การพัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ THE DEVELOPMENT OF EFFICIENCY ACADEMIC

Main Article Content

วทัญญู ภูชาดา
ภิญโญ มนูศิลป์
ยุพร ริมชลการ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาตัวบ่งชี้การบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล  ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กระทรวงศึกษาธิการ  โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยดังนี้  1) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารงานวิชาการที่มี และ 2) เพื่อทดสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้การบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลกับข้อมูลเชิงประจักษ์  การดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการจัดทำตัวบ่งชี้เชิงทฤษฎีโดยการวิเคราะห์เอกสาร และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 16  คน แล้วรวบรวมสังเคราะห์เป็นตัวบ่งชี้องค์ประกอบของการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กระทรวงศึกษาธิการ  และขั้นตอนการทดสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนเหล่านั้น กับข้อมูลเชิงประจักษ์  กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นผู้บริหารและครูของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจำนวน 1200  คน  จาก 400 โรงเรียน ซึ่งได้มาจากการสุ่ม แบบหลายขั้นตอน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามความเหมาะสมของตัวบ่งชี้ มีลักษณะเป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ เพื่อหาค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติเพื่อพิจารณาความเหมาะสมของข้อมูลที่จะมาวิเคราะห์องค์ประกอบ คือ ค่า Bartlett test of Sphericityและค่า Measure of  Sampling Adequacy (MSA)และใช้โปรแกรม LISREL 8.52 วิเคราะห์องค์ประกอบและตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลที่พัฒนากับข้อมูลเชิงประจักษ์

            ผลการวิจัยพบว่า

            1)ได้ตัวบ่งชี้การบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล  ของโรงเรียน จำแนกได้เป็น 5 องค์ประกอบหลัก 21 องค์ประกอบย่อย  93ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ด้านการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา   มีจำนวน 5 องค์ประกอบย่อย 23 ตัวบ่งชี้  ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ มีจำนวน 5 องค์ประกอบย่อย 23  ตัวบ่งชี้ด้านกระบวนการนิเทศภายใน  มีจำนวน 4 องค์ประกอบย่อย 20 ตัวบ่งชี้ด้านกระบวนการประกันคุณภาพภายใน มีจำนวน 4 องค์ประกอบย่อย 15  ตัวบ่งชี้ และด้านการประเมินผลการเรียนรู้  มีจำนวน 3 องค์ประกอบย่อย  12 ตัวบ่งชี้

2)ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวบ่งชี้  พิจารณาจากค่าสถิติดังนี้ คือ    = 14.22  df  =69  p-value = 1.00       / df  =0.02608   GFI=1.00  AGFI= 1.00 CFI= 1.00  Standardized RMR= 0.018  RMSEA= 0.00  และ Critical  N =2793.35   ค่า Largest  Standardized  Residual = 1.67 โมเดลที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นไปตามสมมติฐาน

This study was designed to study the indicators of the efficient academic  administration  in  schools  under  the  Secondary  Educational  Service  Area  Offices, the Office  of  the Basic  Education  Commission, ministry  of  Education  which the research purposes were : 1) to develop the indicators of the efficient academic  administration  in the schools, and 2) to examine  the  goodness of fit for the structural model indicators with the empirical data. 

            The research methodology was  divided into two phases. The first phases was documentary analysis and interviewed with 16 experts then collected the data and synthesized them for the indicators of the  efficient academic affair  administration .  The second phase was the  examining  the structural model’s goodness of fit with the empirical data.  

            The multi-stage random sampling was applied for 1,200 principals and teachers drawn from 400 schools.  The research instruments for data collection consisted of an interview and a 5-point rating scale questionnaire.  The quantitative data were analyzed to obtain mean, standard deviation then Bartlett test of Sphericity and measure of sampling adequacy (MSA) were used for the appropriateness of the data for the factor analysis.  LISREL was also used for the factor analysis and checking the consistency of developed model with the empirical data.

            The findings of this study were summarized as follows :

            1)  The indicators of the efficient academic  affair  administration  were evidently classified into 5 core factors, 21 sub factors and 93  indicators.  They are the school  curriculum management  with 5 sub factors and  23  indicators ; the learning  process  development  with 5 sub factors and 23  indicators ; the personalized supervision  with 4 sub factors and 20 indicators ;   the quality  assurance with 4 sub factors and 15 indicators  and the last one is the learning  evaluation  with 3 sub factors and 12 indicators.

            2)  The goodness of fit test of the indicators’ confirmatory factor analysis model found the developed models were fit to the empirical data following the hypotheses and based on the statistics as follows  :      = 14.22,   df = 69,  p-value = 1.00,         /df =0 .02608,  GFI =1 .00,  AGFI = 1.00 , CFI = 1.00,  Standardized RMR = 0.018,  RMSEA = 0.00 Critical N = 2793.35 and Largest  Standardized  Residual = 1.67.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

วทัญญู ภูชาดา, ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

ภิญโญ มนูศิลป์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

ยุพร ริมชลการ, รองศาสตราจารย์บัณฑิตพิเศษ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

รองศาสตราจารย์บัณฑิตพิเศษ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย