ข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย POLICY PROPOSALS FOR GRADUATE SCHOOL EDUCATIONAL ANAGEMENT AT MAHAMAKUT BUDDHIST UNIVERSITY

Main Article Content

ชิษณพงศ์ ศรจันทร์
บุญช่วย ศิริเกษ
สวัสดิ์ โพธิวัฒน์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 2) สร้างข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยในด้านการบริหารจัดการ ด้านหลักสูตร  ด้านคณาจารย์ ด้านนักศึกษา ด้านการเรียนการสอน และด้านการวิจัย ในองค์ประกอบ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และแนวทาง โดยอิงความเหมาะสมและเป็นไปได้ ด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงนโยบาย ซึ่งดำเนินการ 3 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นขั้นการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เอกสาร การวิจัยเชิงสำรวจ และการสัมภาษณ์เชิงลึก ระยะที่ 2 เป็นขั้นการพัฒนาร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย โดยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ และ ระยะที่ 3 เป็น ขั้นการตรวจสอบร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย เป็นการประชุมวิพากษ์ร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย

            ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านการบริหารจัดการ มหาวิทยาลัยกระจายอำนาจการบริหารมายังหน่วยงานตามวิทยาเขตที่ได้มีการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เร่งพัฒนาบรรยากาศวิชาการโดยการเปิดสาขาวิชาในระดับบัณฑิตศึกษาต่าง ๆ ที่ตลาดมีความต้องการให้ครบ พัฒนาห้องเรียนระดับบัณฑิตศึกษาเป็น Smart Room 2) ด้านหลักสูตร จัดสรรกิจกรรมส่งเสริมการศึกษาวิเคราะห์ปรับปรุงหลักสูตร พัฒนาศักยภาพอาจารย์ประจำหลักสูตรแต่ละสาขาให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 3) ด้านคณาจารย์ สรรหาอาจารย์ที่มีคุณสมบัติตามมาตรฐานหลักสูตร เสริมสร้างขวัญกำลังใจที่ดีให้กับคณาจารย์ และพัฒนาระบบการส่งเสริมความก้าวหน้าของอาจารย์ในการทำงานในองค์กร 4) ด้านนักศึกษา พัฒนาระบบการคัดเลือกนักศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักศึกษา ระบบดูแลช่วยเหลือนักศึกษาเพื่อป้องกันการไม่จบการศึกษา ส่งเสริมกิจกรรมการสร้างจิตอาสาให้แก่นักศึกษาในการทำตนให้เป็นประโยชน์แก่สังคมและส่วนรวม 5) ด้านการเรียนการสอน จัดหาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเรียนการสอน ที่มีคุณภาพอย่างพอเพียงให้สาขาวิชาต่างๆ จัดการอบรมการใช้สื่อการเรียนการสอนให้อาจารย์ทุกสาขาวิชา จัดเตรียมระบบ wi-fi ทุกๆ ห้องเรียนเพื่อค้นคว้าข้อมูลในอินเทอร์เนต มีการสอนโดยใช้ social media 6) ด้านการวิจัย ส่งเสริมเจตคติที่ดี และการเป็นนักวิจัยที่ดีให้คณาจารย์ จัดโครงการพัฒนาบุคลากรและเสริมสร้างศักยภาพการวิจัย ส่งเสริมการทำวิจัยของคณาจารย์ ปรับปรุงการเรียนการสอนวิจัยให้นักศึกษาสามารถเข้าใจหลักการทำวิจัย จัดสรรงบประมาณสำหรับเป็นทุนให้ผู้ทำวิจัย พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบการวิจัย

This research aimed to 1) study the conditions and problems and 2) propose policy proposals for educational management of Graduate School at Mahamakut Buddhist University in the aspects of administrative management, academic, human resource and finance. The objectives, goals and guidelines based on appropriateness and possibility were analyzed in three steps.  The first step was quantitative data collection and analysis, which using the techniques of document analysis, survey and deep interview. The second step was development the draft of policy proposals using a technique of group discussion by specialists. The last step was assessment of the policy proposals.

The results were as follows:

            1) For the administrative management, Mahamakut Buddhist University should decentralized to the Graduate Schools in each campus, Accelerate the academic atmosphere by opening a branch in graduate studies at the market, there needs to be completed. Graduate students developed a Smart room.        2) For the allocation of activities to promote the study course curriculum. Development of faculty members in each field according to the standards of the Commission on Higher Education. 3) For the academic staff recruiting instructors with qualifying standard curriculum. Developed to promote the advancement of teachers working in the organization  4) For the students developed the admission system to be more efficient. Development of desired characteristics of students. Development of care to protect students does not graduate. Promote a mental subject to students in making their socially beneficial and collective. The students developed the admission system to be more efficient. Development of desired characteristics of students. Care system to prevent students do not graduate  5) For the acquisitions of innovative teaching and technology teaching. Quality sufficient to study the various training and teaching materials to teachers of all disciplines. Provisioning Wi-Fi every classroom to researching the internet. Are taught using social media. 6) For the Research to promote a good attitude. And a researcher at the faculty. Promotion of faculty research to improve teaching students to understand the research. The capital budget for the research. Supply of equipment needed to do research for a professor. Development of information system to be used as research material.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

ชิษณพงศ์ ศรจันทร์, ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย

ดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย  

บุญช่วย ศิริเกษ, รองศาสตราจารย์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย

รองศาสตราจารย์  สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย

สวัสดิ์ โพธิวัฒน์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์