ชุมชนคารวะตะธรรม : กระบวนการเรียนรู้สู่ชีวิตและสังคมงาม Karawatatham Community : Learning for Life and Good Society
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคมของชุมชนพื้นที่ขับเคลื่อนจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ชุมชนเข้มแข็งโดยใช้หลักพุทธธรรม เรื่องคารวะตา 6 โดยการปรับประยุกต์ใช้สร้างกระบวนการชุมชนคารวะตะธรรมที่เหมาะสมให้กับกลุ่มเป้าหมายและนำชุมชนคารวะตะธรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนพื้นที่อื่นโดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี ซึ่งใช้การวิจัยชิงคุณภาพเป็นหลัก การวิจัยเชิงปริมาณเป็นรองและประยุกต์ใช้วิธีวิทยาของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น(CBR) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ การสำรวจชุมชน การทำแผนที่ภูมิสังคมการเสวนาทางวิชาการ การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1.ปรากฏการณ์ทางสังคมในพื้นที่ขับเคลื่อนจากอดีตจนถึงปัจจุบัน พบว่า ชุมชนมีความเสี่ยงที่ผู้คนเริ่มเสื่อมถอยคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม ประเพณี วัฒนธรรมที่ดีงาม ส่อไปทางปัจเจกและเห็นแก่ตนมากขึ้น ทิ้งวิถีชุมชนที่พึ่งพิง และเคารพธรรมชาติ ครอบครัวอ่อนแอในการดำเนินชีวิตตามหลักทางศาสนา ขาดการเคารพตนเองและผู้อื่น ขาดการเอื้ออาทรและแบ่งปัน จิตใจไม่งดงาม อันเป็นปัญหาทางสังคมและวัฒนธรรมทำให้ชุมชนขาดความเข้มแข็ง
2. กระบวนการชุมชนคารวะตะธรรมที่เหมาะสม เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ชุมชนเข้มแข็ง ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างกลุ่มคนคารวะตะธรรม 2) การสถาปนากลุ่มโดยผ่านขั้นสร้างการรับรู้ มีท่าทียอมรับและแสดงความเป็นเจ้าของ 3) การออกแบบกิจกรรมกลุ่มได้กิจกรรมหลากหลายด้าน 4) การขับเคลื่อนกิจกรรมกลุ่ม เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกและพลังในการขับเคลื่อน 5) การเสริมสร้างพลังกลุ่มเพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน ขยายกลุ่มและเครือข่าย พบว่า กระบวนการชุมชนคารวะตะธรรมขับเคลื่อนด้วยการเรียนรู้และปฏิบัติตามหลักพุทธธรรมเรื่อง คารวะตา 6 ฐานคิด และคุณลักษณะ 8 ประการ ของชุมชนคารวะตะธรรม สามารถสร้างภูมิคุ้มกันในการดำเนินชีวิตให้ผู้คนในชุมชนพ้นจากความเสี่ยง
3. การนำชุมชนคารวะตะธรรมเรียนรู้ร่วมกันกับชุมชนพื้นที่อื่น เป็นการเชื่อมโยงการเรียนรู้ในพฤติกรรมเชิงประจักษ์ ผ่านกิจกรรมการเสวนา การสนทนา การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ร่วม พบว่า หลังการเรียนรู้ร่วมกัน ชุมชนพื้นที่อื่นล้วนผ่านการรับรู้ มีท่าทีตอบรับชุมชนคารวะตะธรรม ส่วนจะแสดงความเป็นเจ้าของแล้วนำไปขับเคลื่อนสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนของตน จนก่อรูปอำนาจ กฎเกณฑ์และคุณค่าที่ดีนั้น ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้
This research aimed to study the social phenomenon of the community area driven from the past to present in order to build the stronger community by using Buddha Dharma called, “Karawata 6”. The Karawata 6 was applied to create the appropriate process to form the target group to be the Karawatatham community. Moreover, such community had to learn and share Karawatatham knowledge with other communities. The study used Mixed Methods Research Design which mostly focused on the qualitative data while the quantitative was minor. In addition, Community Based Research (CBR) was applied. Data collection instruments were community survey,social mapping, academic seminar, unstructured interview, in-depth interview, and focus group. The data were analyzed using content analysis.
The findings show that:
1. The study of social phenomenon in the area driven from the past to present found that the community was at risk as the people’s virtue, morality, ethics, and value began to decline. Traditions and good cultures were for more individual and more self-seeking. Community way of life that depended on and respected for nature was left behind. Families decreasingly implemented religious principles for living life. People lacked self-respect and respect for others. They also lacked generosity and sharing. Their mind became less beautiful. Those mentions were social and cultural problems which influenced the community to be less strong.
2. The appropriate Karawatatham community process for building the stronger community comprised 5 steps : 1) forming a group of Karawatatham people, 2) establishing the group by building the recognition, acceptation, and possession of Karawatatham, 3) designing group activities to be various, 4) driving group activities for building consciousness and the driving force, and 5) empowering the groups for learning together, and expanding groups and networks. The results show that the Karawatatham community process driven by learning and practicing based on Buddha Dharma called Karawata 6 and 8 desirable Karawatatham characteristics can build the immunity for people in living their lives and getting out of risk.
3. Bringing the Karawatatham community to learn and share knowledge with other communities was the link of explicit learning through seminar, discussion, interview and participatory observation. After learning together, it was found that other communities experienced the knowledge and seemed to accept the Karawatatham community. However, showing possession of Karawatatham principles, bringing them to drive and strengthen their communities, forming permanent power, norms and good values were still unpredictable.