แนวทางการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการเสริมสร้างพัฒนาการเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

Main Article Content

นันทิยา น้อยจันทร์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการเสริมสร้างพัฒนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และเพื่อพัฒนาแนวทางการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการเสริมสร้างพัฒนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Method Research) โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนอยู่ระดับชั้นอนุบาล 1 และ 2 ปีการศึกษา 2561 สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการเลือกจากผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โครงการความร่วมมือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามระดับการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่า   ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)


ผลการวิจัย พบว่า


          ระดับการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการเสริมสร้างพัฒนาการเด็กปฐมวัย ภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 3.51, S.D. =.768) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ระดับการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการเสริมสร้างพัฒนาการเด็กปฐมวัย ได้แก่ ด้านการเลี้ยงดู อยู่ในระดับมาก ( = 4.33, S.D. =.819) รองลงมา ได้แก่ ด้านการให้ความร่วมมือกับโรงเรียน อยู่ในระดับมาก ( = 4.00, S.D. =.822) และระดับการให้ความรู้ด้านการสื่อสาร อยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.98, S.D. =.845) ส่วนน้อยที่สุด ด้านการเรียนรู้ที่บ้าน อยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.70, S.D. =.654) 


          แนวทางการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการเสริมสร้างพัฒนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในการเสริมสร้างพัฒนาการเด็กปฐมวัย ความรู้ด้านการเลี้ยงดู ด้านการให้ความร่วมมือกับชุมชน ด้านการสื่อสาร และด้านการเรียนรู้ที่บ้าน ผลการวิจัยได้องค์ประกอบแนวทางให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง เป็น 4P Model ดังนี้  P1-การวางแผน สำรวจความต้องการจำเป็น กำหนดเนื้อหารสาระ และวิธีการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง P2-การมีส่วนร่วม (Participation) การจัดประชุมร่วมกันระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครอง การเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียนและชุมชน P3-ปฏิบัติการให้ความรู้ (Practice of Education) ดำเนินการจัดการให้ความรู้ทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ จัดทำเอกสารความรู้ แผ่นพับ ป้ายนิเทศ นิทรรศการ การจัดโครงการอบรมสัมมนาร่วมเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครองด้านการเลี้ยงดู การศึกษาดูงานร่วมกันระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครอง  P4-การติดตามการดำเนินงาน (Pay- Attention) ติดตามประเมินผลการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองทั้งรายกลุ่มและรายบุคคล


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2544). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองกับโรงเรียน. วารสารการศึกษาปฐมวัย. 5(4), 30-37.

กนกวรรณ โรจนพร (2553). การมีส่วนร่วมและแนวทางการพัฒนาของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาระดับ

ปฐมวัย โรงเรียนชุมชนวัดหนองค้อ อาเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

ขนิษฐา เปรมพงษ์. (2550). การศึกษาบทบาทการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของบุตร

โรงเรียนเครือคณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักงาน. (2543). เด็กปฐมวัยของสหรัฐอเมริกา; รายงานการพัฒนาและการ

เรียนรู้. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวาน กราฟฟิก จำกัด.

นภเนตร ธรรมบวร. (2540). การประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันทิยา น้อยจันทร์. (2561). การบริหารจัดการการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พัชรินทร์ จันทร์ส่องแสง. (2551). การศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในโครงการศูนย์เลี้ยงเด็ก เพื่อผู้ใช้

แรงงานในสถานประกอบกิจการและชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มณฑล ซ้ายขวา. (2552). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัด

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย. สารนิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

เยาวนุช ทานาม. (2545). การศึกษาความต้องการของผู้ปกครองเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

สําหรับเด็กปฐมวัยในโรงเรียนสอนภาษาจีน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รัตนา กิจเกื้อกูล. (2550). การศึกษาความต้องการของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยใน

โรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา นนทบุรีเขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สราวดี เพ็งศรีโคตร (2554). รูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัย. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญา

ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

Decker, C.A. & Decker, J.R. (1992). Planingand Administering Early Childhood Programs. 5th ed. NewYork:

Mcmillan.

Fisher, E.A. (1991). Early Childhood Care and Education. (EECE): A world survey, UNESCO.

Tyree, C.L. (1986). Development of Parenting Skills Taxonomy for Parent Education. Dissertation Abstracts

International.