การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำแบบเหนือชั้นของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด A DEVELOPMENT OF TRANSCENDENTAL LEADERSHIP INDICATORS OF ADMINISTRATORS IN BASIC EDUCATIONAL SCHOOLS UNDER THE PROVINCIAL ADMINISTRATIVE ORGANIZATIONS

Main Article Content

วชิระ ดวงมาตย์พล
ภิญโญ มนูศิลป์
ยุพร ริมชลการ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำแบบเหนือชั้นของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด และ 2) เพื่อทดสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ ภาวะผู้นำแบบเหนือชั้นของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด กับข้อมูลเชิงประจักษ์  การดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน ดังนี้  ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและพัฒนาตัวบ่งชี้  โดยการวิเคราะห์เอกสาร และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 16 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Nvivo แล้วสังเคราะห์เป็นตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำแบบเหนือชั้นของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ขั้นตอนที่ 2 การทดสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้กับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง ที่เป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 679 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์และเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของข้อมูลที่จะมาวิเคราะห์องค์ประกอบ ดังนี้  ค่า Bartlett Test of Sphericity และค่า Measure of Sampling Adequacy (MSA)  และใช้โปรแกรม LISREL 8.52 วิเคราะห์องค์ประกอบและตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ที่ได้รับการพัฒนากับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการวิจัย พบว่า

              1.  ผลการสร้างและพัฒนาตัวบ่งชี้ ปรากฏว่า ได้ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำแบบเหนือชั้นของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน  5 องค์ประกอบหลัก  16 องค์ประกอบย่อย และ 101 ตัวบ่งชี้  ประกอบด้วย  องค์ประกอบหลัก ด้านจิตวิญญาณของความเป็นผู้นำ  มี 3 องค์ประกอบย่อย และ19 ตัวบ่งชี้  ด้านวิสัยทัศน์ มี 4 องค์ประกอบย่อย และ 27 ตัวบ่งชี้ ด้านจริยธรรม มี 3 องค์ประกอบย่อย และ14 ตัวบ่งชี้  ด้านการใฝ่บริการ มี 3 องค์ประกอบย่อย และ 13 ตัวบ่งชี้  และด้านสมรรถนะของผู้นำ มี 3 องค์ประกอบย่อย และ 28 ตัวบ่งชี้

2.  ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของ

ตัวบ่งชี้ พิจารณาจากค่าสถิติ ดังนี้  c2  =  66.90,  df  =  62,  p  = 0.31, 0096  RMSEA  =  0.011  Critical N  =  906.91  c2 /df  =  1.08   GFI  =  0.99  AGFI  =  0.97  CFI= 1.00  Standardized  RMR  =  0.0096  แสดงว่า โมเดลสมการโครงสร้างขององค์ประกอบภาวะผู้นำแบบเหนือชั้นของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด สอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เป็นไปตามสมมติฐาน

The purposes of this study were : 1) to construct and develop the transcendental leadership indicators of administrators in basic educational schools under the provincial administrative organizations, and 2) to test the goodness of fit for structural model indicators with the empirical data.

There were two phases of this study. Phase one was the theoretical indicators construction and development with documentary analysis and the interview with 16 experts were applied for qualitative data. The earned data were analyzed by Nvivo program then synthesized the data for transcendental leadership indicators. Phase two was the test of structural model’s goodness  of fit with the empirical data.

The samples were 679 school administrators and teachers under the provincial administrative organization. The research instruments for data gathering consisted of and interview and a 5 point rating scale questionnaire. The quantitative data was analysed by a computer program to obtain mean, standard deviation then bartlett test of sphericity and measure of sample adequacy (MSA) were used for appropriateness of the data and factors analysis. LISREL 8.52 program was used for confirmation factor analysis and checking consistency of develop model and the empirical data.

The study found that :

1. The results of the indicators construction and development were found that the transcendental leadership indicators of administrators in basic educational schools under the provincial administrative organization were classified into 5 core factors, 16 sub factors and 101 indicators. There were spirituality of leader with 3 sub factors and 19 indicators ; vision with 4 sub factors and 27 indicators ; ethics with 3 sub factors and 14 indicators ; servant with 3 sub factors and 13 indicators and the last one was competency of leader with 3 sub factors and 28 indicators.

2. The goodness of fit test of the indicators’ confirmatory factor analysis model were fit to the empirical data following the hypothesis and based on the statistic as follow : c2  = 66.90, df = 62, p = 0.31 , 0096 ,  RMSEA = 0.011 , Critical N = 906.91 , c2  / df = 1.08 , GFI = 0.99, AGFI = 0.97, CFI = 1.00  Standardized RMR = 0.0096.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

วชิระ ดวงมาตย์พล, นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

ภิญโญ มนูศิลป์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

ยุพร ริมชลการ, รองศาสตราจารย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

รองศาสตราจารย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม