รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะในการพัฒนาตนเองของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคใต้ตอนบน COMPETENCY DEVELOPMENT MODEL TOWARDS SELF-DEVELOPMENT FOR THE TEACHERS UNDER THE OFFICE OF SECONDARY EDUCATION AREAS IN UPPERSOUTHERN PART

Main Article Content

ณัฐติกา หอมประกอบ
ธีระ รุญเจริญ
จำเริญรัตน์ จิตต์จิรจรรย์
ศรุดา ชัยสุวรรณ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะในการพัฒนาตนเองของครู  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 เป็นการศึกษากรอบเนื้อหาสาระของสมรรถนะในการพัฒนาตนเองของครู  ขั้นตอนที่ 2 ร่างรูปแบบและตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบ โดยผู้เชี่ยวชาญ   ขั้นตอนที่ 3 ประเมินความเหมาะสม  ความเป็นไปได้และประโยชน์ของรูปแบบ  ขั้นตอนที่ 4 ตรวจสอบยืนยันรูปแบบในสถานการณ์จริง ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อยืนยันรูปแบบ  นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ และสรุป เสนอรูปแบบที่สมบูรณ์  ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้  1.รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะในการพัฒนาตนเองของครู  ที่มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ  คือ (1) อาศัยหลักการที่มุ่งประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นหลัก  การใช้กระบวนการและกิจกรรมในการพัฒนาที่หลากหลาย  การเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์  การพึ่งตนเองในการพัฒนา  และ หลักความต่อเนื่องและยั่งยืน (2) มุ่งพัฒนาสมรรถนะในการพัฒนาตนเอง ด้านความรู้ความสามารถ ทักษะ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และพัฒนาตนเองในด้านการจัดการเรียนรู้นำไปสู่การพัฒนาวิทยฐานะและพัฒนาวิชาชีพ (3) ใช้กลไกในการพัฒนาสมรรถนะในการพัฒนาตนเองของครู  โดยจัดตั้งหน่วยงานเพื่อรับผิดชอบในการพัฒนา   กำหนดกระบวนการในการพัฒนาอย่างเป็นระบบต่อเนื่องและยั่งยืน  มีคณะกรรมการในการพัฒนาทำหน้าที่กำหนดนโยบาย วางแผน ดำเนินการพัฒนาและประเมินผล   กำหนดหน่วยงานย่อย  จัดตั้งศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเองโดยเน้นสื่อสังคมออนไลน์ และมีหน่วยงานผู้กำกับดูแล (4) จัดให้หน่วยฝึกอบรม และการพัฒนาตนเองของครูโดยเฉพาะ  โดยเน้นทั้งวิธีการศึกษาจากผู้อื่นและด้วยตนเอง และใช้วิธีการที่หลากหลาย (5) ดำเนินการตามแนวทางและหลักการประเมินที่เหมาะสม  (6) ทั้งนี้เงื่อนไขในการนำรูปแบบไปใช้  โดยความร่วมมือตั้งใจในการพัฒนาของทุกฝ่าย  ทั้งความตระหนักของครู  การเสริมแรงและการสนับสนุนทรัพยากรในการพัฒนาเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จต่อไป

The  purpose  of  this  research  were  to  study,  to  construct  the  model, to  assess  the  suitability, possibility  and  its  advantage  and  to  confirm  the  model  as  such. The  study  included  4  steps :  Step  1  to  determine  practice,  content of  competency  towards self-development  of  the  teacher  ; Step 2 to   draft  the  model  and  carry  on  index  of  objective  congruence  (IOC)  by  the  specialists ; Step 3  to  carry  on  model  evaluation  and  then  carried  on  model  evaluation which were  appropriate, possible  and  beneficial  ; Step 4  to run confirmatory  study  in  real  situations  from directors  of  school and heads  of  learning subjects  for  confirming the  model   and  the data   were  then  analyzed, concluded  and  were proposed.

The  Research  findings  were  as  follows :

            The  effective  model  for  promoting    competency  development    towards  self-development  for  the teacher  as  follows.

            1.Integrating  to  primarily  benefit of  stakeholders, used  many  process  and  activity  for  development,  creatively  change,  self-reliance  in  development  and  continuation  and  sustainability.

            2.  Developing  knowledge, ability, skills  and desirable,  and  self-development  learning  management  towards  accreditation  and  professional.

            3. Setting  operation  mechanism  by  setting  the  agency  of  responsible  for  development,   setting  the  process  development that  system,  setting  amounts  of  subtasks,  center  of  learning  network  for  the   development  focusing  on  social  media  and  setting  the  regulatory  agencies.

            4. Providing  training  agency  and  specific  self-development  of  teacher  and  used  many  activities,  studied  from  the  other  and by themselves  with  the  various  methods. 

            5.  Assessing  the  outcome  by  the  proper  guidelines  and  principles. 

            6.  Involving    conditions  included  participation    of  all  parties,    awareness  of  teachers  to  develop  themselves,  reinforcement  of  those  involved  and   supporting  development  resources  for  to leading  for  future  success.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

ณัฐติกา หอมประกอบ, ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

ดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

ธีระ รุญเจริญ, ศาสตราจารย์ ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

ศาสตราจารย์  ประจำคณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

จำเริญรัตน์ จิตต์จิรจรรย์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ประจำคณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

ศรุดา ชัยสุวรรณ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ประจำคณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล