รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชน แห่งการเรียนรู้แบบวิชาชีพในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ THE STRUCTURAL EQUATION MODEL OF FACTORS AF

Main Article Content

บุญมี เลิศศึกษากุล
พิมพ์อร สดเอี่ยม
สุคนธ์ สุคนธรัตนสุข

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้แบบวิชาชีพในโรงเรียน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์  2) ศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้แบบวิชาชีพในโรงเรียน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่  ผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน2,460 คน  นำข้อมูลมาหาค่าเฉลี่ยรายโรง โดยวิธี Aggregate  ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 820 แห่ง  ใช้หน่วยการวิเคราะห์เป็นโรงเรียน ได้มาด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม               ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นบนพื้นฐานแนวคิด ทฤษฎีของตัวแปรที่นำมาศึกษา ซึ่งมีค่าความเที่ยงของตัวแปรแฝงระหว่าง  0.960 – 0.983  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อหาค่าความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้  ค่าความโด่งและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน  และตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง และความสอดคล้องระหว่างรูปแบบสมมติฐานการวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์  ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้

              1. รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้แบบวิชาชีพในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าสถิติ ดังนี้ ค่าc2 =7.53, df =16, p-value =0.96, RMSEA = 0.00, SRMR = 0.00, CN = 3468.06, GFI = 1.00, AGFI = 0.99, LSR = 1.55  และค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (c 2/df) = 0.47

              2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้แบบวิชาชีพในโรงเรียน  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พิจารณาจากค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลจากมากไปหาน้อย ดังนี้  1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรง มี 3 ปัจจัย คือ ความผูกพันต่อโรงเรียนของครู   รองลงมา คือ บรรยากาศโรงเรียน   และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร  โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.43, 0.26 และ 0.25 ตามลำดับ  2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมมี 2 ปัจจัย คือ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร รองลงมา คือ บรรยากาศโรงเรียน  โดยมีค่า สัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ 0.84 และ 0.27 และ 3) ปัจจัยที่มี

อิทธิพลรวม มี 3 ปัจจัย คือ  ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร รองลงมา คือ  ความผูกพันต่อโรงเรียนของครู  และบรรยากาศโรงเรียน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.84,  0.43 และ 0.37 ตามลำดับ   

              เมื่อพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้แบบวิชาชีพในโรงเรียน ทั้ง 3 ปัจจัย จากค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R2)  พบว่า ตัวแปรที่นำมาศึกษาในรูปแบบสามารถอธิบายความแปรปรวนของการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้แบบวิชาชีพในโรงเรียน  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ร้อยละ 78

The purpose of this study was 1) to investigate the structural equation model of factors affecting the professional learning community in schools under the office of the basic education commission in the northeast of Thailand. 2) to study the factors that affect the professional learning community in schools under the office of the basic education commission of Thailand in northeast effectiveness.

              The samples were 820 selected schools. Each school consists of one administer and 2 teachers. Therefore, there are 820 administers with 1,640 teachers. Multi-stage random sampling was applied to these selected 2,460 participants. The collected data was used to find the average value for each school by using aggregate method. The research instrument for data collection was 5-point rating scale questionnaire with its reliability of 0.960-0.983. The earned data were analyzed to obtain frequency, percentage, mean, standard deviation, skewness, kurtosis and Pearson’s product moment correlation coefficient.  LISREL version 8.52 was also employed to investigate the validity of the structure and the hypothesis’s goodness of fit with the empirical data. Data analysis showed the following results :

                   1. According to the statistic valuec2=7.53, df =16, p-value=0.96, RMSEA=0.00, SRMR= 0.00, CN = 3468.06, GFI=1.00, AGFI=0.99, LSR = 1.55, and c 2/df = 0.47. It revealed significantly the model which theoretically developed was fit with the empirical data.

                   2.   The factors that affect the professional learning community in school under the office of the basic education commission in the northeast of Thailand effectiveness considered with the influence coefficient from the highest to the lowest are being shown as the following :

                        The direct effect has three factors: teacher’s school commitment ; school climate and transformational leadership  with the influence coefficients = 0.43, 0.26  and 0.25 respectively.

                        The indirect effect has two factors: transformational leadership with the influence coefficients = 0.84 and school climate with the influence coefficients = 0.27.

                        The total effect has three factors:  transformational leadership with the influence

coefficients = 0.84,  followed by teacher’s school commitment with the influence coefficients = 0.43 and school climate with the influence coefficients = 0.37  respectively.

Based on the findings and conclusions of this study of the three factors, which are teacher’s school commitment, transformational leadership and school climate, the predictive coefficient (R2) indicated that the studied variables could be described as the variance of the professional learning community in school under the office of the basic education commission in the northeast of Thailand which the effectiveness is at 78 percent.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

บุญมี เลิศศึกษากุล, ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

ดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาการบริหารการศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

พิมพ์อร สดเอี่ยม, รองศาสตราจารย์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

รองศาสตราจารย์  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

สุคนธ์ สุคนธรัตนสุข, รองผู้อำนวยการ วิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น

รองผู้อำนวยการ   วิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น