โรงเรียนวิถีอีสาน : การบูรณาการภูมิปัญญาสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน Isaan Folk School : The Integration to Life Quality Development of the students based on ways of Isaan

Main Article Content

สันติ ฤาไชย
ศักดิ์พงศ์ หอมหวน
สัญญา เคณาภูมิ

Abstract

การบูรณาการภูมิปัญญาสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียนเป็นนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่มุ่งศึกษาปรากฏการณ์การพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียนตามแนวทางวิถีอีสาน โรงเรียนกาฬสินธุ์ปัญญานุกูล จังหวัดกาฬสินธุ์โดยการพัฒนากิจกรรมในการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางวิถีอีสาน และศึกษาคุณภาพชีวิตนักเรียนที่ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางวิถีอีสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 10 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน ผู้บริหาร จำนวน 3 คน ครูผู้สอน จำนวน 56 คน นักเรียน จำนวน 494 คน ผู้ปกครอง จำนวน  214 คน รวมทั้งสิ้น 787  ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียนตามแนวทางวิถีอีสาน โรงเรียนเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา 2555 โดยได้ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา จัดสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้อย่างหลากหลาย ใช้กระบวนการเรียนการสอนแบบอบรมบ่มเพาะและครูพาทำ ส่งผลให้โรงเรียน ผู้บริหาร ครู และนักเรียนได้รับรางวัลจากหน่วยงานต่างๆ เป็นที่ยอมรับจากผู้ปกครองและชุมชนเครือข่าย 2) การพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางวิถีอีสานได้จัดกิจกรรมบูรณาการแบบสหวิทยาการเข้ากับหลักภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน และในหอพัก จัดการเรียนการสอนแบบเต็มเวลาเต็มวัน สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของนักเรียนแต่ละบุคคล 3) คุณภาพชีวิตนักเรียนที่ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางวิถีอีสานอยู่ในระดับมากทั้งโดยภาพรวมและรายด้านส่งผลให้ภาพโดยรวมของการอยู่ร่วมกันระหว่างนักเรียน ครู และบุคลกรในโรงเรียน เกิดเป็นสังคมจิตงาม อันเป็นสังคมแห่งความรักความเข้าใจ เอื้ออาทร มีเมตตา กรุณา และมีความปรารถนาดีต่อกัน

            The integration the wisdom of students, lead to the developments of students life. The purposes of this research were to study the phenomenon developments quality of students life according Esan life ways of Kalasinpanyanukul School, to develop activities for learning Esan life,to study developments quality of students life through learning process according Esan life ways. The samples of research consisted of 507, the school board, luminaries, school administrators, teachers,students and guardians. Research methodology combines. Results of the research were as follows1) Phenomenon of students’ livelihood development according to Esan life ways has been started since B.E.2555, the school has developed the learning program, managed appropriate environment and installed various learning source. Reprocessing the learning program to be more appropriate. The school has received awards from many organizations, recognized and accepted by parents and the communitynetwork2) To develop activities in the learning program management according to. The school as set activities by integrating of interdisciplinary way according to the northeast culture. and reprocessing the learning program and technic to be consistent with the needs of students. 3) The quality of students’ livelihood, focuses on students who have graduated the process of learning program management, both overall and individual aspects is at high level,leading to live together among students, teachers and school personnel. And finally the good spirit society has promoted, which is a society of love, understanding, compassion and generosity have a good wish to each other.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

สันติ ฤาไชย, นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ศักดิ์พงศ์ หอมหวน, อาจารย์ ประจำสาขาวิชานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

อาจารย์ ประจำสาขาวิชานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น  มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

สัญญา เคณาภูมิ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น  มหาลัยราชภัฏมหาสารคาม