การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการบริหารงานวิชาการ สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาจังหวัดนครสวรรค์ deveLopMenT of Training prograM gearing To The adMinisTraTion of acadeMic affairs for execuTives of educaTionaL insTiTuTion nakhon sawan province

Main Article Content

กรรวี เพิ่มพูน
ธเนศ จิตสุทธิภากร
ทนงศักดิ์ เหมือนเตย

Abstract

การวิจัยฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงประยุกต์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในการพัฒนาตนเองของผู้บริหารสถานศึกษาจังหวัดนครสวรรค์ 2) เพื่อสร้างและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการบริหารงานวิชาการสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาจังหวัดนครสวรรค์ 3) เพื่อตรวจสอบหลักสูตรฝึกอบรมการบริหารงานวิชาการสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาจังหวัดนครสวรรค์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์  เขต 1, 2 และ 3 จำนวน 226 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม  และวิเคราะห์เอกสารโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (Priority Needs Index)  ผลการวิจัยพบว่าผู้บริหารสถานศึกษา มีปัญหาการบริหารงานวิชาการ 5 ด้าน คือด้านการพัฒนาสูตร  ด้านการเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมินผล ด้านการนิเทศการศึกษาและด้านวิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษา และความต้องการในการพัฒนาตนเองของผู้บริหารสถานศึกษามีความต้องการพัฒนาตนเองมากที่สุด คือ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษา รองลงมา คือ ด้านการวัดและประเมินผล ด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอนและน้อยที่สุด คือด้านการนิเทศการศึกษา จากสภาพปัจจุบันและความต้องการของผู้บริหารสถานศึกษา ผู้วิจัยได้สร้างและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการบริหารงานวิชาการสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาจังหวัดนครสวรรค์ โดยแบ่งออกเป็น 5 โมดูล คือ โมดูลที่ 1 การวิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษา โมดูลที่ 2 การวัดและประเมินผล โมดูลที่ 3 การพัฒนาหลักสูตร โมดูลที่ 4 การจัดการเรียนการสอน และโมดูลที่ 5 การนิเทศการศึกษา  ผลการนำเสนอหลักสูตรฝึกอบรมการบริหารงานวิชาการสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาจังหวัดนครสวรรค์โดยการจัดประชุมผู้ทรงคุณวุฒิ ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของหลักสูตรฝึกอบรม พบว่าหลักสูตรฝึกอบรมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก

This research aimed 1) to examine the current conditions and needs for self-development of school administrators in Nakhon Sawan province, 2) to construct and develop training courses for academic administration for school administrators in Nakhon Sawan province, and 3) to determine the training courses for the academic administration for school administrators in Nakhon Sawan province. The population of this research consisted of 266 school administrators of schools under Nakhon Swan Primary educational Service Area Office 1, 2, and 3. The instruments used to collect the data were interviewed by using questionnaires.  The data were analyzed by content analysis, frequency, percentage, mean, standard deviation, and priority needs index. The findings revealed that the school administrators had problems on academic administration in 5 aspects including curriculum development, learning and teaching, measurement and evaluation, educational supervision, and research for educational development.  For the needs for self-development of school administrators, the findings indicated that research for educational development was the highest level, followed by measurement and evaluation, curriculum development, learning and teaching. The lowest level was the educational supervision. For the current conditions and needs of school administrators, the researcher constructed and developed training courses for academic administration for school administrators in Nakhon Sawan province by using 5 modules such as module 1 research for educational development, module 2 measurement and evaluation, module 3 curriculum development, module 4 learning and teaching, and module 5 educational supervision. The result of the proposed training courses for academic administration for school administrators in Nakhon Sawan province, evaluated by experts, showed that the training courses had the suitability and feasibility at a high level.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

กรรวี เพิ่มพูน, นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยภาคกลาง

นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยภาคกลาง

ธเนศ จิตสุทธิภากร, อาจารย์ ประจำสาขาวิชาการบริหารอุดมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยภาคกลาง

อาจารย์ ประจำสาขาวิชาการบริหารอุดมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยภาคกลาง

ทนงศักดิ์ เหมือนเตย, อาจารย์ ประจำสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยภาคกลาง

อาจารย์ ประจำสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยภาคกลาง