รูปแบบการพัฒนาการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผลของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนชุมชนบ้านหัวขัว : การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม THE DEVELOPMENT MODEL OF SCHOOL BOARD COMMITTEE’ S EFFECTIVE ROLE OPERATION IN CHUMCHONBANHUAKHUA SCHOOL : PARTICIPATORY

Main Article Content

อิสสระ ซื่อสัตย์
มัฑณา อินทุสมิต
ภัทราพร เกษสังข์

Abstract

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา ความคาดหวัง และแนวทางพัฒนา การปฏิบัติงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ศึกษาผลการพัฒนาการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผลของกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) ศึกษารูปแบบการพัฒนาการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผลของกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้นำชุมชน 5 คน กลุ่มครู จำนวน 15 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 15 คน การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ขั้นการเตรียมการ ระยะที่ 2 ขั้นวางแผนพัฒนาการปฏิบัติงาน ระยะที่ 3 ขั้นดำเนินการปฏิบัติตามแผนพัฒนาการปฏิบัติงาน และระยะที่ 4 ขั้นสรุปผล การพัฒนาการปฏิบัติงานโดยใช้รูปแบบวงจรการพัฒนาตามแนวคิดของ James, Milenkiewicz & Bucknam ประกอบด้วย การวินิจฉัย (D) การปฏิบัติการตามแผน (A) การวัดผล (M) และการสะท้อนผล (R) เรียกวงจร D-A-M-R การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การประชุมระดมความคิด แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และประเมินรูปแบบโดยใช้รูปแบบของ Guskey ประกอบด้วยเกณฑ์ 4 ประการ ดังนี้ 1) ด้านความเป็นประโยชน์ 2) ด้านความเป็นไปได้  3) ด้านความเหมาะสม และ 4) ด้านความสอดคล้อง ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยภาพรวม พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษายังไม่ทราบถึงความสำคัญของบทบาทหน้าที่ของตนเอง ขาดความรู้ความสามารถ ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น และไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทอย่างจริงจัง ส่วนปัญหา พบว่า การไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง เนื่องมาจากไม่มีองค์ความรู้ด้านการบริหารงานทั้ง 4 ด้าน ไม่กล้า และไม่มั่นใจในตนเอง และคณะกรรมการมีความคาดหวังให้โรงเรียนพัฒนาเรื่องความรู้ความเข้าใจ และสร้างความตระหนักในบทบาทหน้าที่ และต้องการให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายรู้จักและรับทราบผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสถานศึกษา และแนวทางการพัฒนา ดังนี้ (1) ศึกษาปัญหา อุปสรรคการปฏิบัติหน้าที่ (2) สร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมคิด ร่วมปฏิบัติการ ร่วมประเมินผล และร่วมพัฒนางานอย่างยั่งยืน (3) พัฒนาความรู้ในบทบาทหน้าที่ (4) มอบอำนาจในบทบาท 

หน้าที่มากขึ้น (5) จัดประชุม อย่างน้อยภาคเรียนละ 2 ครั้ง (6) มีการประชาสัมพันธ์ (7) มีการตรวจสอบนัดหมายก่อนการประชุม และ (8) ร่วมกันวางแผนพัฒนาและทำงานร่วมกับทางโรงเรียนอย่างเป็นระบบ 2) ผลการพัฒนา พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่มากขึ้น มีความรู้สึกภาคภูมิใจในบทบาทหน้าที่ของตน มีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานและมีการทำงานเป็นระบบมากขึ้น และความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดโดยเฉพาะด้านการบริหารงานวิชาการ แต่ด้านที่พึงพอใจต่ำที่สุด คือ ด้านการบริหารงานงบประมาณ 3) รูปแบบการพัฒนาการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีรูปแบบดังนี้ โรงเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาร่วมคิด ร่วมปฏิบัติการ ร่วมประเมินผล และร่วมพัฒนางานอย่างยั่งยืนตามประเด็น ดังนี้ (1) ร่วมศึกษาสภาพและปัญหาการปฏิบัติงาน (2) สร้างความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับระเบียบการปฏิบัติงานของคณะกรรมการฯ (3) จัดแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบให้แก่คณะกรรมการฯ ให้ครอบคลุมงานบริหารโรงเรียนทั้ง 4 ฝ่าย (4) พัฒนาความรู้เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการฯ ในทุกด้าน และ (5) แนะนำและประชาสัมพันธ์ผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการฯ ให้ทุกฝ่ายรับทราบ

This participatory action research was designed : 1) to investigate the states, problems, expectations and development guideline of the school board committee’s operation, 2) to explore the development result of effective operation, and 3) to determine  the development models of the school board committee’s effective operation.  The target group in this research were 15 school board committee and 35 informants comprised  5 community leaders, 15 teachers and 15 parents.  The research methodology was divided into 4 phases : phase 1 the preparation; phase 2 the planning to improve the role operation;  phase 3 the acting according to the operational plan, and phase 4 the conclusion of the development of role operation. The development cycle was based on the concept of James, Milenkiewicz, and Bucknam which consisted of D-A-M-R : diagnose (D);  act (A); measure (M) and reflection (R).  The data were collected by in-depth interview, group discussion, brainstorming meetings and a questionnaire. The qualitative data were analyzed by content analysis and the quantitative data were analyzed by frequency, percentage, mean and standard deviation. The Guskey model was applied for model evaluation consisted of : 1) utility, 2) feasibility, 3) propriety, and 4) congruity.

              The research results were found as follows : 1) The overall aspect of the school board committee’s role operation found that the committee did not recognize the role importance, inadequate knowledge and capability, opinion presenting and do not perform their roles earnestly. The problems obviously found that the committee does not understand the basic roles because of inexperience in management of four aspects. The committee expected that the schools develop the realization and become aware of the roles. Furthermore, the stakeholders ought to know and acknowledge the committee’s role operation.  The development guidelines were suggested as : (1) study the problems of the work operation, (2) awareness and the participation in operation, evaluation and sustainable development , (3) developing the awareness of the roles,  (4) authorizing the committee more roles, (5) conduct the meeting at least 2 times per semester, (6) public relations, (7) checking and appointing before the meeting, and 8) planning and participative working with the schools methodically. 2) The development results indicated that the committee gain more awareness and proud of the roles. Besides, the committee participated in role operation methodically. The satisfaction with the role operation showed in overall aspect at the highest level especially on the instructional management but budget management was found at the lowest level.  3) The development model determined was to participate in thinking, operation, evaluation and development sustainably in the aspects as follows : 1) to participate in the study of the states and problems of role operation, 2) to endeavor the committee’s operation regulation, 3) to authorize the committee throughout the four aspects of school management, 4) to develop the committee’s roles in all aspects, and 5) to introduce and publicize the result of the committee’s role operation. 

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

อิสสระ ซื่อสัตย์, ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

มัฑณา อินทุสมิต, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

ภัทราพร เกษสังข์, รองศาสตราจารย์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

รองศาสตราจารย์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย