รูปแบบการพัฒนางานวิชาการด้วยหลักการบูรณาการ ในโรงเรียนมัธยมศึกษา ขนาดเล็ก A MODEL FOR ACADEMIC TASK DEVELOPMENT IN SMALL SECONDARY SCHOOL BY USING INTEGRATIVE PRINCIPLE

Main Article Content

อิสรียา พจนธารี
มัณฑนา อินทุสมิต
สวัสดิ์ โพธิ์วัฒน์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหางานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนางานวิชาการด้วยหลักการบูรณาการในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก 3) เพื่อทดลองปฏิบัติการใช้รูปแบบการพัฒนางานวิชาการด้วยหลักการบูรณาการในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก 4) เพื่อยืนยันความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนางานวิชาการด้วยหลักการบูรณาการในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก และการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) ตามวงจรการวิจัย DAMR (Diagnosis, Action, Measure, Reflect) โดยมีขั้นตอนการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาเอกสาร  แนวคิด ทฤษฎี สภาพปัญหา  และการพัฒนางานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก  ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบการพัฒนางานวิชาการด้วยหลักการบูรณาการในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก  ระยะที่ 3 การตรวจสอบยืนยันการใช้รูปแบบการพัฒนางานวิชาการด้วยหลักการบูรณาการในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก

            ผลการวิจัย พบว่า

                   1. การศึกษาสภาพและปัญหางานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก  พบว่า โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก มีปัญหาและข้อจำกัดหลายประการ ได้แก่ คุณภาพการศึกษาต่ำ โดยดูจากผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน  และงบประมาณไม่เพียงพอ  

                   2.  ผลการสร้างรูปแบบการพัฒนางานวิชาการด้วยหลักการบูรณาการในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก พบว่า กลยุทธ์ที่ใช้ในการพัฒนา ประกอบด้วย  1) กลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพครู 2) กลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพนักเรียน 3) กลยุทธ์เครือข่ายส่งเสริมการเรียนรู้ 

                   3. ผลการทดลองปฏิบัติการใช้รูปแบบการพัฒนางานวิชาการด้วยหลักการบูรณาการในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ตามวงจร DAMR 4 วงรอบ พบว่า กลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพครู กลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพนักเรียน และกลยุทธ์เครือข่ายส่งเสริมการเรียนรู้พัฒนางานวิชาการได้

4. ผลการใช้รูปแบบการพัฒนางานวิชาการด้วยหลักการบูรณาการในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก พบว่า มีความเหมาะสมกับบริบทพื้นที่

The  purposes  of this  research  were  to  1)  to study current  states, problems , and  needs  of  academic  potential  in  the  small secondary  schools,  2) to construct  the  model  for  academic  task  development  in  a  small secondary  schools  by  using  integrative  principles 3) to experiment  the model for academic task development in a small secondary schools  by using integrative  principles 4) and confirm the results  of the  model  for  academic  task  development  in  a  small secondary  schools by using  integrative  principles. A  Participatory  Action  Research  using DAMR cycle  consisted of   3  phases : 1) to study concepts,  theories,  current  states,  problems,  and  needs of  academic  potential  in  the  small secondary  schools  2) to construct  the  model  for  academic  task  development  in  a  small  secondary  schools  by using integrative principles and 3) to confirm the accuracy  the  model  for  academic  task  development  in  a  small secondary  schools by  using  integrative  principles. 

The research  findings  were  as  follows:

              1. The current  states,  problems,  and  needs  of  academic  potential  in  the  small secondary  schools were problematic as found limitations in the small secondary schools  having  the  quality of  education  as poor learner achievement and budget insufficiency.  

              2. The construction  the  model  for  academic  task  development  in  a  small secondary  schools  by  using  integrative  principles were  found the development  strategies : 1) the strategy in teacher capacity development, 2) the strategy in student capacity development, and 3) network strategy encouragement learning.

              3. The experiment for the  model  for  academic task  development in a  small secondary  schools by  using  integrative  principles  using  DAMR 4 cycles found the strategy in teacher capacity development, the strategy in student capacity development, and network strategy encouragement learning.

            4. The results of for the  model  for  academic  task  development  in  a  small secondary  schools by  using  integrative  principles found they were appropriate for the school contexts.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

อิสรียา พจนธารี, ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

มัณฑนา อินทุสมิต, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์  สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

สวัสดิ์ โพธิ์วัฒน์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์  สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์