การพัฒนาตัวบ่งชี้องค์การที่มีขีดสมรรถนะสูงของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด A Development on Indicators of High Performance Organization Within Schools under the Provincial Administrative Organization

Main Article Content

มงคล อติอนุวรรตน์
ภิญโญ มนูศิลป์
ยุพร ริมชลการ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาตัวบ่งชี้องค์การที่มีขีดสมรรถนะสูงของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด  2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้องค์การที่มีขีดสมรรถนะสูงของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การจัดทำตัวบ่งชี้เชิงทฤษฎีองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูงของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดโดยการวิเคราะห์เอกสาร และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 คน แล้วรวบรวมสังเคราะห์เป็นตัวบ่งชี้องค์ประกอบขององค์การที่มีขีดสมรรถนะสูงของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ขั้นตอนที่ 2 การตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้องค์การที่มีขีดสมรรถนะสูงของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดจำนวน320โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 1,280 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์และเป็นแบบสอบถามความเหมาะสมของตัวบ่งชี้ มีลักษณะเป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของข้อมูลที่จะมาวิเคราะห์องค์ประกอบดังนี้ ค่า Bartlett Test of Sphericity และค่า Measure of Sampling Adequacy (MSA) และใช้โปรแกรม LISREL 8.80 วิเคราะห์องค์ประกอบและตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ที่ได้รับการพัฒนากับข้อมูลเชิงประจักษ์

ผลการวิจัย พบว่า

            1. ผลการสร้างและพัฒนาตัวบ่งชี้ปรากฏว่า ได้ตัวบ่งชี้องค์การที่มีขีดสมรรถนะสูงของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 4 องค์ประกอบหลัก 14 องค์ประกอบย่อย 62 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย องค์ประกอบหลักที่ 1 โครงสร้างองค์การ มี 4 องค์ประกอบย่อย 19 ตัวบ่งชี้  องค์ประกอบหลักที่ 2 การบริหารองค์การ มี 4 องค์ประกอบย่อย 16 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบหลักที่ 3 วัฒนธรรมองค์การ มี 3 องค์ประกอบย่อย 13 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบหลักที่ 4 ประสิทธิผลองค์การ มี 3 องค์ประกอบย่อย 14 ตัวบ่งชี้ 

            2. ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวบ่งชี้ พิจารณาจากค่าสถิติ ดังนี้  c2  =  22.61,  df  =  26 ,  p  = 0.65490,  RMSEA  =  0.000,  Critical N  =  656.26, 

c2 /df  =  0.8696,  GFI  =  0.99,  AGFI  =  0.96,  CFI = 1.00,  Standardized  RMR   = 0.013 และค่า Largest  Standardized Residual = 1.74  แสดงว่า โมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้องค์ประกอบองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูงของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เป็นไปตามสมมุติฐาน

The objectives of this study are 1) to create and develop the indicators of High Performance Organization within schools under the Provincial Administrative Organization, 2) to examine the congruence between the indicator of model and empirical data on High Performance Organization within schools under the Provincial Administrative Organization. The two processes of this study are; firstly, the indicator creation and development by analyzing the questionnaire and interviewing 12 expert principals, then data collection and synthesis is to show the indicators of High Performance Organization within schools under the Provincial Administrative Organization. Secondly, the examining of congruence between the indicator of model and empirical data on High Performance Organization within schools under the Provincial Administrative Organization. The sample group are 320 schools under the Provincial Administrative Organization. The informants are 1,280 teachers and school administrators. The study tool used was a questionnaire containing 5 rankings, which looked to assess the indicators suitability. The quantitative data was analyzed by Microsoft Excel Program and gained the , S.D. The Bartlett Test of Sphericity and Measure of Sampling Adequacy (MSA) and LISREL Program 8.80 were used for analyzing factors and examining the congruence between the developed indicator model and empirical data. The findings of this study were summarized as follows :

            1.There are 4 main factors,14 sub factors, and 62 indicators of a High Performance Organization within schools under the Provincial Administrative Organization. The main factor, organizational structure, consists of 4 sub factors and 19 indicators; the Organizational Administration consists of 4 sub factors and 16 indicators; the Organizational Culture consists of 3 sub factors and 13 indicators; the Organizational Effectiveness consists of 3 sub factors and 14 indicators.

            2.The result of examining the congruence between the indicator of model and empirical data found that;   = 22.61, df = 26, p = 0.65490, RMSEA = 0.000, Critical N = 656.26, /df = 0.8696, GFI = 0.99, AGFI = 0.96, CFI = 1.00, Standardized RMR = 0.013, and the largest standardized Residual = 1.74 The results indicate that the Organization Factor Structure Model of a High Performance Organization within schools under the Provincial Administrative Organization is consistent with the empirical data connected to the hypotheses.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

มงคล อติอนุวรรตน์, นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

ภิญโญ มนูศิลป์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

ยุพร ริมชลการ, รองศาสตราจารย์ ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

รองศาสตราจารย์ ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม