รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ Model for Developing of ICT Management of Educational Technology Leadership of School Administrators under the Office of Basic E

Main Article Content

คมพิศิษฐ์ ศรีบุญเรือง
ไชยา ภาวะบุตร
ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์
พิธาน พื้นทอง

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) สร้างและปรับปรุงรูปแบบภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา ของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา ของผู้บริหารสถานศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ดำเนินการ 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบของภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา ประกอบด้วย การวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ และการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ปีการศึกษา 2555 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 370 คน ใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Ratting Scale) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 การร่างและปรับปรุงรูปแบบ ประกอบด้วย การร่างรูปแบบ ตรวจสอบร่างรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 โดยผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า

                 1. องค์ประกอบของภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา มี 3 องค์ประกอบ คือ 1) การใช้ ICT ในการบริหารงาน 2) การใช้ ICT ในการเรียนการสอน และ 3) การมีจริยธรรมในการใช้ ICT

                 2. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์  เนื้อหา กระบวนการ และการวัดและประเมินผล

            3. ผลการทดลองใช้รูปแบบภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา ทั้ง 3 ระยะ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยระยะหลังการปฏิบัติการมีค่าสูงกว่าระยะก่อนปฏิบัติการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และระยะติดตามผลมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระยะหลังปฏิบัติการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

The Purposes of this research were to : 1) investigate of ICT Management Educational Technology Leadership of School Administrators under the Office of the Basic Education Commission in the Northeast. 2) construct and developed A model of ICT Management Educational Technology Leadership of School Administrators. 3) Validate the Leadership model of ICT Management Educational Technology Leadership of School Administrators. This Research and Development (R&D) was divided in to three phases : Phase I Exploring ICT leadership model through document inquiries, in-depth interviews with scholars and survey. The sample were 370 school administrators under the Office of the Basic Education Commission in the Northeast in 2012 academic year. The instrument for collecting data was a set of 5 - point rating scale. The statistics used in analyzing data were frequency, percentage, mean and standard deviation. Phase II Drafting and constructing a model  drafting and further refinement by the experts. Phase III was related to implementing  the developed model in the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1. The sample consisted 15 respondents. Data were analyzed using mean and standard deviation. The findings  were  as follow :

                 1. The three component of ICT Management Educational Technology Leadership of School Administrators  were :  ICT – management, ICT- Learning and  ICT – regulation an ethics. The personal performance of ICT Management Educational Technology Leadership of School Administrators under the Office of the Basic Education Commission in the Northeast. The highest mean score was ICT – regulation an ethics. and highest mean score was ICT – management and ICT- Learning and ICT.

                 2. The model of ICT Management Educational Technology Leadership of School Administrators was composed of principles, objectives, content procedure, and measurement and evaluation.

                 3. After the intervention, the result showed that the mean of post - workshop score was significantly higher than the pre – workshop at the .05 level. In the follow – up session, the mean score was significantly higher than the post – workshop at the .01 level.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

คมพิศิษฐ์ ศรีบุญเรือง, นักศึกษาหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

นักศึกษาหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ไชยา ภาวะบุตร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

พิธาน พื้นทอง, อาจารย์พิเศษ ประจำสาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาจารย์พิเศษ ประจำสาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร