ปัจจัยเชิงพหุระดับที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการสอนของครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ Multilevel Factors Influencing Teaching Efficiency of Teachers in Schools under the Office of Primary Educational Ser

Main Article Content

สุมาลี ขันติยะ
บุญช่วย ศิริเกษ
พิมพ์อร สดเอี่ยม

Abstract

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิภาพการสอนของครู  2)  ศึกษาระดับปัจจัยระดับครู และ ปัจจัยระดับโรงเรียน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยระดับครูและระดับโรงเรียนกับประสิทธิภาพการสอนของครู  และ 4 ) ศึกษาปัจจัยเชิงพหุระดับที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการสอนของครู

เป็นการศึกษาตัวแปรพยากรณ์ 2 ระดับ  คือปัจจัยระดับครูประกอบด้วย 1) ภาวะผู้นำครู 2) ความพึงพอใจในการทำงานของครู 3) สุขภาพจิตครู  และปัจจัยระดับโรงเรียนประกอบด้วย 1) วัฒนธรรมองค์การ 2)  การนิเทศการศึกษาในโรงเรียน 3) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร ตัวแปรเกณฑ์  คือ ประสิทธิภาพการสอน   ของครู  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 300 โรง  จำนวน 1,200  คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง  ค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน  ค่าองค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA)  ค่าองค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ (MCFA)  และค่าอิทธิพลของปัจจัยพหุระดับ (MSEM) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ

               ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพการสอนของครู ปัจจัยระดับครู และปัจจัยระดับโรงเรียนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก  ปัจจัยระดับครู และปัจจัยระดับโรงเรียนมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการสอน  ของครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  ปัจจัยระดับครูทุกตัวมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสามารถร่วมกันอธิบายประสิทธิภาพการสอนของครูได้ร้อยละ  99.20 (R2=0.9920)  และปัจจัยระดับโรงเรียนทุกตัวมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสามารถร่วมกันอธิบายประสิทธิภาพการสอนของครูได้ร้อยละ  98.40 (R2=0.9840)

The purposes of this research were to 1) study the teaching efficiency of teacher levels. 2) study  the factors on teacher levels and school levels 3) study correlation between  teaching efficiency of teacher  and factors on teacher levels and school levels 4) study multilevel  factors  influencing  teaching efficiency of teacher  The sample was the 1,200 from 300 schools. The research instruments were questionnaire. Analysis to obtain frequency, percentage, mean, standard deviation, Skewness, Kurtosis, Pearson’s product moment correlation coefficient, and The confirmatory factor analysis (CFA), the multilevel confirmatory factor analysis. (MCFA) Structural equation model influence factor. (MSEM) Using statistical package program.

            The research findings were as follow : The teaching efficiency of teachers. teacher- level and  school-level  factors  at the high level. The teaching efficiency of teacher and teacher- level and  school-level  factors Were  correlation  with the statistic significance at .01  The teacher level  factors influencing  with the statistical significance level at .01 The variables could describe the teaching efficiency of teacher at . 99.20 percent. (R2=0.9920). and The school-level factors influencing  with the statistical significance  level at .01, The variables  could  describe the teaching efficiency of teacher at . 98.40 percent. (R2=0.9840).

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

สุมาลี ขันติยะ, นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย

นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาการบริหารการศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย

บุญช่วย ศิริเกษ, รองศาสตราจารย์ ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

รองศาสตราจารย์  ประจำคณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

พิมพ์อร สดเอี่ยม, รองศาสตราจารย์ ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

รองศาสตราจารย์  ประจำคณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย