การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 PARTICIPATORY ACTION RESEARCH FOR DEVELOPMENT OF EDUCATIONAL ADMINISTRATION MODEL FOR SMALL SCHOOLS UNDER KHON KAEN

Main Article Content

สมศักดิ์ ภูมิกอง
มัณฑนา อินทุสมิต
ภัทราพร เกษสังข์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และปัญหาการบริหารจัดการศึกษา 2) ศึกษาความคาดหวังและแนวทางการพัฒนา และ 3) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมตามแนวคิดของ James, Milenkiewicz & Bucknam มี 4 ขั้น คือ การวินิจฉัย (D) การปฏิบัติตามแผน (A) การวัด (M) และการสะท้อนผล (R) เรียกว่าวงจร DAMR และประเมินรูปแบบ ตามแนวคิดของ Guskey ประกอบด้วย  1) ด้านความเป็นประโยชน์ 2) ด้านความเป็นไปได้ 3) ด้านความเหมาะสม และ 4) ด้านความสอดคล้อง พื้นที่วิจัยเป็นโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต  2  จำนวน  3 โรง กลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มครู จำนวน 11 คน กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 10 คน ผู้นำชุมชน จำนวน 9 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 9 คน และนักเรียน จำนวน 151 คน การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสังเกต สัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

             1) สภาพปัจจุบัน พบว่า การบริหารโรงเรียนขนาดเล็กยังไม่มีประสิทธิภาพ ครูไม่ครบชั้น สอนไม่ตรงตามวิชาเอก และไม่มีห้องปฏิบัติการ งบประมาณที่ได้รับจัดสรรไม่เพียงพอ การบริหารงานทั่วไปขาดการทำงานที่เป็นระบบ ครูต้องรับผิดชอบงาน 2) ความคาดหวัง พบว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอยากให้โรงเรียนบริหารจัดการศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการร่วมมือกันกับโรงเรียนอื่น และแนวทางควรมีการพัฒนาครูในสาขาที่ขาดแคลน ใช้สื่อการเรียนการสอนร่วมกัน มีการนิเทศติดตามการจัดการเรียนการสอน ระดมงบประมาณ การเรียนรวมชั้นเรียนใหม่ และจัดบูรณาการหลักสูตร 3) ผลการพัฒนารูปแบบ พบว่า ในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กให้มีประสิทธิภาพได้ดำเนินการบริหารงานแบบเครือข่ายความร่วมมือระหว่างโรงเรียนด้วยกัน จำนวน 3 โรงโดยใช้ชื่อว่า “จิ๊กซอ ทรี อิน วันโมเดล” โดยการบริหารร่วมกันทั้ง 4 งาน 

This participatory action research for the development of the educational administration model for the small schools under Khon Kaen Primary Educational Service Area Office 2 aimed : 1) to explore the state and problems of the educational administration, 2) to find out the expectation and development guideline for the educational administration model, and 3) to develop the model of the educational administration for the small schools.  The concept of James, Milenkiewicz and Buckam (DAMR) was applied for the research methodology which comprised diagnose (D); act (A); measure (M); and reflection (R).   The model was evaluated based on the concept of Guskey consisted of the 1) utility, 2) feasibility, 3) propriety, and 4) congruity. The data were gathered from 3 small schools under Khon Kaen Primary Educational Service Area Office 2. The target group consisted of 11 teachers, 10 school board committee, 9 community leaders, 9 parents and 151 pupils. The research instruments for data collection were focus group discussion, in-depth interview, brainstorms and a questionnaire. The qualitative data were analyzed by content analysis whilst the quantitative data were analyzed by frequency, percentage, mean and standard deviation.

            The research results were as follows : 1) The current state was clearly found that the educational administration for small schools was inefficient, low achievement because the inadequacy of teachers thus the number of teachers are not fit to the classrooms. Additionally the teachers did not teach the subject which fit to their potential or graduated.  The inadequacy affected the lack of the laboratory. The budget is insufficient for the activities developed the pupils and teachers. The general administration was unsystematic and the teachers are supernumerary which are not teaching. 2) For the expectation, it was found that the stakeholders wanted the schools manage efficiently by co-operation with other schools,           and The guidelines as a development the teachers in deficient subjects, the instructional materials are shared, supervision and following up the result must be conformed with each other, budget management is managed together, arrange new classroom and integrates the curriculum from three schools 3) The result of the model development indicated that effective administration was to construct the 3 school network on behave of “Jigsaw 3 in 1 Model”. 

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

สมศักดิ์ ภูมิกอง, ดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

ดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

มัณฑนา อินทุสมิต, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

ภัทราพร เกษสังข์, รองศาสตราจารย์ ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

รองศาสตราจารย์ ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม