การพัฒนารูปแบบการนิเทศการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ THE DEVELOPMENT OF EDUCATIONAL SUPERVISION MODEL FOR PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICES IN THE NORTHEASTERN REGION
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินรูปแบบการนิเทศการศึกษาของสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา มีขั้นตอนการวิจัย 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาความต้องการจำเป็นและองค์ประกอบที่สำคัญในการนิเทศการศึกษา โดยการศึกษาเอกสาร สนทนากลุ่มกับกลุ่มเป้าหมายเป็นศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 27 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและสัมภาษณ์ เชิงลึก ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนิเทศการศึกษา ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ผู้อำนวยการ กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา ศึกษานิเทศก์ที่ทำหน้าที่หัวหน้ากลุ่มงานนิเทศ ติดตามและประเมินผลระบบบริหารและการจัดการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 15 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบการนิเทศการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะที่ 3 ตรวจสอบรูปแบบการนิเทศการศึกษา โดยใช้เทคนิคการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดย การวิเคราะห์เนื้อหา และการตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 4 ประเมินรูปแบบการนิเทศการศึกษา โดยสอบถามความคิดเห็นจากศึกษานิเทศก์ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 291 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม ความคิดเห็นเกี่ยวกับความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสมและความถูกต้องของรูปแบบ ในการนำไปปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1) รูปแบบการนิเทศการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นแบบแผนในการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันขององค์ประกอบในการดำเนินงานนิเทศการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการศึกษาที่กำหนด ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ คือ (1)การวางแผนกลยุทธ์ (2) การปฏิบัติการนิเทศ (3) การประเมินผล (4) การพัฒนาสมรรถนะผู้นิเทศ (5) การทำงานเป็นทีม
(6) การจัดการความรู้ และ (7) การสร้างเครือข่าย 2) รูปแบบการนิเทศการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีผลการประเมินด้านความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้องในการนำไปปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด
This research and development was purposed to develop and evaluate the educational supervision model of the primary education service area offices in the northeastern region of Thailand. The research consisted of 4 steps as follows: Step 1 : need study and important components for the educational supervision was the documentary study, focus group with 27 participants (including supervisors, school principals, and teachers).
In addition, a semi-structured in-depth interview with 15 participants who collaborate on the educational supervision (including the directors of primary educational service area offices, directors of the education supervision group who conduct the monitoring and evaluation, the supervisors who are the head of supervision team and in charge of the monitoring and evaluation the education management, school principals, and teachers) was used for content analysis. Step 2 : a model of the educational supervision processes was constructed. Step 3 : checking the educational supervision model by 12 experts based on the seminar, and step 4 : The educational supervision model was evaluated by a multi-stage random sample of 291 supervisors and a questionnaire which covered factors about its practical usefulness, feasibility, appropriateness, and accuracy was applied in this step. The earned data were analyzed to obtain mean and standard deviation.
Research findings were as follows:
1. The educational supervision model of the primary educational service area offices in the northeastern region of Thailand was the operational pattern which related to the components of the educational supervision process in order to develop the quality of educational administration by the primary education service area offices so as to achieve the designated educational objectives and targets which consisted of : 1) the strategic planning, 2) the execution of the supervision process, 3) the evaluation, 4) the competency development of supervisors, 5) the teamwork, 6) knowledge Management, and 7) networking.
2. The educational supervision model was evaluated the practical usefulness, feasibility, appropriateness, and accuracy. The findings revealed at the highest level.