ปรับปรุงพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกการเรียนการสอนให้ได้มาตรฐาน ส่งเสริมระบบการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งภายในและภายนอก ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4) ด้านผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ประกอบมี 8  แนวทางปฏิบัติรวมมีสาระสำคัญเช่น เพิ่มสัดส่วนอาจารย์ที่มีวุฒิการศึกษาระดับต่างๆให้ได้ตามเกณฑ์ มาตรฐาน 1:6:3 ของกระทรวงศึกษาธิการและกีฬา สนับสนุนการถ่ายโอนหน่วยกิตและส่งเสริมการแลกเปลี่ยนนักศึกษากับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5) ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและนำสู่สากล ประกอบมี 9  แนวทางปฏิบัติรวมมีประเด็นสำคัญเช่น เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของชาติและบูรณะการเข้ากับการขับเคลื่อนภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยสู่สากล  ทำการวิจัยภายในเพื่อเสริมสร้างความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดคุณค่าทางด้านเศรษฐกิจแก่ชุมชนหมู่บ้าน  ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6) ด้านการสร้างความ เป็นสากล ประกอบมี 8 แนวทางปฏิบัติพบว่ามีสาระ สำคัญคือ พัฒนาหลักสูตรให้ได้มาตรฐานระดับชาติสามารถเชื่อมโยงสากล พัฒนาความรู้ความสามรถและทักษะด้านภาษาต่างประเทศของบุคลากรเพื่อรองรับการร่วมมือกับกลุ่มประชาคมอาเชียน และประเด็นยุทธศาสตร์ที่  7) ด้านการบริการวิชาการที่มีคุณภาพและตอบสนองความต้องการของชุมชน ประกอบมี 7 แนวทางปฏิบัติสรุปได้สาระสำคัญเช่น ส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยเป็นศูนย์กลางข้อมูลข่าวสารทางวิชาการที่มีคุณภาพ สร้างเครือข่ายการร่วมมือ กับหน่วยงานแขนงการต่างๆเพื่อปฏิบัติโครงการสามสร้างของรัฐบาลให้มีประสิทธิภาพ

The purposes of this study were to examine the current conditions, problems and expectations, and to establish strategy recommendations for developing Savannakhet University towards becoming a leading Quality University of the central region of Lao People’s Democratic Republic 2015-2024.  Mixed-methodology were used in this Policy Research, which consisted of three stages: the first stage involved context analysis through document inquiry, focus group discussion with a target group, expert in-depth interviews, university executive administrator interviews, and case studies of the implementations of administrative strategic strategies from both domestic and overseas universities. The second stage involved a tentative proposed strategy and experts’ verification on its appropriateness, feasibility, and stakeholders’ public hearings.  The third stage involved the strategy development revision and task assignment to achieve performance management success. The proposed guidelines in each aspect were then analyzed by the research, and established to meet the requirements of an annual performance planning, 5-year plans, a national education development plan, and guidelines of national education system reform.

The proposed strategies and performance strategic guidelines of Savannakhet University involved seven strategies: 1) The Research and the Creation of a Body of Knowledge to serve the needs of society comprising 10 guidelines, which could be summarized as a statement about personnel promotion to conduct  research and put the results into practice, and support to establish the research community in terms of products and services adhered to the government three pillars project, 2) The Quality Administrative Management involved 13 guidelines emphasizing personnel promotion to participate in administrative management effectively based on the principles of democratic centralism, and effective personnel competency development to upgrade the quality and standard of university, 3) The Quality Academic Management involved 11 guidelines focusing on continuous curriculum development, opportunities to participate in real situations to meet current labor market requirements, teaching and learning resources and standardized facilities capacity improvement, promotion of internal and external quality education system, 4) The Quality Graduates involved eight guidelines focusing on increasing the ratios of teaching staff with degree-level qualifications in compliance with the standard criteria of Ministry of Education and Sport with 1:6:3 ratios, promoting credit transfer and student exchange programs with overseas universities, 5) Arts and Culture Preservation and Maintenance - leading to International level involving nine guidelines focusing on national arts and culture distribution and renovation in compliance with major missions of the university towards world class universities, and conducting internal research to enhance  local knowledge and wisdom to value the community’s economy, 6) World Class Establishment involved eight guidelines focusing on curriculum development towards national standards and links to world class levels, personnel foreign language knowledge, competency, and skills for entering the ASEAN Community, and 7) Quality Academic Service to Serve the Community’s Needs involved seven guidelines focusing on the promotion of the university academic-quality database center, creation of collaborative networks with other organizations in order to perform to meet the requirements of the Government Three Pillars Project effectively

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

สุลิยง ไชโกสี, ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ไชยา ภาวะบุตร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำ สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำ สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

วัฒนา สุวรรณไกรย์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำ สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำ สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

บุญปง แก้วโรดม, อธิการบดี มหาวิทยาลัยสะหวันเขต สปป. ลาว

อธิการบดี มหาวิทยาลัยสะหวันเขต  สปป. ลาว