แนวทางการใช้กลยุทธ์การพัฒนาการบริหารและจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก เพื่อคุณภาพนักเรียน GUIDELINES FOR UTILIZING STRATEGIES TOWARDS ADMINISTRATIVE AND EDUCATION ORGANIZING DEVELOPMENT FOR PROMOTING STUDENT’ S QUALITY OF SMALL SCHOOLS

Main Article Content

ยศพร จิรพรเจริญ
ธีระ รุญเจริญ

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ(1) กำหนดกรอบสาระกลยุทธ์ในการบริหารและจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก  (2) สร้างกลยุทธ์ในการพัฒนาในการบริหารและจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก (3) ประเมินและตรวจสอบยืนยันกลยุทธ์โดยผู้ทรงคุณวุฒิและบุคลากรในโรงเรียนขนาดเล็ก  และ (4) ศึกษาแนวทางในการนำกลยุทธ์ไปใช้  วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะคือ ระยะที่ 1 การศึกษากรอบสาระกลยุทธ์ในการบริหารและจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก ระยะที่ 2 การสร้างกลยุทธ์การพัฒนาการบริหารและจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กโดยนำกรอบกลยุทธ์ที่สังเคราะห์ในระยะที่1มาสร้างเป็นแบบสอบถามการใช้กลยุทธ์จำนวน 8 กลยุทธ์ ระยะที่ 3 เป็นการประเมินและตรวจสอบกลยุทธ์ด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้และประโยชน์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 12 คนและผู้บริหาร ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนขนาดเล็ก และระยะที่ 4 เป็นการศึกษาแนวทางในการนำกลยุทธ์ไปใช้โดยการประชุมกลุ่มสนทนาประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ และนำผลจากการประชุมกลุ่มสนทนา มาสังเคราะห์และสรุปผลต่อไป  ผลการวิจัยพบว่า

             โรงเรียนขนาดเล็กใช้กลยุทธ์ในการบริหารและจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กจำนวน 8 กลยุทธ์   ผลการสร้างกลยุทธ์ในการพัฒนาการบริหารและจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กทั้ง 8 กลยุทธ์  ปรากฏว่าเนื้อหาสาระของกลยุทธ์มีความสอดคล้องกับการนำไปพัฒนาคุณภาพนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ทุกด้าน คือมีค่าเฉลี่ยระหว่าง  4. 30 – 4.80  ผลการประเมินและตรวจสอบยืนยันกลยุทธ์โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ในภาพรวมพบว่า ด้านประโยชน์ และด้านความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่า = 4.67 และ = 4.64 ตามลำดับ และด้านความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก ( = 4.16) ผลการประเมินตรวจสอบยืนยันกลยุทธ์โดยบุคลากรในโรงเรียนขนาดเล็กในภาพรวาม พบว่าด้านความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51) ด้านความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก ( = 4.38) และด้านประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.48)  และผลการศึกษาแนวทางในการนำกลยุทธ์ไปใช้ในโรงเรียนขนาดเล็กพบว่าก่อนนำไปใช้ควรมีการปรับกลยุทธ์และตรวจสอบรายละเอียดให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของแต่ละโรงเรียน

The study aimed (1) to determine strategies in small school administration, (2) to develop strategies for improving small school administration, (3) to evaluate and examine the strategies by experts and personnel in the schools, and (4) to identify ways to utilize the strategies. This research study encompassed 4 phases. In Phase 1, the relevant literature on strategies in small school administration was reviewed from both print and electronic media. The review covered problems, concepts of school administration, small school development and administration for quality school improvement. This multi-case study was conducted in 2 small schools. Phase2 involved developing strategies for improving school administration. The strategies studied in Phase 1 were synthesized to construct a questionnaire, regarding the implementation of 8 strategies. In Phase 3, the strategies were evaluated and examined by 12 experts and then by 120 school administrators, teachers and basic educational committee members in terms of suitability, feasibility and practicality. Phase 4 dealt with identifying ways to utilize the strategies.  This session was carried out in a group discussion with 9 experts. The data from the group discussion was collected and summed up to draw multiple guidelines of the strategy implementation. The results of the study were as follows.

     There were 8 strategies the small schools employed in administration. The result of the strategy development showed that all of the strategies, evaluated by experts, gained the content validity with the means ranging from 4.30-4.80.  As evaluated  by the experts it showed that the practicality and the suitability were at the highest level with the mean scores of 4.67 and 4.64 respectively, whereas the feasibility was at a high level ( = 4.16).  As confirmed by the school personnel it showed the highest level of the suitability with the mean score of 4.51, the high level of the feasibility ( = 4.38), and the highest level of practicality ( = 4.48). With regard to the strategy utilization, the study revealed that the schools needed to implement a proper strategy based on the school contexts .

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

ยศพร จิรพรเจริญ, ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

ธีระ รุญเจริญ, ศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

ศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล