การพัฒนาระบบการบริหารเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดหนองคาย THE DEVELOPMENT OF SMALL SCHOOLS NETWORK MANAGEMENT SYSTEM UNDER THE JURISDICTION OF NONGKHAI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหาร เครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดหนองคาย 2) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาระบบการบริหารเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดหนองคาย 3) พัฒนาระบบการบริหารเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดหนองคาย โดยใช้วิธีวิจัยเชิงพรรณนา ศึกษาเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก 3 ประเภท คือ ทวิภาคี ไตรภาคี และจตุภาคี ซึ่งประกอบด้วยด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ประชากร 241 คน กลุ่มตัวอย่าง 168 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์แอลฟา ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของระบบการบริหารเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัด สพป.นค. โดยรวมสภาพปัจจุบันอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุดงานด้านวิชาการ มีการปฏิบัติ และความต้องการมากที่สุด ส่วนค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) โดยรวมทั้ง 3 ประเภทพบว่า อันดับที่ 1) ด้านบุคลากร 2) ด้านวิชาการ 3) ด้านบริหารทั่วไป 4) ด้านงบประมาณ ร้อยละ 25.21, 24.93, 23.78 และ 22.45
2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัด สพป.นค. ประกอบด้วย ด้านวิชาการ 10 ตัวชี้วัด ด้านบุคลากร 7 ตัวชี้วัด ด้านบริหารทั่วไป 8 ตัวชี้วัด ด้านงบประมาณ 5 ตัวชี้วัด รวม 30 ตัวชี้วัด
3. ระบบการบริหารเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัด สพป.นค. ประกอบด้วย 1) ด้านปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย ด้านบุคลากร ด้านวิชาการ ด้านบริหารทั่วไป และด้านงบประมาณ 2) ด้านกระบวนการ ประกอบด้วย การวางแผน การดำเนินงานตามแผน และการประเมินผล 3) ด้านผลผลิต ประกอบด้วย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณภาพผู้เรียน ผลการตรวจสอบระบบพบว่า มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด
This research was proposed for the following:- 1) to study the current conditions and the adverse conditions of a small schools network management under the jurisdiction of Nongkhai primary educational service area office. 2) an analysis of the needs of the development of a small schools network management system under the jurisdiction of Nongkhai primary educational service area office. 3) the development of the small schools network management system under the jurisdiction of Nongkhai primary educational service area office. This was done by using the descriptive research, study 3 type of small schools network were bilateral, trilateral and four parties using which include input, process and output. The total people used amounted to 241 persons, the representative sample 168 persons. The instrument used in this study was a questionnaire. The statistics used in data analysis were :- average, percentage, standard deviation and coefficient alpha. The results showed that :-
1. The current conditions and the adverse conditions of a small schools network management under the jurisdiction of Nongkhai primary educational service area office was overall in a high level. The adverse conditions was in a high level. The academic work was the implementation and execution of the most demanding items. PNImodified showed overall of 3 type found, that in order it was 1) personnel 2) academic 3) general management 4) budget in percentage 21.21%, 24.93%, 23.78% and 22.45%.
2. The factors that affect a small schools network management under the jurisdiction of Nongkhai primary educational service area office are contained as follows:- academic side 10 indicators, personel side 7 indicators, general management 8 indicators and budget side 5 indicators which totaled 30 indicators.
3. The small schools network management system under the jurisdiction of nongkhai primary educational service area office contained 1) input :- personnel, academic, general management and budget 2) process:- planning, implementation of the plan and evaluation 3) output :- the achievement and the learners quality. The system monitoring found that appropriately, there is a possibility in practice of obtaining the highest level.