การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการซัพพลายเชนในวิทยาลัยอาชีวศึกษา

Main Article Content

สิริรัชนา เนาว์โสภา
กนกอร สมปราชญ์
ชวนา เหลืองอังกูร

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการบริหารจัดการ  ซัพพลายเชนในการจัดการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษา 2)  ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการซัพพลายเซนในวิทยาลัยอาชีวศึกษา 3) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการซัพพลายเซนในวิทยาลัยอาชีวศึกษาและการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการซัพพลายเชนในวิทยาลัยอาชีวศึกษา 4) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการซัพพลายเซนในวิทยาลัยอาชีวศึกษา การวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์องค์ประกอบของการบริหารจัดการซัพพลายเชน ระยะที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการซัพพลายเซนในวิทยาลัยอาชีวศึกษา ระยะที่ 3 การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการซัพพลายเชนในวิทยาลัยอาชีวศึกษา และการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการซัพพลายเชนในวิทยาลัยอาชีวศึกษาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ระยะที่ 4 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการซัพพลายเชนในวิทยาลัยอาชีวศึกษา ผลการวิจัยพบว่า


  1. องค์ประกอบของการบริหารจัดการซัพพลายเซนในวิทยาลัยอาชีวศึกษา เป็นองค์ประกอบเชิงระบบ ประกอบด้วย 5 ส่วน  คือ 1) ผู้ส่งมอบ  2) ปัจจัยนำเข้า  3) กระบวนการ 4) ผลผลิต 5) ลูกค้า

  2. ผลการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารจัดการซัพพลายเชนในวิทยาลัยอาชีวศึกษา ในภาพรวมมีความต้องการจำเป็นตามลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้  การวิจัยและนวัตกรรม การจัดการความเสี่ยง เทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดระเบียบงาน การจัดการความสัมพันธ์  การวางแผนกลยุทธ์  คุณภาพและมาตรฐาน  การจัดการสมรรถนะบุคคล  และการจัดการเรียนการสอน  

  3. รูปแบบการบริหารจัดการซัพพลายเซนในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเป็นรูปแบบเชิงระบบประกอบด้วย 5 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ 1) ผู้ส่งมอบ 2) ปัจจัยนำเข้า  ส่วนที่  2 กระบวนการ ประกอบด้วย 1) การวิจัยและนวัตกรรม 2) การจัดการความเสี่ยง  3) เทคโนโลยีสารสนเทศ 4) การจัดระเบียบงาน 5) การจัดการความสัมพันธ์ 6) การวางแผนกลยุทธ์ 7) คุณภาพและมาตรฐาน  8) การจัดการสมรรถนะบุคคล 9) การจัดการเรียนการสอน ส่วนที่  3 ผลผลิต ประกอบด้วย  1)  ผลผลิต  2) ลูกค้า 4  ข้อมูลย้อนกลับ ประกอบด้วย 1) การตรวจสอบย้อนกลับเป้าหมาย 2) การออกแบบปัจจัย/กระบวนการ/ผลผลิต 3) วิจัยความต้องการ/ความพึงพอใจ

            ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารจัดการซัพพลายเซนในวิทยาลัยอาชีวศึกษา ในภาพรวมมีความเหมาะสมและ  ความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด


  1.  ผลการนำรูปแบบการบริหารจัดการซัพพลายเชนใปใช้ในวิทยาลัยอาชีวศึกษา พบว่าบุคลากรของวิทยาลัยอาชีวศึกษา จำนวน  60 คน มีความพึงพอใจต่อคุณลักษณะผู้เรียน คุณลักษณะบุคลากร และศักยภาพของวิทยาลัยในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  และผู้ประกอบการ/นายจ้าง จำนวน  60  คน มีความพึงพอใจต่อคุณลักษณะผู้เรียน และศักยภาพของวิทยาลัยในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย