การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ความต้องการและแนวทางการบริหารโรงเรียน บนพื้นที่สูงและทุรกันดาร
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ความต้องการและแนวทางการบริหารโรงเรียนบนพื้นที่สูงและทุรกันดาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำนวน 368 คน ได้มาโดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูปของเครจซีและมอร์แกน การเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ ตรวจสอบความเที่ยงตรงเนื้อหา (Content Validity) เพื่อหาค่า IOC ได้ค่าตั้งแต่ 0.80-1.00 และค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ .97 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพแวดล้อมการบริหารโรงเรียนบนพื้นที่สูงและทุรกันดาร พบว่า จุดแข็งคือจัดโครงสร้างการบริหารงานโรงเรียนที่ชัดเจน จุดอ่อนคือครูมีภาระงานมากทั้งงานสอนและงานสนับสนุน โอกาสคือหน่วยงานภายนอกส่งเสริมและสนับสนุนโดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่มาใช้ในการจัดการศึกษา อุปสรรคคือนักเรียนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความเชื่อและค่านิยมที่แตกต่างกัน ครอบครัวมีฐานะยากจน ผู้ปกครองประกอบเกษตรกรรมเพื่อยังชีพ
- ความต้องการการบริหารโรงเรียนบนพื้นที่สูงและทุรกันดาร มี 5 ด้านประกอบด้วยด้านวิชาการ ด้านบุคลากร ด้านแผนและงบประมาณ ด้านบริหารทั่วไปและด้านโครงการพระราชดำริ พบว่าภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านบุคลากร
- แนวทางการบริหารโรงเรียนในพื้นที่ภูเขาสูงและทุรกันดาร พบว่า 1) ปรับโครงสร้างหลักสูตรให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา 2) เปิดห้องเรียนสาขาตามหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกล 3) ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอน 4) สร้างภาคีเครือข่ายการมีส่วนร่วมพัฒนาการศึกษา 5) เพิ่มเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัว ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับนักเรียนพักนอน 6) ทำข้อตกลงร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาจัดนักศึกษาฝึกสอน 7) เพิ่มค่าครองชีพ ค่าตอบแทนให้กับบุคลากร 8) กำหนดเกณฑ์การเลื่อนวิทยฐานะของข้าราชการครูให้เป็นกาลเฉพาะ 9) พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาสในเขตพื้นที่สูงและถิ่น
ทุรกันดาร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. ศูนย์พัฒนา
คุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล. กรุงเทพฯ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 (ฉบับที่ 2) และที่แก้ไข
เพิ่มเติมพุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: บริษัทสยามสปอรต์ ซินดิเค จำกัด.
กัญญาพัชร พงษ์ดี (2559). กลยุมธ์การบริหารแบบมีส่วนร่วมของไตรภาคีในการยกระดับคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียน
พื้นที่สูงภาคเหนือตอนบน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 10(1), 162-179.
โครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2559). สำนักงาน . บทสรุปแผนพัฒนาเด็กและ
เยาวชนในถิ่นทุรกันดาร. ฉบับที่ 4 พ.ศ.2550 – 2559.
ประจวบ หนูเลี่ยง. (2559) . พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษา แบบมีส่วนร่วมของจังหวัดพัทลุง. วารสารปาริชาต
มหาวิทยาลัยทักษิณ, 28(2), 232-253.
มานิตย์ แก้วกันธะ. (2558). การบริหารสถานศึกษาบนพื้นที่สูงที่มีนักเรียนหลายชนเผ่าเรียนรวมกัน สังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดเชียงราย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 9(2),
-114.
เพ็ญนภา ดีชัยยะ .(2554). ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจในฐานบรรทัดฐานทางสังคมในบริบทโลกาภิวัฒน์
กรณีศึกษา นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มนต์นภัส มโนการณ์ . (2560). การสังเคราะห์การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานบนพื้นที่สูงและทุรกันดาร. วารสาร
วิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(1), 70-82.
สมพิศ กาติ๊บ. (2557). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนในเขตพื้นที่ภูเขาสูงภาคเหนือตอนบน. วิทยานิพนธ์ปริญญา
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
สมชาย อังสุโชติเมธี. (2562). รูปแบบการพัฒนาครูผู้สอนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่สูงสังกัด
สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัย
นอร์ทเทิร์น จังหวัดตาก.
สมยศ นาวีการ. (2551). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: อักษรไทย.
สยาม เรืองสุกใสย์. (2560). “วิธีปฏิบัติที่ดี” พื้นที่สูงโมเดลกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสำหรับนักเรียน
ด้อยโอกาสบนพื้นที่สูง โรงเรียนล่องแพวิทยา. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
แม่ฮ่องสอนเขต 2.
สันติ บูรณะชาติ. (2561). กลยุทธ์การบริหารจัดการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรม
จังหวัดพะเยา. สาขาวิชาการศึกษา วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). การพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ภูเขาสูงและทุรกันดาร.
กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
อโณทัย ไทยวรรณศรี และคณะ. (2559). รูปแบบการพัฒนาครูผู้สอนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่สูง
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
เอกชัย บุญยาธิษฐาน. (2553). คู่มือวิเคราะห์ SWOT อย่างมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ปัญญาชน.
Allen, N. J., & Meyer, J. P. (1990). The measurement and antecedents of affective, continuance, And normative
commitment to the organization. Journal Of Occupational Psychology, 63(10), 1-18.
Bank, James A. and Cherry A. McGee Banks. (2001). Multicultural Education: issues and Perspectives
(4th ed). New York: John Wiley & Sons.
Cronk, C.,Crocker, A.C.,& Pueschel, S.M. (1994). Human Resume Management. South Melbourne: Thomas
Nelson.