รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางการวิจัยของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในเขตตรวจราชการที่ 11 The Development Model of Research Leadership of Teachers Under the Primary Educational Service Area Office in the Inspection Region 11

Main Article Content

กรกฎ พลตรี
ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์
สวัสดิ์ โพธิวัฒน์
สำราญ กำจัดภัย

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1)   ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำทางการวิจัยของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในเขตตรวจราชการที่ 11  2)  สร้างและพัฒนารูปแบบการภาวะผู้นำทางการวิจัยของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในเขตตรวจราชการที่ 11  3)  ตรวจสอบประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางการวิจัยของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในเขตตรวจราชการที่ 11   ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา  ดำเนินการ  3  ระยะ  คือ  ระยะที่ 1  การศึกษารูปแบบประกอบด้วย  การวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ  ระยะที่ 2  การร่างและสร้างรูปแบบประกอบด้วย  การร่างรูปแบบ  ตรวจสอบร่างรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ  การสร้างและยืนยันรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ  ระยะที่  3  การทดลองใช้รูปแบบในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร  ครูจำนวน 15 คน  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

ผลการวิจัย  พบว่า  1)  องค์ประกอบของภาวะผู้นำทางการวิจัยของครู มี  5  องค์ประกอบ  คือ  การมีความเข้าใจทางการวิจัย  การมีวิสัยทัศน์ทางวิชาการ  การเป็นครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง  การเป็นครูผู้นำด้านการบริหารจัดการ และการมีจรรยาบรรณและเป็นแบบอย่างทางการวิจัย  ภาวะผู้นำทางการวิจัยของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในเขตตรวจราชการที่ 11  โดยรวมอยู่ในระดับมากเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย  คือ  การเป็นครูผู้นำด้านการบริหารจัดการ  การเป็นครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง  การมีวิสัยทัศน์ทางวิชาการ  การมีจรรยาบรรณและเป็นแบบอย่างทางการวิจัย  และการมีความรู้ทางการวิจัย  ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือการเป็นครูผู้นำด้านการบริหารจัดการ  และด้าที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือการมีความเข้าใจทางการวิจัย  2)  รูปแบบการภาวะผู้นำทางการวิจัยของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในเขตตรวจราชการที่ 11 ประกอบด้วย  หลักการของรูปแบบ  วัตถุประสงค์  เนื้อหา  กระบวนการของรูปแบบ  การวัดผลและประเมินผล  สื่อและแหล่งเรียนรู้  กระบวนการพัฒนาประกอบด้วย 1) การฝึกฝนด้วยตนเอง 2) การสร้างประสบการณ์ 3) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่ม 4) การฝึกอบรม 5) การฝึกปฏิบัติจริง ดำเนินการเป็น  3  ระยะ  คือ  ระยะที่  1  การอบรมเชิงปฏิบัติการ 2 วัน ระยะที่  2  การฝึกปฏิบัติจริง  ดำเนินการสัปดาห์ละ  1  ครั้ง  โดยใช้เอกสารประกอบการพัฒนาภาวะผู้นำทางการวิจัยของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน  5   เล่มประกอบการฝึกปฏิบัติจริง  ปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระยะที่  3  การติดตามผล  โดยการประชุมสรุปและใช้แบบประเมินพฤติกรรมภาวะผู้นำทางการวิจัยของครู และการวัดและประเมินผล  3)  ผลของการทดลองใช้รูปแบบการภาวะผู้นำทางการวิจัยของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในเขตตรวจราชการที่ 11  ทั้ง  3  ระยะ  พบว่า  ระยะฝึกปฏิบัติจริงผลค่าเฉลี่ยของคะแนนประเมินภาวะผู้นำทางการวิจัยของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษสูงกว่าก่อนการทดลอง  และระยะติดตามผลสูงกว่าระยะฝึกปฏิบัติจริง

The purposes of this research were to: 1) investigate components of research leadership of teachers under the  Primary  Educational  Service Area  Office in the Inspection Region 11; 2) construct and develop a model of research leadership of teachers under the  Primary  Educational  Service Area  Office in the Inspection Region 11; 3) find out the effectiveness index of the developed model research leadership of teachers under the  Primary  Educational  Service Area  Office in the Inspection Region 11. This Research and Development (R&D) was divided into three phases: Phase I, Exploring a model through document inquiries, and in-depth interviews. Phase II, Drafting and constructing a model through a model drafting and further refinement by the experts. Phase III, was related to implementing the developed model. The samples consisted of 15 teachers in a school under the office of the Sakon Nakhon Primary  Educational  Service Area  Office 1. Data were analyzed using mean and standard deviation.

The findings were as follow : 1) The five components of research leadership of teachers found were: The research knowledge, The Academic Vision, The Teachers’ Transformational Leadership, The Leader Teachers of Management, and The Ethics of Researchers and Exemplary Researchers. The model of research leadership of teachers under the Primary Educational Service Area Office in the Inspection Region 11, as a whole, was at a moderate level with mean scores ranging from high: The Leader Teachers of Management, The Teachers’ Transformational Leadership, The Academic Vision, The Ethics of Researchers and Exemplary Researchers, and the Research Knowledge obtained the highest mean score while the lowest one was Effective leadership. 2) The development model of research leadership of teachers under the Primary Educational  Service Area Office in the Inspection Region No.11 was composed of principles, objectives, contents, and procedure which involved an intensive workshop, actual training, and monitoring. The procedure comprised three stages: Stage I A Two-day intensive workshop, Stage II Once-a-week training in actual practice setting by applying a five-volume set of handbook of research leadership of teachers under the  Primary  Educational  Service Area  Office, Stage III Monitoring through meetings. A behavior assessment of research leadership was also employed. 3) After the three-stage implementation of the research leadership of teachers under the  Primary  Educational  Service Area  Office in the Inspection Region 11, the mean scores from the once-a-week training in actual practice setting was higher than that before the intervention and that of the monitoring period was higher than that of the time of the training in actual practice setting.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

กรกฎ พลตรี, นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

สวัสดิ์ โพธิวัฒน์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

สำราญ กำจัดภัย, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาวิจัยและพัฒนาหลักสูตร  มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร