การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา : การศึกษาเชิงคุณภาพทางการบริหารการศึกษาEthnographic Research : Quality Research in Educational Administration

Main Article Content

ดาวรวุรรณ ถวิลการ

Abstract

การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาเป็นวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพที่มุ่งศึกษาปรากฏการณ์จากมุมมองและการให้ความหมายของคนที่อยู่ในปรากฏการณ์  โดยมุ่งเน้นปรากฏการณ์ทางสังคม และวัฒนธรรม โดยยึดหลักการทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็น ค่านิยม  ความคิด ความเชื่อ ทัศนะ จากมุมมองของคนในสังคมนั้นเอง ไม่ใช่เป็นการทดสอบสมมติฐานของผู้วิจัย  เน้นไปที่การเก็บข้อมูลเป็นรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่างอย่างเจาะจง แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการตีความหมายและความสัมพันธ์ของการกระทำของมนุษย์และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น  โดยใช้วิธีการในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่หลากหลาย  เช่น การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant  Observation) การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participant Observation)  การสัมภาษณ์เชิงลึก    (In-Depth  Interview) การจัดกลุ่มสนทนา (Focus Group Discussion) การจดบันทึกภาคสนาม (Field Note) และการวิเคราะห์เอกสาร (Document  Analysis) เป็นต้น การวิจัยด้วยวิธีการชาติพันธุ์วรรณนา จึงเป็นการศึกษาเชิงอุปมาน (Inductive Method)เป็นหลัก ซึ่งใช้ประโยชน์จากมโนทัศน์ทางวัฒนธรรมเป็นแนวคิดหลักในการอธิบายและตีความผลการศึกษา เน้นความเป็นองค์รวมและให้ความสำคัญอย่างมากแก่บริบทชาติพันธุ์วรรณนา  เพราะถือว่าบริบทคือปัจจัยที่เป็นสภาพแวดล้อมหรือภูมิหลัง  และวิธีการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนานี้ผู้วิจัยเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดโดยจะต้องเข้าไปฝังตัวหรือร่วมเป็นส่วนหนึ่งในปรากฏการณ์ที่ศึกษา เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงตามสภาพความเป็นจริงและเป็นข้อมูลเชิงลึกมากที่สุด ซึ่งในทางการบริหารการศึกษานั้นสามารถใช้การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาเพื่อศึกษาปรากฏการณ์ทางการบริหารที่สนใจที่ต้องอาศัยการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ลุ่มลึก เช่น วัฒนธรรมองค์การ ทีมที่มีประสิทธิผล ภาวะผู้นำ เป็นต้น

Article Details

Section
บทความปริทัศน์/บทความวิชาการ
Author Biography

ดาวรวุรรณ ถวิลการ, อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบริหารการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น