การพัฒนากลยุทธ์การบริหารเพื่อมุ่งประสิทธิผลของโรงเรียนขยายโอกาส ทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1-5 THE DEVELOPMENT OF ADMINISTRATIVE EFFECTIVENESS STRATEGIES FOR OPPORTUNITY EXPANSION SCHOOL UNDER THE JURISTION of UB

Main Article Content

สิริพร แสนทวีสุข
พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1)  ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของ

การบริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ตามแนวคิดโรงเรียนที่มีประสิทธิผล  2)  วิเคราะห์จุดแข็ง  จุดอ่อน  โอกาส  และภาวะคุกคาม  ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา  และ  3)  พัฒนากลยุทธ์การบริหารเพื่อมุ่งประสิทธิผลของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา การวิจัยแบ่งออกเป็น  3  ระยะ ประกอบด้วย  ระยะที่  1  การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา  จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1-5  จำนวน  160  คน  ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน  ระยะที่  2  การวิเคราะห์จุดแข็ง  จุดอ่อน  โอกาส  และภาวะคุกคาม  โดยใช้สูตร  Modified Priority Needs Index :  PNIเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์  และระยะที่  3  การพัฒนากลยุทธ์การบริหารเพื่อมุ่งประสิทธิผลของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี  เขต 1-5 ผลการวิจัยปรากฏผล  ดังนี้

              1.  สภาพปัจจุบันของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา  มีการดำเนินงานโดยรวมอยู่ในระดับ  มาก  ( = 4.11,  S.D. = 0.44)  ส่วนสภาพพึงประสงค์มีการดำเนินงานโดยรวมอยู่ในระดับ  มากที่สุด  ( = 4.71,  S.D. = 0.38)

              2.  สภาพแวดล้อมที่เป็นจุดแข็ง  จุดอ่อน  โอกาส  และภาวะคุกคาม  ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1-5  และมีความสำคัญมากที่สุด  ได้แก่  โรงเรียนมีการจัดทำวิสัยทัศน์ร่วมกันตามขั้นตอน  ครูขาดความเชี่ยวชาญในการพัฒนาคุณภาพของนักเรียนทุกด้านตามมาตรฐานการศึกษา  นโยบายส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานเพื่อพัฒนาโรงเรียน  และ  โรงเรียนในสังกัดเดียวกันขาดความร่วมมือในการสร้างเครือข่ายพัฒนาความรู้ร่วมกัน  ตามลำดับ

            3.  กลยุทธ์การบริหารเพื่อมุ่งประสิทธิผลของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ประกอบด้วย  8  กลยุทธ์  ดังนี้ 1)  พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์โดยการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง  2)  สร้างเสริมแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตให้สามารถนำมาใช้จัดการเรียนรู้และฝึกประสบการณ์  3)  พัฒนาศูนย์เครือข่ายทางการศึกษาให้เป็นระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศทางการศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทและภูมิปัญญาท้องถิ่น  4)  พัฒนาบุคลากรให้เกิดความตระหนักและสำนึกรับผิดชอบต่อหน้าที่และส่งเสริมความก้าวหน้าในวิชาชีพ  5)  เน้นทักษะการประกอบอาชีพสุจริตให้กับนักเรียนกลุ่มเสี่ยงหรือมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์  6)  สำรวจความพึงพอใจของผู้ปกครองและชุมชนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของครูและสถานศึกษา  7)  พัฒนาบุคลากรให้สามารถจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้สื่อ ICT  ที่ทันสมัยตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551  และติดตาม กำกับช่วยเหลือนักเรียนให้จบการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกคน  และ  8)  เสริมสร้างความร่วมมือร่วมใจในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาร่วมกับชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน

The purposes of this research were: 1) to study the presence and the desired aspects of Administrative Effectiveness Strategies for Opportunity Expansion School . 2) to analyze the strength, the weakness, the opportunity, and the treat of Administrative Effectiveness Strategies for Opportunity Expansion School and 3) to develop of Administrative Effectiveness Strategies for Opportunity Expansion School. There were 3 phases of the study: the 1st phase was the study of the presence and the desired aspects of Administrative Effectiveness Strategies for Opportunity Expansion School, the subjects of the study were 160 directors of the Opportunity Expansion School. All of them were from the Multistage Random Sampling Technique. For the 2nd phase, the strength, the weakness, the opportunity, and the treat of Administrative Effectiveness Strategies for Opportunity Expansion School would be analyzed by using the Modified Priority Needs Index: PNI Formula in order to compare the differentiation between the presence and the desired aspects of Administrative Effectiveness Strategies for Opportunity Expansion School. And the 3rd phase, the development of the Administrative Effectiveness Strategies for

Opportunity Expansion School.

              The results of the study revealed that:

                   1.  The presence aspects of Administrative Effectiveness Strategies for Opportunity Expansion School was holistically pointed out at the level of MORE (=4.11, S.D.= 0.44). And for the desired aspects of Administrative Effectiveness Strategies for Opportunity Expansion School, it was holistically showed at the level of the MOST (=4.71, S.D.=0.38)

                   2.  The analyze of the strength, the weakness, the opportunity, and the treat of Administrative Effectiveness Strategies for Opportunity Expansion School by using the Modified Priority Needs Index: PNI Formula to compare the differentiation between the presence and the desired aspects of Administrative Effectiveness Strategies for Opportunity Expansion Schools, it was specified that the most important findings were: all the targeted schools cooperated in the setting of school vision, the lack of teachers’ skill in students qualification development in all aspects of educational standard, the school policy of encouraging local communities in sharing school development and, the lack of cooperation among schools in the same jurisdiction in terms of knowledge-based school network, respectively.

                        3.  The development of Administrative Effectiveness Strategies for Opportunity Expansion School results were consisted of 8 strategies as in the followings: 1) The development of school should be based on the school vision under the supervision of stakeholders. 2) The promotion of long life education resource for educational and experienced purposes. 3) The development of educational network center for the data and educational ICT exchange based on the local context and local wisdom. 4) To encourage the stakeholders in aspect of the awareness of professional responsibilities, and to promote the stakeholders’ professional progress. 5) Working skills should be emphasized among low ability students. 6) The satisfaction of parents and communities toward teachers and schools instruction should be surveyed. 7) All stakeholders should be encouraged to apply ICT instructional media that help all students’ success in educational learning based on the 2008 Core Educational Curriculum. And 8) The encouragement of cooperation in terms of educational qualification development between communities and all stakeholders.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

สิริพร แสนทวีสุข, ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี

ดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาการบริหารการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชธานี

พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ประจำคณะครุศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย