องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารเครือข่ายแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาภาคใต้ฝั่งอันดามัน Factors and Indicators of Participative Management in Effectiveness School of Southern Andaman Elementary School Network

Main Article Content

อนันต์ ศรีชาย
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์
ไพศาล หวังพานิช
สงวนพงศ์ ชวนชม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารเครือข่ายโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาภาคใต้ฝั่งอันดามัน 2) เพื่อยืนยันความเที่ยงตรงตามสภาพขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารเครือข่ายโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาภาคใต้ฝั่งอันดามันกับกลุ่มผู้รู้แจ้งชัด (Known Group)วิธีดำเนินการวิจัย โดยศึกษา เอกสาร แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดองค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย และตัวบ่งชี้การบริหารเครือข่ายโรงเรียน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงตามเนื้อหารายข้อ อยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00 และทั้งฉบับ เท่ากับ 0.97  มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.903 ดำเนินการเก็บข้อมูลจากประธานเครือข่ายและคณะกรรมการบริหารเครือข่ายโรงเรียน ได้จำนวน 50 คน วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ โดยการสกัดองค์ประกอบ ด้วยวิธี วิเคราะห์องค์ประกอบหลัก หมุนแกนองค์ประกอบแบบโอโธโกนอล ด้วยวิธีแวริแมกซ์  ของจำนวนองค์ประกอบ และจัดกลุ่มตัวบ่งชี้การบริหารเครือข่ายโรงเรียน ตรวจสอบความเที่ยงตรงตามสภาพของตัวบ่งชี้ เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเครือข่ายโรงเรียนประถมศึกษาภาคใต้ฝั่งอันดามัน จำนวน 50 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกับเกณฑ์ระดับมาก  (µ=3.50) ตามการแปลความหมายค่าเฉลี่ยแบบอิงเกณฑ์ โดยใช้การทดสอบค่าที ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้  1) องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารเครือข่ายโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมที่ประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาภาคใต้ฝั่งอันดามัน มีความเที่ยงตรงเท่ากับ 8 องค์ประกอบ 74 ตัวบ่งชี้ สามารถอธิบายค่าความแปรปรวนสะสมของตัวบ่งชี้ได้ร้อยละ 80.83 โดยองค์ประกอบที่ 1 ด้านโครงสร้างองค์กรเครือข่าย จำนวน 5 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 2 ด้านร่วมกำหนดวัตถุประสงค์ จำนวน 8 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 3 ด้านบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารเครือข่าย 16 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 4 ด้านภาวะผู้นำเครือข่าย จำนวน 14 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 5 ด้านการมีส่วนร่วมของสมาชิกเครือข่าย จำนวน 14 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 6 ด้านบรรยากาศเครือข่าย จำนวน 8 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 7 ด้านความเสมอภาคของการบริหารเครือข่ายแบบมีส่วนร่วม จำนวน 5 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบที่ 8 ด้านการยอมรับความแตกต่างของการบริหารเครือข่ายแบบมีส่วนร่วม จำนวน 4 ตัวบ่งชี้  2) ตัวบ่งชี้การบริหารเครือข่ายโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาภาคไต้ฝั่งอันดามัน มีความเที่ยงตรงตามสภาพ จำนวนทั้ง 74 ตัวบ่งชี้

The purposes of this research were to 1) study the factors and indicators of the effectively  participative school  network  administration of  the primary schools  in  southern Andaman coast  2) confirm the concurrent validity of the factors and indicators of the effectively  participative school  network  administration of  the primary schools  in  southern Andaman coast with the known group. The methodology was to study  documents, concepts, theories and  related literature in order to set the main and  discrete factors  as well as the  indicators of school network administration. The research instrument was a five point-rating scale questionnaire with the range of 0.67-1.00 as the content validity of the items, and 0.97 as the content validity of the whole questionnaire respectively. The reliability of the questionnaire was 0.9303. Data were collected from 50 people who were chairman of the school network and the committees administering school network. The data were analyzed by the exploratory factor analysis.  To extract the factors, a principal component analysis, and varimax rotation were conducted in order to arrange the indicators of school network administration. The concurrent validity of indicators were verified. The mean scores were compared to the norm which was 3.5 as the reference, employing t-test.

                               Research findings were as follows:                                                                         1.There were 8 factors and 74 indicators of the effectively participative school network administration of the primary schools in southern Andaman coast which were 80.83 percent accumulative variance explained. Factor 1 was roles and duties of the committees administering school network comprising 16 indicators. Factor 2 was the leadership of chair network comprising 14 indicators. Factor 3 was the participation of the members of the network comprising 14 indicators. Factor 4 was the participation of goal-setting comprising 8 indicators. Factor 5 was network condition comprising 8 indicators. Factor 6 was the structure of organization network comprising 5 indicators. Factor 7 was equality comprising 5 indicators. Factor 8 was the difference comprising 4 indicators.

                               2. Seventy-four indicators of the effectively participative school network administration of the primary schools in southern Andaman coast were concurrently valid. 

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

อนันต์ ศรีชาย, นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์, ศาสตราจารย์ ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

ศาสตราจารย์ ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

ไพศาล หวังพานิช, รองศาสตราจารย์ ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

รองศาสตราจารย์ ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

สงวนพงศ์ ชวนชม, อาจารย์ ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

อาจารย์ ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล