LEADERSHIP MODEL OF SCHOOL ADMINISTRATORS AFFECTS TEACHER COMPETENCE OF STEM EDUCATION: COMPETITIONAL MODEL OF INNOVATIVE LEADERSHIP AND INSTRUCTIONAL LEADERSHIP.
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ใช้วิทยาการวิจัยแบบผสมผสาน (mixed method research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโมเดลภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมและโมเดลภาวะผู้นำเชิงวิชาการที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา เพื่อตรวจสอบความตรงและเปรียบเทียบความตรงของโมเดลภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมและโมเดลภาวะผู้นำเชิงวิชาการที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูจัดในการการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษามากที่สุด และเพื่อศึกษาแนวทางการภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา
ผลการวิจัย พบว่า โมเดลสมการโครงสร้างของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมและภาวะผู้นำเชิงวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( c2 = 9.810 และ15.548, df = 5 และ9, p-value = .0808 และ.0769, c2 /df = 1.962 และ1.727, CFI = 0.999 และ 0.999, TLI = 0.991 และ0.993, RMSEA = 0.036 และ0.031, SRSM = 0.008 และ0.006) ตัวแปรที่ส่งอิทธิพลทางตรงต่อสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาพิจารณาจากโมเดลภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม ประกอบด้วย เครือข่ายและการมีส่วนร่วม บรรยากาศองค์กร และภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม สมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม และตัวแปรที่อิทธิพลทางตรงต่อสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาพิจารณาจากโมเดลภาวะผู้นำเชิงวิชาการ ประกอบด้วย บรรยากาศองค์กร ภาวะผู้นำเชิงวิชาการ และ เครือข่ายและการมีส่วนร่วม สมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากเครือข่ายและการมีส่วนร่วมมากที่สุด โมเดลภาวะผู้นำเชิงวิชาการ มีอิทธิพลรวม (β=0.954)สูงกว่า โมเดลภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม(β=0.720) และเมื่อเปรียบเทียบความตรงของทฤษฏีหรือทดสอบความสอดคล้องระหว่างโมเดลที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า โมเดลภาวะผู้นำเชิงวิชาการมีความตรงซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์สูงกว่าโมเดลภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม
โครงสร้างแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) แผนงาน/โครงการ 4) ปัจจัยส่งผลต่อสมรรถนะครูที่จัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา 5) วิธีดำเนินการในแต่ละประเด็น 4 ด้าน คือ ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม ภาวะผู้นำเชิงวิชาการ บรรยากาศองค์กร และเครือข่ายและการมีส่วนร่วม ในแต่ละด้านจะมีวิธีการพัฒนาประกอบด้วย (1) การพัฒนาความรู้/ทฤษฎี (2) การสร้างแรงจูงใจ/ทัศนคติ และ (3) การลงมือปฏิบัติ