การพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน DEVELOPMENT OF PERFORMANCE APPRAISAL SYSTEM FOR SUPERVISORS IN OFFICE OF THE BASIC EDUCATION COMMISSION

Main Article Content

ธนาศักดิ์ ศิริปุณยนันท์
ประยุทธ ชูสอน
พงษ์ศักดิ์ ภูกาบขาว

Abstract

                  การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 จำนวน 18 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ดำเนินการวิจัยและพัฒนา 5 ขั้นตอน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงทดลอง ผลการวิจัยสรุป ดังนี้

             1. การพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยผ่านกระบวนการพัฒนาระบบ ตามองค์ประกอบของการพัฒนาระบบ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การวิเคราะห์และสังเคราะห์ระบบ (system analysis and synthesis) 2) การออกแบบระบบ (system design) 3) การตรวจสอบและปรับปรุงระบบ (system verification and improvement) 4) การนำระบบไปใช้ (system implementation) และ 5) การประเมินระบบ (system evaluation) และองค์ประกอบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญของระบบ 4 องค์ประกอบ คือ ปัจจัยนำเข้า (input) กระบวนการ (process) ผลผลิต (outputs) และข้อมูลป้อนกลับ (feedback) และผลผลิตจากระบบได้สมรรถนะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ ได้แก่ 1) การนิเทศการสอน 2) การทำงานเป็นทีม 3) การวิจัยทางการศึกษา 4) การพัฒนาศักยภาพบุคลากร 5) การสื่อสารและการจูงใจ และ 6) การพัฒนาหลักสูตรและการสอน รวมถึงได้บทบาทของศึกษานิเทศก์ยุคปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง 4 บทบาท ได้แก่ 1) ผู้ประสานงาน (Coordinator) 2) ผู้ให้คำปรึกษา (Consultant) 3) ผู้นำกลุ่ม (Group Leader) และ 4) ผู้ประเมิน (Evaluator )

             2. ประสิทธิภาพของระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่งผลให้ศึกษานิเทศก์มีความรู้ ทักษะและสมรรถนะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานทั้งก่อนการพัฒนาและหลังการพัฒนาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

                 The objectives of this research were to develop and, evaluate development of the performance appraisal  system supervisor office of the Basic Education Commission . The target group of this study consisted of the supervisors under jurisdiction of the Office of Khon Kaen Primary Educational Service Area 3, assigning into experimental group 18 persons . They were selected by Purposive Sampling. There were 5 phases of implementation in Research and Development including: 1) theoretical framework investigation of system as the examination in theoretical framework, 2) the creation of system details, 3) the system investigation and improvement, 4) the construction of instruments for evaluating efficiency of system including: (4.1) the Response Reaction Evaluation Scale, (4.2) the Knowledge Evaluation Form, (4.3) Evaluation Form of Application in new Knowledge and Skill into Practice, and (4.4) the Evaluation Form of  supervisor behavior, and 5) the Programs were tried out in field work study by using Pre Experimental Design. The findings could be concluded as follows:

                 1. There were 6 parts of program for development of the performance appraisal  system supervisor office of the Basic Education Commission . : Part 1; the introduction, Part 2; the details of evaluate development of the performance appraisal  system supervisor office of the Basic Education Commission , Part 3; the instrument for evaluating efficiency of development of the performance appraisal  system supervisor office of the Basic Education Commission in field work study, and Part 4; the guidelines, conditions, and indicators of success in applying the system of development of the performance appraisal  system supervisor office of the Basic Education Commission .

                 2. The efficient system for development of the performance appraisal system supervisor office of the Basic Education Commission , could be viewed from: 1) the experimental group reacted on system for development of the performance appraisal  system supervisor office of the Basic Education Commission , in overall and each aspect, were in “Highest” level, 2) after development based on the system for evaluate development of the performance appraisal  system supervisor office of the Basic Education Commission , the experimental group obtained higher level of knowledge and skill of supervisor, they applied new knowledge into practice, and performances from practices, than before the development at  .05 level , and  3) after development based on system for development of the performance appraisal system supervisor office of the Basic Education Commission , from the experimental group, they obtained knowledge and skill , from observe , interview , and studies document , were significant higher than before study at .05 level.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

ธนาศักดิ์ ศิริปุณยนันท์, ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ประยุทธ ชูสอน, อาจารย์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อาจารย์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

พงษ์ศักดิ์ ภูกาบขาว, ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น