รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตตรวจราชการที่ 11 A Model of Teacher Leadership Development for internal Quality Assurance under the Office of Basic Education Com

Main Article Content

กษมน มังคละคีรี
ปรีชา คัมภีรปกรณ์
ชนินทร์ วะสีนนท์
สวัสดิ์ โพธิวัฒน์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำครูเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา  2) สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา  3) ประเมินผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตตรวจราชการที่ 11 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (R&D) ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำครูและยกร่างรูปแบบการพัฒนา เพื่อกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย องค์ประกอบภาวะผู้นำครูเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบการพัฒนาโดยการวิเคราะห์เอกสาร และกรณีศึกษาดูงานโรงเรียนดีเด่นที่ปฏิบัติเป็นเลิศ (Best Practice) ด้านการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา จำนวน 2 โรงเรียน ระยะที่ 2 การตรวจสอบและปรับปรุง รูปแบบการพัฒนาโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน เพื่อนำแนวคิดมาสร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา  เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง  (Structured  Interview)ตรวจสอบความเหมาะสมและยืนยันรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน และระยะที่ 3 การตรวจสอบประสิทธิผลของรูปแบบ โดยการนำรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาไปทดลองใช้ จำนวน 1 โรงเรียน และสรุปผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินภาวะผู้นำครูเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

       ผลการวิจัยพบว่า

           1. องค์ประกอบภาวะผู้นำครูเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานใน เขตตรวจราชการที่ 11 ประกอบด้วย  3  องค์ประกอบหลัก  ดังนี้  คือ องค์ประกอบหลักที่ 1) บุคคลแห่งการเปลี่ยนแปลง องค์ประกอบหลักที่ 2) การพัฒนาตนเองและเพื่อนร่วมงาน และองค์ประกอบหลักที่ 3) ความเป็นมืออาชีพ
          2. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาประกอบด้วย 1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) เอกสารประกอบการพัฒนา 4) วิธีการพัฒนา และ 5) การวัดและการประเมินผล ส่วนวิธีการพัฒนา มี 3 ระยะ คือ ระยะก่อนปฏิบัติการ ระยะปฏิบัติการ และระยะติดตามผล

          3. ผลการประเมินการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สรุป ดังนี้  3.1) ก่อนทดลองใช้รูปแบบการพัฒนา ครูมีภาวะผู้นำครูเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และหลังการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3.2)การเปรียบเทียบผลการประเมินภาวะผู้นำครูเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ก่อนและหลังการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาพบว่าการพัฒนาภาวะผู้นำครูเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโดยรวมมีความก้าวหน้า 3.3) การเปรียบเทียบผลการประเมินภาวะผู้นำครูเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา หลังการทดลองใช้รูปแบบพัฒนากับหลังการฝึกปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาพบว่า ครูมีความก้าวหน้าในการพัฒนาภาวะผู้นำครูโดยรวมมีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้น

This study aimed to 1) investigate factors of teacher leadership for internal quality assurance, 2) build and develop a model of teacher leadership for internal quality assurance, and 3) evaluate effects of the experiment of a model of teacher leadership development under the Office of the Basic Education Commission in Inspection Region 11. This R&D research was conducted in 3 stages: STAGE ONE included investigation of factors on teacher leadership and a draft of a model of development for setting a framework of the research, factors of teacher leadership for internal quality assurance, a model analysis of model development as well as case studies of best practice schools on school internal quality assurance in 2 schools, STAGE TWO comprised investigation and improvement of development model by  in-depth interview  in order to get ideas for building a model of teacher leadership development. Tools used to collect data comprised structured interview along with investigation for appropriateness together with confirmation of experts. STAGE THREE was composed of identification of effectiveness of a model through an application of a model on teacher leadership for internal quality assurance to be experimented in 1 school as well as conclusion of the experiment employing a development model. An instrument employed was a form of evaluation on teacher leadership for school internal quality assurance.

Findings were as follows:

           1. The factors of teacher leadership for internal quality assurance under the office of the Basic Education Commission in Educational Inspection Region 11 consisted of 3 main components as follows: Key Factor 1- a person of transformation Key Factor 2- self-development and Colleague  development comprising participation; Key Factor 3- professionalism including

           2. The model of teacher leadership for internal quality assurance included: 1) principles, 2) objectives, 3) supplementary text for development, 4) development process, and 5) measurement and evaluation. The development process was composed of 3 stages: pre-training, practical training, monitoring.

                        3. The effects of experiment using the model of teacher leadership for internal quality assurance could be summarized: 3.1) Before the development model applied, the teachers obtained leadership for internal quality assurance at the moderate level and after the experiment, the model of teacher leadership for internal quality assurance was at the highest level 3.2) Regarding the comparison on the experiment of teacher leadership for internal quality assurance, it was found that  teacher leadership for internal quality assurance, in general and 3.3) The comparison of evaluation effects of teacher leadership for internal quality assurance after the model experiment and after the training session of the development activities found that the teachers gained the development progress of teacher leadership through the increasing Percentage 

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

กษมน มังคละคีรี, นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ปรีชา คัมภีรปกรณ์, รองศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชาการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

รองศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชาการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ  มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชนินทร์ วะสีนนท์, รองศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชาการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

รองศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชาการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ  มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

สวัสดิ์ โพธิวัฒน์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชาการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ประจำสาขาวิชาการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร