การพัฒนารูปแบบประสิทธิผลภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร โรงเรียนประถมศึกษาเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ THE MODEL DEVELOPMENT FOR EFFECTIVE INTRUCTIONAL LEADERSHIP OF ADMINISTRATORS IN THE PRIVATE PRIMARY SCHOOLS IN THE NORTHEAST REGION

Main Article Content

กุลวดี ใกล้ฝน
สวัสดิ์ โพธิวัฒน์
ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์
เพลินพิศ ธรรมรัตน์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบประสิทธิผลภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 305 คน  ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้บริหาร และครูวิชาการโรงเรียน 610 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย             เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.987  วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS for Windows และโปรแกรม MPlus ผลการวิจัยพบว่า

            รูปแบบประสิทธิผลภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามสมมติฐานที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยประสิทธิผลภาวะผู้นำทางวิชาการได้รับอิทธิพลรวมจากปัจจัยการพัฒนาตนเองสูงสุด มีอิทธิพลรวมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 มีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.95 ในขณะที่มีอิทธิพลทางตรงอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ มีค่าอิทธิพลเท่ากับ -1.20 และมีอิทธิพลทางอ้อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าอิทธิพลเท่ากับ 2.15 รองลงมาคือ การแสดงบทบาทในสถานการณ์จริง มีอิทธิพลรวมต่อประสิทธิผลภาวะผู้นำทางวิชาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมเท่ากับ 0.59 มีสัดส่วนของความเชื่อถือได้ในตัวแปรประสิทธิผลภาวะผู้นำทางวิชาการที่อธิบายได้ด้วยปัจจัยการพัฒนาตนเอง การเรียนรู้จากบุคคลอื่น การศึกษาดูงาน และการแสดงบทบาทในสถานการณ์จริงได้ร้อยละ 88 

This research aims to develop the effectiveness of instructional leadership of administrators in the private primary schools in the northeast, and verify the consistency of empirical data. According to the sample in 2013, the administrators of the private primary school, 305 schools. The informants are administrators, and 610 teachers. The sample is derived from sample random sampling. The research instrument uses 5 level rating scale questionnaire, that the reliability of questionnaire is about 0.987. SPSS for Window and Mplus  program are used for analysis the data, converted to descriptive statistics, and inferential statistics.

As the consequence of research, the hypothesis conforms to empirical data. The effectiveness of instructional leadership has the highest influent through self-development. The significant influence has the degree of 0.01, the influence is about 0.95. In the other hand, the direct influence in the statistical non-significant is about -1.20, and the indirect influence in the statistical significant is around 2.15. Follow by acting in the real situation, the influence in the statistical significant as the level of .01, which has both direct and indirect influence is 0.59. The proportion of reliability in the variable of instructional leadership effectiveness is described by self-development, learning from others, observation, and acting in the real situation as the percentage of 88 

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

กุลวดี ใกล้ฝน, ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร

ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร

สวัสดิ์ โพธิวัฒน์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร

ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร

เพลินพิศ ธรรมรัตน์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร