วัฒนธรรมคุณภาพที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจังหวัดหนองคาย

Main Article Content

วริศรา โยธา
วัลลภา อารีรัตน์
เกื้อจิตต์ ฉิมทิม

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาระดับวัฒนธรรมคุณภาพ 2) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะครู และ 3) เพื่อวิเคราะห์วัฒนธรรมคุณภาพที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดหนองคาย จำนวน 174 ศูนย์ ประชากรทั้งหมด 489 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารจำนวน 10 คน และครูดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจังหวัดหนองคาย จำนวน 209 คน รวมจำนวนทั้งหมด 219 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยใช้ขนาดศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นเกณฑ์ เครื่องมือเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .961 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบ Pearson Product Coefficient และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
          1. วัฒนธรรมคุณภาพโดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับ“มาก”เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยรายด้านพบว่า ด้านภาวะผู้นำคุณภาพ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (X ̅ = 4.36) รองลงมาคือด้านการพัฒนาบุคลากร มีค่าเฉลี่ย (X ̅=4.32) และด้านการทำงานเป็นทีม มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (X ̅= 4.29)
          2. สมรรถนะครูโดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับ “มาก” เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยรายด้านพบว่า ด้านการพัฒนาผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (X ̅= 4.37) รองลงมาคือ ด้านการมีจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ มีค่าเฉลี่ย (X ̅= 4.36) ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน มีค่าเฉลี่ย (X ̅ = 4.34) และ ด้านการบริหารจัดการหลักสูตร มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (X ̅= 4.30)


         3. วัฒนธรรมคุณภาพด้านการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ ด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพด้านการพัฒนาผู้เรียน และด้านการบริหารจัดการเรียนรู้ สามารถพยากรณ์ได้ทุกตัวมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.866 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสามารถพยากรณ์สมรรถนะครูได้ ร้อยละ 75.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามารถสร้างสมการถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ ดังนี้
          สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน
          Z’ = 0.363(Zx2) +0.375(Zx3) +0.214(Zx1)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญญารัตน์ ธนะสีลังกูร. (2556). การศึกษาการทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอเขาฉกรรจ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

กลุ่มพัฒนาการศึกษาปฐมวัย. (2562). มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ 2562. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561).

กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค จํากัด.

จิตติกา ชัยภักดี และ ทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ. (2560). แนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 8(1). 155-180.

เชาวนี พันธุ์ลาภะ. (2560). วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อสมรรถนะหลักของบุคลากร สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 4(2), 205-226.

ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2561). รูปแบบการพัฒนาวัฒนธรรมคุณภาพของโรงเรียนขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(3), 114-126.

พงษ์ศักดิ์ ด้วงทา. (2558). สมรรถนะวิชาชีพครูโรงเรียนเอกชน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 1. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(3), 905-918.

มารยาท แซ่อึ้ง. (2552). การศึกษาการบริหารงานวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัด

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลำเทียน เผาอาจ. (2559). การทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูในโรงเรียนขยายโอกาส อำเภอเมืองตราด สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิลัยพรณ์ เสรีวัฒน์. (2555). การประเมินเชิงระบบโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล. วิทยานิพนธ์ปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุธีรัตน์ อริเดช. (2556). ยุทธศาสตร์การพัฒนาวัฒนธรรมคุณภาพ ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 – 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวาน

กราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการพัฒนาระบบการประกัน คุณภาพภายในของ

สถานศึกษาตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการ ประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

Blair, Timothly R., Turner, Edward C. and Schaudt, Barbara A. (1992). A practicum approach to elementary

reading. The United States of America: Holt, Rinehart and Winston Inc.

Dubois and Rothwell. (2004). Competency Based Human Resource Management. San Diego, California:

Davies-Black.

Dianne W. & Brendan B. (2001). Critical Quality Culture Factors and Their Relationship With Quality

Performance Outcomes. First World Conference on Production and Operations Management POM Sevilla 2000.

McClelland, D.C. (1975). A Competency model for Human resource management specialists to be used in the delivery of the human resource management cycle. Boston: Mcber.

Sadia Kausar. (2014). Impact of Quality Culture on Employees’ Motivation: A Study on Education Sector of Pakistan.

Middle-East Journal of Scientific Research, 22(7), 1082-1089.