สภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนเทศบาลสู่ความเป็นเลิศ

Main Article Content

กฤชณรงค์ ด้วงลา
ชญาพิมพ์ อุสาโห

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพที่พึงประสงค์ของรูปแบบการบริหารโรงเรียนเทศบาลสู่ความเป็นเลิศ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มประชากรโดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ ทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และความคลาดเคลื่อน ±5% ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 259 โรงเรียน และดำเนินการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi Stage random sampling) และสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling ) จำแนกตามกลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่น ทั้งหมด 18 กลุ่ม ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการ/รองผู้อำนวยการ และครู จำนวนทั้งสิ้น 689 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า สภาพที่พึงประสงค์องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารโรงเรียนเทศบาลสู่ความเป็นเลิศ จำแนกตามองค์ประกอบของรูปแบบการบริหาร 8 องค์ประกอบ ในภาพรวม พบว่า องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารมีสภาพที่พึงประสงค์ที่สูงสุด คือ แบบของภาวะผู้นำที่เกี่ยวข้อง รองลงมา คือ ความสัมพันธ์ระหว่างเป้าประสงค์ต่อการตัดสินใจ ลักษณะของโครงสร้าง ลักษณะของผู้นำ ระดับของการกำหนดเป้าประสงค์ ลักษณะของกระบวนการตัดสินใจ กระบวนการกำหนดเป้าประสงค์ และความเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อม ตามลำดับ เมื่อพิจารณาจำแนกตามเกณฑ์          การดำเนินการที่เป็นเลิศด้านการศึกษา 7 หมวด ในภาพรวม พบว่า หมวดที่มีสภาพที่พึงประสงค์ที่สูงสุด คือ การนำองค์กร รองลงมา คือ กลยุทธ์ การมุ่งเน้นการปฏิบัติงาน การมุ่งเน้นผู้เรียนผู้มีส่วนได้เสีย ผลลัพธ์ การมุ่งเน้นบุคลากร และการวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โกศล ตามะทะ. (2559). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้าง

พฤติกรรมการเป็นสมาชิดที่ดีต่อองค์การของครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษาน่าน เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณทิต. สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

แห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่

แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). หลักการวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

มนัส บุญชม. (2555). การพัฒนาระบบบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามควบคู่

วิสามัญ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณทิต. สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

มุกดา เลขะวิวัฒน์. (2555). การพัฒนาระบบองค์การเพื่อความเป็นเลิศของโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณทิต. สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราตรี ศรีไพรวรรณ. (2555). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมาตรฐานสากล

ระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณทิต. สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์. มหาวิทยาลัย.

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2555). เกณฑ์การบริหารจัดการเพื่อความเป็นเลิศฉบับกันเอง. จิรวัฒน์เอ็กเพรส.

สำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาขน). (2559). วิกฤตการศึกษาไทย. (ออนไลน์)

http://www.niets.or.th. ค้นเมื่อ [1 พฤษภาคม 2560].

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2558). ผลการประเมิน PISA 2015 วิทยาศาสตร์ การอ่าน

และคณิตศาสตร์. กรุงเทพ: ทีดีอาร์ไอ.

ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น,กรม. (2558). แผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นระยะ 3 ปี 2558-2560.

เอกสารอัดสำเนา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 11

(พ.ศ. 2555 – 2559). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

Baldridge National Quality Program. (2015). Education criteria for performance excellence. (online).

Available from: www.baldridge.nistgov. ค้นเมื่อ [12 สิงหาคม 2558].

Bass & Steidlmeier. (2006). Transformational leadership studies. School of Management Binghamton

University. Binghamton.

Bush, Tony. (2011). Theories of Educational Leadership and Management. 4 edition London: SAGE.

Certo, Samueti C. (1990). Modern Management. 8 ed. New Jersey: Prentice Hall Inc.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed). New York: Harper & Row.

Dessler, Gary. (1998). Management.NewJersey : Prentice-Hall,Inc.

Hall,G.E..and Hord. S.M. (2001). lmplemntatiob Change: Patterms Principles and Pot.

Hord, S.M. (1997). Professional learning communities: Communities of inquiry and improvement.

Austin: Southwest Educational Development Laboratory.

Hord, S. M., & Sommers, W. A. (2008). Leading professional learning communities: Voices from research

and practice. Thousand Oaks, CA: Corw.

Stoll, L., Bolam, R., McMahon, A., Wallace, M., & Thomas, S. (2004). Professional learning community: An

overview of the literature. Journal of Education Change (Online). Available from: http://www.sagepub.com.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed). New York: Harper and Row Publications.