ข้อเสนอเชิงนโยบายในการบริหารจัดการการศึกษาเพื่อความมีประสิทธิผล ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา THE PROPOSED POLICY ON EDUCATIONAL MANAGEMENT FOR THE EFFECTIVENESS OF EDUCATIONAL SERVICE AREA

Main Article Content

ครรชิต วรรณชา
ศิริ ถีอาสนา
จำเนียร พลหาญ

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและแนวทางในการบริหารจัดการการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  2) จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการบริหารจัดการการศึกษาเพื่อความมีประสิทธิผลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 3) ตรวจสอบและยืนยันข้อเสนอเชิงนโยบายในการบริหารจัดการการศึกษาเพื่อความมีประสิทธิผลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3  ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาปัญหาและแนวทางในการบริหารจัดการการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา    

ระยะที่ 2  จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการบริหารจัดการการศึกษาเพื่อความมีประสิทธิผลของสำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษา และระยะที่ 3 ตรวจสอบและยืนยันข้อเสนอเชิงนโยบายในการบริหารจัดการการศึกษา

เพื่อความมีประสิทธิผลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

            ผลการวิจัยพบว่า  ข้อเสนอเชิงนโยบายในการบริหารจัดการการศึกษาเพื่อความมีประสิทธิผล

ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วย (1)  วิสัยทัศน์ :  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นองค์กรขับเคลื่อนให้สถานศึกษา   จัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพสู่มาตรฐานสากล (2)  พันธกิจ : ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้เรียน ในระดับการศึกษาภาคบังคับได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาสู่มืออาชีพ ด้วยการบริหารจัดการที่เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน  (3)  เป้าหมาย : ส่งเสริมการจัดการศึกษาภาคบังคับอย่างทั่วถึงและเสมอภาค  พัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและหลักสูตรที่กำหนดไว้  พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพให้สถานศึกษาทุกแห่งได้รับการรับรองคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตและมุ่งให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานเพิ่มขึ้น  (4)  กลยุทธ์ : พัฒนาระบบบริหารจัดการโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ เร่งรัดการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ ส่งเสริม สนับสนุน กำกับ ดูแล  ช่วยเหลือและพัฒนาสถานศึกษา  พัฒนาระบบบริหารทรัพยากรบุคคลให้มีประสิทธิภาพ  และเสริมสร้าง  พัฒนาเครือข่ายให้เข้มแข็งและยั่งยืน

This research aims : (1) To study the problems and approaches in the management

of  Educational Service Area.  (2) To prepare policy proposals in the administration the Proposed

Policy on Education Management for the Effectiveness of  Educational Service Area. (3) To confirm the policy proposals in The Proposed Policy on Education Management for the Effectiveness of  Educational Service Area. The research was divided into three  phases as follows. Phase 1 study of problems and approaches in management education office. Phase 2 proposals in Policy the Proposed Policy on Education Management for the Effectiveness of   Educational Service Area. Phase 3 confirm  the policy proposals in the Proposed Policy on Education Management for the Effectiveness of   Educational  Service Area.

The research findings were as follow :              

The Proposed Policy on Education Management for the Effectiveness of 

Educational Service Area. It has consisted (1)  Vision : The Educational Service Area was an organization divined to school education of high quality to meet international standards., (2) Mission : To support the students in compulsory education received education, quality standards and development of teachers and educational personnel to hand career with management focused on the participation of all sectors., (3) Goals : Promoting management education impartially. Development of all students by providing quality education and courses were defined. Teacher development and educational performance for all professional standards. Educational facilities have been certified according to the standards of education and lifelong learning and to The Educational  Service  Area  and school quality by increasing. And  (4) Strategies : To develop a management system aimed at the achievement. Credit policy to support regulatory compliance and education development. Development of human resource system to be effective and enhanced, developed a strong and sustainable networks.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

ครรชิต วรรณชา, ดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ศิริ ถีอาสนา, อาจารย์ประจำหลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการการศึกษา คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

อาจารย์ประจำหลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาการบริหารจัดการการศึกษา  คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

จำเนียร พลหาญ, อาจารย์ประจำหลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการการศึกษา คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

อาจารย์ประจำหลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาการบริหารจัดการการศึกษา  คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม