รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ A Model For Instructional Leadership Development of School Administrators Under the Primary Educational Area in the Northeast
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3) ประเมินรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่พัฒนาขึ้น สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (R&D) ดำเนินการวิจัยเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 กำหนดกรอบแนวคิดการวิจัยโดยการวิเคราะห์เอกสารและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 2 กำหนดรูปแบบการพัฒนา โดยการสร้างคู่มือการพัฒนา และระยะที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบ เป็นการทดลองกับผู้บริหารสถานศึกษาที่เป็นกลุ่มทดลองใช้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 จำนวน 15 คน ระยะที่ 4 การสรุปและประเมินผลรูปแบบการพัฒนา โดยการสรุปผลการทดลองใช้
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ การมีวิสัยทัศน์ เป้าหมายและพันธกิจการพัฒนาคุณภาพการศึกษา การบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ การนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอน การสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมการเรียนรู้ และการพัฒนาวิชาชีพครู
2. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ 3) เอกสารประกอบการพัฒนา 4) กระบวนการของรูปแบบ และ5)การติดตามผลและการประเมินผล
3. ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาพบว่า ผู้บริหารสถานศึกษามีความก้าวหน้าในการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการคิดเป็นค่าร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ14.52 และผู้บริหารสถานศึกษามีความคงสภาพของภาวะผู้นำทางวิชาการคิดเป็นค่าร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 30.56 ในภาพรวมความสมบูรณ์ถูกต้องของรูปแบบอยู่ในระดับ มากที่สุด
The purposes of this research were 1) to examine the components of instructional leadership development for school administrators, 2) to construct a model of instructional leadership development for school administrators, and 3) to validate the developed model of instructional leadership development for school administrators under the Primary Educational Area. The Research and Development (R&D) consisted of four phases: Phase 1, research conceptual framework examining component by Descriptive Analysis, Phase 2, A model of instructional leadership was constructed and improved by the specialists. Phase 3, The constructed model was tried out. A model for instructional leadership development for school administrators were implemented. Phase 4, To summarize and assessment by trying out.
The finding were as follows.
1. The components of instruction leadership for school administrations were. 1) vision, goal and mission of development education quality, 2) Curriculum and teaching management, 3) Supervision monitoring and Learning management, 4) Learning climate promotion and Learning culture and 5) Teacher development .
2. The developed model of instructional leadership for school administrators comprised 1) Principles, 2) Objectives, 3) Development documentation, 4) Procedures, and 5) Monitoring and evaluation.
3. The effects after the model implementation revealed that 1) the mean scores after the workshop was higher than that of before the workshop with the progressive percentage of 14.52 and the participating school administrators reported the retention on instructional leadership with the progressive percentage of 30.56. The overall accuracy of the model is complete at the highest level.