รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิ A Model For The Promotion Of Lifelong Learning For Informal Education in Chaiyaphum Province

Main Article Content

จักรวุฒิ ชนะพันธ์
กฤษดา ผ่องพิทยา
วัลลภา อารีรัตน์
มนสิช สิทธิสมบูรณ์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และ 2) ประเมินรูปแบบ        การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การร่างรูปแบบฯ โดยดำเนินการศึกษาเอกสาร งานวิจัย           ที่เกี่ยวข้อง ศึกษากรณีศึกษาและสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน นำมายกร่างรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยระยะที่ 1 ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา  ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ดำเนินการโดยสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างรูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 16 คน ครูอาสาสมัคร จำนวน 40 คน ครูกศน. จำนวน 49  คนและ ครูศูนย์   การเรียนชุมชน จำนวน 121 คนโดยใช้ตารางคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, อ้างในบุญชม ศรีสะอาด, 2545, น.43)โดยวิธีสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling)  รวม 236 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยระยะที่ 2 คือ แบบสอบถามมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 3 การประเมินรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตดำเนินการโดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ และ การวิเคราะห์เนื้อหา และทำประชาพิจารณ์เพื่อรับรองและนำรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตไปสู่การปฏิบัติ

          ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิ ประกอบด้วย 8 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการสร้างวิสัยทัศน์การเรียนรู้ตลอดชีวิต 2) ด้านการจัดบรรยากาศและวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ด้วยตนเอง 3) ด้านการสร้าง ความเชื่อมโยงของแหล่งการเรียนรู้ 4) ด้านการประสานความร่วมมือ 5) ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยวิธีที่หลากหลาย 6) ด้านการส่งเสริมการใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้  7) ด้านการพัฒนาคุณภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 8) ด้านการระดมทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้  และการประเมินรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิ พบว่า ส่วนใหญ่ผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่ามีความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทุกด้าน และผู้เข้าร่วมทำประชาพิจารณ์ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับพฤติกรรมการปฏิบัติงาน

            The objectives of the research were 1) to develop the promotion of  lifelong learningmodel and 2)

examine the promotion of lifelong learning for informal  education in chaiyaphum province. The research was implemented in three phases. Phases 1-research design which included reviewing related literatures, case studies, and interviewing 5 experts to model the promotion of  lifelong learning model. The instruments of Phases 1 were document analysis form interviews, observation form. Data was processed in content analysis, Phases 2- development of the promotion of lifelong learning for informal  education in chaiyaphum province through query of  attitude towards the model outline form 236 samples, including  16 principals, 40 volenteer teacher, 49 informal education teacher, and 121 learning center teachers obtained through Simple Random Sampling using questionnaires. Data was analyzed in mean and standard deviation, and Phases 3- the investigation of the promotion of lifelong learning for informal  education in chaiyaphum province based on Connoisseurship through survey from the qualified specialists. Data was analyzed in frequency, percentage, and content analysis. The process was supported by public hearing arranged for further implementation.

            Research findings revealed that The promotion of lifelong learning for informal  education in chaiyaphum province included 8 major dimensions, i.e. 1) lifelong learning vision aspect 2) the atmosphere and culture with oneself aspect 3) connection learning aspect 4) cooperation integration aspect  5) learning process arrangement with various way aspect 6) using information and the technology for learning aspect 7) quality arrangement activity learning development aspect and 8) mobilizing resource for learning aspect  and Through Connoisseurship investigation, the experts reaffirmed the validity of all the key dimensions identified and the model of the promotion of lifelong learning for informal  education in Chaiyaphum province.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

จักรวุฒิ ชนะพันธ์, นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

กฤษดา ผ่องพิทยา, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วัลลภา อารีรัตน์, รองศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รองศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น

มนสิช สิทธิสมบูรณ์, รองศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร

รองศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร