รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25 THE STRUCTURAL EQUATION MODEL OF FACTORS AFFECTING THE TEACHER PERFORMANCE EFFICIENCY IN SECONDARY EDUCAT

Main Article Content

จตุพร วงศ์โพธิสาร

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 กับข้อมูลเชิงประจักษ์  2) ศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 855 คน ได้มาโดยใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราประมาณค่า 5 ระดับ            มีค่าความเชื่อมั่นของตัวแปรระหว่าง 0.9027-0.9063 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS                หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้  ค่าความโด่งและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และใช้โปรแกรม LISREL 8.52  วิเคราะห์ตรวจความตรงเชิงโครงสร้าง และตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของรูปแบบสมมติฐานการวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้                                     1.  รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าc 2= 25.33, df=56, p = 0.99, RMSEA=0.00, GFI=1.00, AGFI=0.99,  CN=2823.14, LSR=1.86  และปัจจัยภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร บรรยากาศของโรงเรียนและแรงจูงใจในการทำงานของครู สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ได้ร้อยละ 100 รองลงมา คือ และบรรยากาศของโรงเรียนและแรงจูงใจในการทำงานของครู โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ 0.65, 0.24  และ 0.17 ตามลำดับ                                          2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมมี 2 ปัจจัย คือ ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร และบรรยากาศของโรงเรียนโดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ 0.35  และ  0.07 ตามลำดับ 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลรวม มี 3 ปัจจัย เรียงจากมากไปหาน้อย คือ ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร รองลงมา คือ บรรยากาศของโรงเรียน และแรงจูงใจในการทำงานของครู โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ 100, 0.31 และ 0.17 ตามลำดับ 

The purposes of this study were 1) develop and validate the linear structural equation model of factors affecting  the  teacher efficacy performance in school in secondary educational service area 25  2) to study direct, indirect and total effects of the factor on the teacher efficacy performance in school in secondary educational service area 25. The samples were 68 selected schools with 855 participants which multi-stage random sampling was applied.  The research instrument for data collection was 5-point rating scale questionnaire with its reliability of variables between 0.9027-0.9063. The earned data were analyzed to obtain frequency, percentage, mean, standard deviation, skewness, kurtosis and Pearson’s product moment correlation coefficient with SPSS for Windows version 16.  LISREL version 8.52 was also employed to investigate the validity of the structure and the hypothesis’s goodness of fit with the empirical data.

            Data analysis showed the following results :

            1.   According to the statistic valuec 2= 25.33, df=56, p=0.99, c 2/df=0.45,  RMSEA=0.00,  GFI=1.00,  AGFI=0.99, CN=2823.14, LSR=1.86. It revealed significantly the model which theoretically developed was fit with the empirical data.

            2.  The direct, indirect and total effects affecting the school effectiveness as follows : 1) Direct effect has three factors : visionary leadership and followed by school climate, and teacher motivation with the influence coefficients 0.65, 0.24 and 0.17 respectively. 2)  Indirect effect has two factors : visionary leadership and school climate with the influence efficient 0.35 and 0.07 respectively. 3)  The total effect has three factors : visionary leadership, school climate and teacher motivation with the influence coefficients 1.00, 0.31 and 0.17 respectively. Based on the findings and conclusions of this study, the predictive coefficient (R2) indicated that the 3 variables could describe the variance with teacher performance efficiency at 100 percent.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

จตุพร วงศ์โพธิสาร, ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

ดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาการบริหารการศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย