รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1

Main Article Content

อนุวัฒน์ สุวรรณมาตย์

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1. ศึกษาข้อมูลพื้นฐานสภาพการบริหารจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 2. สร้างและหาคุณภาพรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน 3. ทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน และ 4. ประเมินคุณภาพผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน ประชากรที่ใช้วิจัย ได้แก่ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ผู้บริหารโรงเรียน ครูวิชาการ ครูกลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยีจำนวน 339 คน 2) ผู้บริหารโรงเรียน ครูวิชาการ ครูกลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยีและศึกษานิเทศก์ จำนวน 25 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 3) ครู นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3,6 จำนวน 348 คน 4) ผู้บริหาร ครู นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 3,6 และผู้ปกครอง จำนวน 508 คน ได้มาด้วยวิธีการเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1. แบบสอบถามสภาพการบริหารจัดการเรียนรู้ 2. แบบสัมภาษณ์ 3. แบบประเมินทักษะ 4. แบบสอบถามความเหมาะสมและเป็นไปได้ 5. แบบสอบถามความเหมาะสมคู่มือ 6. แบบประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) 7. แบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) 8. แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)


 


 


 


 


   ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานสภาพการบริหารจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์
    เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน พบว่า สภาพการบริหารจัดการเรียนรู้ระดับที่ไม่ปฏิบัติ คิดเป็นร้อยละ 64 และระดับที่มีการปฏิบัติ คิดเป็นร้อยละ 36

  2. รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน
    ที่สร้างขึ้น พบว่า รูปแบบมี 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) สมาร์ททีวี 2) อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 3) เครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์
    4) ครูผู้สอน 5) แผนจัดการเรียนรู้ 6) การจัดการเรียนรู้ 7) การนิเทศ กำกับ ติดตาม และ 8) การวัดและประเมินผลรูปแบบ
    มีความเหมาะสม และเป็นไปได้ระดับมากที่สุด และคู่มือการใช้รูปแบบ มีความเหมาะสมระดับมาก

  3. การทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน พบว่า ครูมีทักษะการปฏิบัติระดับมากที่สุด ผลการประเมินระดับชาติขั้นพื้นฐาน (NT) มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 53.19 และผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 42.21

  4. การประเมินคุณภาพผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน พบว่า คุณภาพผลการประเมินระดับชาติขั้นพื้นฐาน (NT) นักเรียนมีคุณภาพระดับดีขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 52.77 คุณภาพผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) สูงขึ้นคิดเป็นร้อยละ 8.2 และผล
    การประเมินความพึงพอใจของครู นักเรียน และผู้ปกครองมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤติยา จงรักษ์. (2559). ศึกษาการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ รายวิชาชีววิทยาเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เกียรติศักดิ์ เสสสุวรรณ. (2556). การพัฒนาโมเดลสภาพแวดล้อมการเรียนแบบสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งเสริมจิตสาธารณะในการเรียนแบบภาระงานเป็นฐาน สำหรับผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

คเชนทร์ กองพิลา. (2559). แบบจำลองการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นฐาน เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชนันท์ทิดา ประพิณ. (2560). การวิจัยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณ. ลำพูน : โรงเรียนชุมชน

บ้านตื่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2.

ณรงค์ศักดิ์ พรมวัง. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ผ่านห้องเรียนเสมือนจริง โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ตามแนวทางทฤษฎีอภิปัญญาและทฤษฎีสรรคนิยม สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสด ศรีสฤษดิ์วงศ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). แนวทางพัฒนาอัตลักษณ์ผู้เรียนการศึกษาภาคบังคับ โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2557). แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2557-2559. ค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2560, จาก http://www.ops.moe.go.th/

ops2017/ผู้บริหารระดับสูง-สป/เกี่ยวกับ-cio/การบริหารงานด้าน-ict/แผนแม่บท

สิรัชญา พิมพะลา. (2561). ศึกษาการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ STEM โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุพิชชา ตันติธีระศักดิ์. (2558). ศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนแบบผสมผสานผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ตามแนวคิดเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาการเขียนโปรแกรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เอก กนกพิชญ์กุล. (2561). ธรัช อารีราษฎร์ และจรัญ แสนราช. (2560). การพัฒนาคู่มือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(1), 29-39.