การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ THE DEVELOPMENT OF SCHOOL-BASED CURRICULUM MANAGEMENT IN THE SCHOOLS UNDER THE SUPERVISION OF THE KALASIN PROVINCIAL ADMINISTRATIVE ORGANIZATION

Main Article Content

กริชต์จอมพล ภูจอมจิตฆ์
สมเจตน์ ภูศรี
ไพศาล วรคำ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้  เป็นการวิจัยและพัฒนา รูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษามีวัตถุประสงค์  1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการในการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์  2)เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์  และ3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์  กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่  รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์  ผู้อำนวยการกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ผู้บริหารโรงเรียน  ครู  นักเรียน  และคณะกรรมการสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 273 คน ใช้วิธีการสนทนากลุ่ม  การสำรวจ สัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา

        ผลการวิจัย  พบว่า  1.  สภาพการบริหารจัดการหลักสูตรของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ มีปัญหาเกี่ยวกับองค์ความรู้ในการบริหารจัดการหลักสูตร ขาดความตระหนักถึงความสำคัญของหลักสูตรสถานศึกษา ไม่ได้ใช้ภูมิปัญญาของท้องถิ่น  การพัฒนาหลักสูตรขาดการวิเคราะห์ สังเคราะห์องค์ความรู้ที่จะนำมาสร้างหลักสูตร ขาดการบูรณาการองค์ความรู้สากลกับภูมิปัญญาท้องถิ่น และขาดความใหม่ของหลักสูตร 2.  ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้รูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา ที่เรียกว่า รูปแบบกาฬสินธุ์ (Kalasin Model) ซึ่งประกอบด้วย K : Knowledge  คือ องค์ความรู้ในการบริหารจัดการหลักสูตร  A : Awareness  คือการตระหนักถึงความสำคัญของหลักสูตรสถานศึกษา  L : Local คือ นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนา  A : Analysis คือ ใช้การ

วิเคราะห์ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้มีความชัดเจน S : Synthesis  คือ การสังเคราะห์องค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้เป็นเนื้อหาของหลักสูตร  I : Integration คือ การบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นกับองค์ความรู้สากล และ N : Novel  คือความแปลกใหม่ของหลักสูตรสถานศึกษา 3.  ผลการประเมินรูปแบบการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา ทั้ง 5 ด้านคือ 1)  ปัจจัยและ

กระบวนการในการใช้หลักสูตร 2) คุณลักษณะของโรงเรียน ครู และนักเรียน 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 4) ความพึงพอใจในการบริหารจัดการหลักสูตรของครู ผู้บริหารโรงเรียนและประชาชน และ 5) การบรรลุมาตรฐานหลักสูตรสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก  

This research was a research and development of school curriculum management model. The research objectives were: 1) to study the current problems and needs in the school curriculum management of the schools under the Kalasin Provincial Administration Organization, 2) to develop a school curriculum management model for the schools under the Kalasin Provincial Administration Organization, and 3) to evaluate the school curriculum management model for the schools under the Kalasin Provincial Administration Organization. The key informants were included the vice president of Kalasin Provincial Administration Organization, director of educational religion and cultural sector, school administrators, teachers, students and school boards of the schools under the Kalasin Provincial Administration Organization amount of 273 persons. Research techniques were used included focus group, in-depth interviews, survey, and participatory observation. Data were analyzed using descriptive statistics and content analysis.

        The research results showed that  1. The school curriculum management of the schools under the Kalasin Provincial Administration Organization has the problems about knowledge of curriculum management, lack of awareness about the importance of the school curriculum, do not use their local wisdom, lack of analysis and synthesis of knowledge that was used to build the course in process of curriculum development, lack of integration of global knowledge with local wisdom, and a lack of novel in school curriculum.  2. The result of model development of school curriculum management of the schools under the Kalasin Provincial Administration Organization, the model of school curriculum management called ‘KALASIN model’, which consists of  K: Knowledge refers to knowledge of curriculum management, A: Awareness refer to awareness of the importance of school curriculum, L: Local that means to used the local wisdom to curriculum development, A: Analysis refers to the analysis of local wisdom clearly, S: Synthesis means to synthesize knowledge from local wisdom to the content of the course, I: Integration was refer to the integration of local wisdom with the global knowledge, and N: Novel is the novelty in the school curriculum.

           3. The results of evaluation for model of school curriculum management in 5 areas included: 1) the factors and processes in the curriculum implementation, 2) the characteristics of schools, teachers and students, 3) the students’ achievement, 4) the satisfaction of the school curriculum management of teacher, school administrators, and the public, and 5) the standard achievement of curriculum were at the high level.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

กริชต์จอมพล ภูจอมจิตฆ์, ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการจัดการการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการจัดการการศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

สมเจตน์ ภูศรี, รองศาสตราจารย์ สาขาวิชาการบริหารการจัดการการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

รองศาสตราจารย์ สาขาวิชาการบริหารการจัดการการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ไพศาล วรคำ, คณาจารย์ สาขาวิชาการบริหารการจัดการการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คณาจารย์ สาขาวิชาการบริหารการจัดการการศึกษา  คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม